เซเว่น ... ใหญ่คับฟ้า ตู้บุญเติม  ขวัญใจคนจน น้ำตาตกใน

เซเว่น อีเลฟเว่น เป็น แบงก์ เอเยนต์ รวยแล้วก็รวยอีก แต่ธุรกิจ ตู้เติมเงินบุญเติม ที่เป็นเพื่อนคนจน จะแย่ลงหรือไม่

ยักษ์ใหญ่ ฆ่ายักษ์เล็ก  เมื่อเซเว่น อีเลฟเว่น เป็น แบงก์ เอเยนต์ รวยแล้วก็รวยอีก แต่ธุรกิจ ตู้เติมเงินบุญเติม  ที่เป็นเพื่อนคนจน จะแย่ลงหรือไม่...????  

ธนาคารแห่งประเทศไทย

จากกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. อนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์ ทำแบงก์กิ้ง เอเยนต์ หรือ มีตัวแทนแบงก์ได้โดยให้ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้เลือกเองว่า จะเลือกกิจการใดเป็นตัวแทน แต่ต้องเป็นธุรกิจที่มีหลักแหล่งที่ตั้งแน่นอน อยู่ในแหล่งชุมชน มีความมั่นคง โดยให้ธนาคารพาณิชย์ตัดสินใจเลือกได้เอง ไม่ต้องมาขออนุมัติแบงก์ชาติเช่นในอดีต   เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ลดต้นทุนเรื่องการเปิดสาขา และปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับพฤติกรรมลูกค้า  แต่ แบงก์กิ้ง เอเยนต์  จะให้บริการกับลูกค้าได้ไม่เกินครั้งละ 5 พันบาท และไม่เกิน 2  หมื่นบาทต่อคนต่อวัน  ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในเดือนมีนาคมนี้แล้ว

เซเว่นแบงค์

สำหรับนโยบายนี้ของแบงก์ชาติ สร้างผลดีให้กับ เซเว่น อีเลฟเว่น หรือ บริษัท ซีพีออล์ จำกัด(มหาชน) ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหักทรัพย์ ทำให้หุ้นของ  CPALL วานนี้ (18/2/61) ปิดที่ระดับ 83.75 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 บาท ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อดัชนี 2.2368 จุด  เพราะคาดว่า เซเว่น อีเลฟเว่น น่าจะเนื้อหอม ธนาคารพาณิชย์คงต่างรุมจีบ เพื่อขอให้ เซเว่น เป็นตัวแทนธนาคาร หรือ แบงก์กิ้ง เอเยนต์ นอกจากนั้น เซเว่น มีความชำนาญในเรื่องนี้ เพราะในต่างประเทศ เช่น เซเว่น  ที่ญี่ปุ่น ก็ทำธุรกรรมนี้ เซเว่น จึงได้เปรียบกว่าธุรกิจการเงินอื่น ที่มีสาขา  และสามารถเป็นตัวแทนธนาคารได้ ซึ่งขึ้นกับว่าแต่ละแบงก์จะเลือกใคร
 

ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น

จากข้อมูลของบริษัท ซีพีอออล์ จำกัด(มหาชน)  CPALL  ที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่ม ซีพี ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าของอาณษจักรธุรกิจมากมายในประเทศไทย CPALL เจ้าของแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ของเซเว่นอีเลฟเว่นในประเทศไทยพบว่า จำนวนคนที่เดินเข้าร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในแต่ละวันมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
ปี 2013 มี 7,429 สาขา ลูกค้าเฉลี่ย 1,294 คน รวม 9,613,126 คนต่อวัน
ปี 2014 มี 8,127 สาขา ลูกค้าเฉลี่ย 1,252 คน รวม 10,175,004 คนต่อวัน
ปี 2015 มี 8,832 สาขา ลูกค้าเฉลี่ย 1,230 คน รวม 10,863,360 คนต่อวัน
ปี 2016 มี 9,542 สาขา ลูกค้าเฉลี่ย 1,216 คน รวม 11,603,072 คนต่อวัน
ไตรมาสหนึ่งปี 2017 มี 9,788 สาขา ลูกค้าเฉลี่ย 1,175 คน รวม 11,500,900 คนต่อวัน
อย่างไรก็ตาม โอกาสทองของ เซเว่น อีเลฟเว่น ก็กลายเป็นคราวซวยของ ธุรกิจเติมเงิน ตู้บุญเติม ของ บมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส (FSMART) ผู้นำช่องทางการชำระเงินที่มีเครือข่ายมากที่สุดในประเทศไทยผ่าน "ตู้เติมเงินออนไลน์บุญเติม"  คาดว่า จะได้รับผลกระทบ ลูกค้ามาใช้บริการน้อยลง จะไปใช้ แบงก์กิ้ง เอเยนต์ แทน ทำให้ วานนี้  (18/2/61)  ราคาหุ้น  FSMART ร่วงลงมาแตะ 12.30 บาท ทำจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี  ทั้ง ๆ ที่หลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปลายปี 57 หุ้น FSMART พุ่งขึ้น 4 เท่าตัว จากราว 5 บาท ไปทำจุดสูงสุดไว้ที่ 21.5 บาท เมื่อต้นปี 60 หลังจากนั้นราคาหุ้นแกว่งตัวออกข้าง คิดเป็นการร่วงลงมาต่อเนื่องถึง 41% ภายในระยะเวลาแค่เกือบ 4 เดือน
   

ผู้บริหารบุญเติม

ด้าน สมชัย สูงสว่าง กรรมการผู้จัดการ บมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส (FSMART)  เปิดเผยแนวทางการดำเนินงานในปี 2561 ว่า หาก CPALL จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแบงก์กิ้ง เอเยนต์ ก็เชื่อว่าจะไม่เป็นผลกระทบต่อบริษัทอย่างแน่นอน เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของบริษัทคือผู้ใช้บริการโอนเงินส่วนใหญ่ไม่เกินครั้งละ 2,000 บาท และบริษัทมีจุดตั้งตู้อยู่สูงถึง 144,653 ตู้ โดยเป็นตู้ที่ตั้งอยู่หน้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่นราว 8 พันตู้ ส่วนที่เหลือจะเป็นที่ใกล้กับชุมชนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเข้าถึงได้ง่าย และค่าบริการไม่สูงนัก

ทั้งนี้ ทางบริษัทเตรียมที่จะเปิดให้บริการโอนเงินผ่านตู้ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกรุงเทพ (BBL) และธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ภายในช่วงครึ่งปีแรกนี้ จากเดิมที่มีให้บริการอยู่แล้ว 2 ธนาคารคือ ธนาคารกรุงไทย (KTB) และธนาคารกสิกรไทย (KBANK)

"เราไม่ได้กังวลกับเรื่องดังกล่าว เพราะเราเปิดให้บริการมากก่อน เรามีการเจรจากับธนาคารต่าง ๆ เกือบครบแล้ว และเรายังมีค่าบริการที่ไม่สูงนัก ประกอบกับบริษัทเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในกลุ่มคนที่แตกต่างกัน จึงเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบแน่นอน" สมชัย กล่าว

นอกจากนั้น ในปีนี้บริษัทวางกลยุทธ์ที่หลากหลายและเน้นคุณภาพครบทุกด้านเพื่อการเติบโตทุกช่องทาง ด้วยหลักการบริหารจัดการยอดเติมเงินเฉลี่ยต่อตู้ต่อเดือน (ARPU) ให้เติบโตไม่ต่ำกว่า 5% จากปี 2560 พร้อมมอบนโยบายกับตัวแทนบริการสำรวจและคัดสรรพื้นที่ติดตั้งตู้บุญเติมในจุดที่มีคุณภาพ และปรับเปลี่ยนทำเลใหม่ให้กับตู้เติมเงินที่มียอดเติมเงินไม่เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพยอดการเติมเงินเฉลี่ยต่อตู้ต่อเดือน ให้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบในระยะยาว ทั้งนี้ บริษัทมีแผนเพิ่มจำนวนตู้บุญเติมในปีนี้ 20,000 ตู้ ซึ่งจะส่งผลให้สิ้นปีจะมีตู้บุญเติมครอบคลุมทุกพื้นที่ 144,653 ตู้

ตู้บุญเติม

ขณะเดียวกัน บริษัทจะเพิ่มความถี่ในการใช้งานที่เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มยอดเติมเงินเฉลี่ยต่อตู้ต่อเดือน เช่นกัน ด้วยการเพิ่มบริการให้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มธนาคารสำหรับโอนเงินด้วยการร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์รายใหม่อีก 3 ราย ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา หลังจากปี 2560 การโอนเงินเติบโตมากถึง 864% เมื่อเทียบกับปี 2559 จากการเป็นตัวแทนโอนเงินแก่ ธนาคารกรุงไทย และกสิกรไทย ซึ่งหากสามารถเพิ่มบริการครบ 5 ธนาคาร ตู้บุญเติมจะเป็นตัวแทนธนาคารคิดเป็น 90% ของตลาดธนาคารทั้งหมด และช่วยเพิ่มรายได้และฐานลูกค้าให้รู้จักกับตู้บุญเติม

รวมถึงรักษาฐานลูกค้าเดิมให้ได้รับความสะดวกในการใช้บริการหน้าตู้ และเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าได้ใช้บริการอื่น ๆ เช่น การจ่ายค่าตั๋วโดยสาร การชำระบิลสาธารณูปโภค และบริการใหม่ที่จะเพิ่มเข้ามา อาทิเช่น การขายประกันภัย/ประกันอุบัติเหตุ และบริการอีกมากมายที่จะเพิ่มเข้ามาในอนาคต รวมถึงจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายรายการสะสมแต้มเพื่อชิงโชคและแลกของรางวัลเพื่อกระตุ้นการใช้งานตลอดทั้งปี และจากแผนงานดังกล่าวทำให้มั่นใจว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าการใช้บริการผ่านตู้บุญเติมให้เติบโตไม่ต่ำกว่า 20% จากปี 2560

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ซีพีโผล่อีก! ร่วมซื้อซองประมูลสนามบินอู่ตะเภา เนรมิต6,500ไร่เป็นอุตสาหกรรมการบิน-โลจิสติกส์รองรับEEC


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เปิดซองแรกตามคาด "ซีพี-บีทีเอส" ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ ประมูลไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน