เจ้าสัวธนินท์ ลุ้นระทึก วันนี้รู้ 7-11 เป็นแบงก์ได้หรือไม่..??

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

แบงก์ชาติ ร้อนใจรีบแจงข่าว จะให้ เซเว่น อีเลฟเว่น เป็นแบงก์ได้หรือไม่..???

เจ้าสัวธนินท์ ลุ้นระทึก วันนี้รู้ 7-11 เป็นแบงก์ได้หรือไม่..??

ฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องตัวแทนการให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ (banking agent) นั้น ธปท. ขอชี้แจงว่าไม่ได้เป็นการอนุญาตให้เอกชนมาขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ใหม่ ปัจจุบัน ธปท. ยังไม่มีนโยบายให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์(ธพ.)แห่งใหม่
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของ ธพ. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับบริการการเงินได้สะดวก และทั่วถึงมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ banking agent จะมีขอบเขตการให้บริการจำกัด ในกรณีนี้ ธพ. จะเป็นผู้เลือกตัวแทนการให้บริการทางการเงิน (banking agent) โดยเปิดกว้างให้ได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ ธปท. กำหนด และ ธพ. จะต้องจัดให้มีระบบควบคุมและบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกรรมที่ทำผ่าน banking agent
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สายนโยบายสถาบันการเงินจะชี้แจงสื่อในวันจันทร์ที่ 19 ก.พ. 61 เวลา 14.00 น. ณ ห้องแถลงข่าว อาคาร 2 ชั้น 1 ธปท. ต่อไป

เจ้าสัวธนินท์ ลุ้นระทึก วันนี้รู้ 7-11 เป็นแบงก์ได้หรือไม่..??

สืบเนื่องจากวานนี้ (19/2/18) สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า  คลังเห็นด้วยและสนับสนุนแนวคิดของธนาคารแห่งประะเทศไทย (ธปท.) เรื่องการจัดตั้งแบงก์กิ้ง เอเย่นส์ ซึ่งเชื่อว่า ธปท. เมื่อมีการออกนโยบายใด ๆ จะมีการกำหนดคุณสมบัติที่มีความรัดกุม มีข้อจำกัด มีเงื่อนไขที่รัดกุมพอสมควร ไม่ใช่เป็นการเปิดให้เอกชนรายใดที่แสดงความสนใจและเข้ามาขอทำธุรกิจได้โดยง่าย ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงระบบการเงินที่ขยายวงกว้างอย่างก้าวกระโดด และง่ายขึ้น
“กระทรวงการคลัง มั่นใจจว่า ธปท. จะกำกับดูแลเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ใช่เปิดให้เอกชนที่ไม่มีความเหมาะสมเข้ามาทำธุรกิจ และมองว่าถ้ายังไม่มีความพร้อมในเรื่องนี้ ธปท. ก็คงยังไม่ทำ” 
กรณีที่มีกระแสข่าวว่าร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น จะเข้ามาขอทำธุรกิจแบงก์กิ้ง เอเย่นส์นั้น ก็ถือว่ามีความเหมาะสม เพราะที่ผ่านมาเซเว่น อีเลฟเว่น มีการเปิดให้บริการรับชำระค่าสาธารณูปโภคอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็จะมีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารที่ดี และยังมีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ จะเป็นการช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนให้มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

นอกจากนี้ การเปิดให้ทำธุรกิจแบงก์กิ้ง เอเย่นส์ ก็จะเป็นการเพิ่มการแข่งขันนธุรกิจสถาบันการเงิน ช่วยลดปัญหากรณีที่มีการกล่าวว่าธนาคารมีการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูง หากแบงก์กิ้ง เอเย่นส์ให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ธนาคารต่าง ๆ ก็อาจจะลดดอกเบี้ยลงเพื่อมาแข่งขัน ทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ไม่ต้องไปเลือกใช้บริการที่มีดอกเบี้ยสูง ซึ่งเรื่องนี้ธนาคารต่าง ๆ ต้องพร้อมที่จะสู้เพราะธุรกิจเปลี่ยนไปแล้ว ตรงนี้รวมถึงธนาคารของรัฐที่ต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน
 

เจ้าสัวธนินท์ ลุ้นระทึก วันนี้รู้ 7-11 เป็นแบงก์ได้หรือไม่..??

สืบเนื่องจาก ก่อนหน้านี้ ดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า  ในเร็วๆนี้จะมีการประกาศหลักเกณฑ์การเป็นตัวแทนธนาคาร หรือ แบงก์กิ้งเอเย่นต์ 

หลังจากนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. ลงนามแล้ว โดยแบงก์กิ้งเอเย่นต์จะเป็นการขยายธุรกรรมทางการเงิน ทั้งรับเงิน ฝากเงิน ถอนเงิน ให้ประชาชนได้เข้าถึงการให้บริการจากตัวแทนธนาคาร เช่น ร้านค้าโชห่วย และร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเว่น เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถลดต้นทุนจากการเปิดสาขา และลดต้นทุนจากการขนย้ายเงิน และยังให้ประชาชนเข้าถึงบริการโดยเฉพาะในต่างจังหวัด

“ธนาคารที่จะอนุญาตให้ร้านค้าที่ต้องการเป็นตัวแทน จะต้องมีระบบควบคุมที่ดี เพราะการดำเนินลักษณะนี้มีความเสี่ยง และการเลือกตัวแทนของธนาคารก็ขึ้นอยู่กับแผนธุรกิจของแต่ละธนาคาร ซึ่งจะเกิดขึ้นในเมืองก็ได้ แต่ในต่างจังหวัดจะได้ประโยชน์ได้มาก เพราะประชาชนจะได้เข้าถึงการให้บริการทางการเงินจากธนาคาร จะได้เดินทางสะดวก และยังทำให้ต้นทุนการขนย้ายของธนาคารต่ำลงอีกมาก โดยรายละเอียดอย่างเป็นทางการจะมีการเปิดเผยอีกครั้ง” 

เจ้าสัวธนินท์ ลุ้นระทึก วันนี้รู้ 7-11 เป็นแบงก์ได้หรือไม่..??

จากข้อมูลของบริษัท ซีพีอออล์ จำกัด(มหาชน)  CPALL  ที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่ม ซีพี ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าของอาณษจักรธุรกิจมากมายในประเทศไทย CPALL เจ้าของแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ของเซเว่นอีเลฟเว่นในประเทศไทยพบว่า จำนวนคนที่เดินเข้าร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในแต่ละวันมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
ปี 2013 มี 7,429 สาขา ลูกค้าเฉลี่ย 1,294 คน รวม 9,613,126 คนต่อวัน
ปี 2014 มี 8,127 สาขา ลูกค้าเฉลี่ย 1,252 คน รวม 10,175,004 คนต่อวัน
ปี 2015 มี 8,832 สาขา ลูกค้าเฉลี่ย 1,230 คน รวม 10,863,360 คนต่อวัน
ปี 2016 มี 9,542 สาขา ลูกค้าเฉลี่ย 1,216 คน รวม 11,603,072 คนต่อวัน
ไตรมาสหนึ่งปี 2017 มี 9,788 สาขา ลูกค้าเฉลี่ย 1,175 คน รวม 11,500,900 คนต่อวัน