รู้จักมั้ย  ATM ป้ายขาว  ...??

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ไม่ต้องวิ่งหาตู้กดเงินของแต่ละแบงก์ให้เสียเวลา  แล้วจะกดเงินได้อย่างไร   มาทำความรู้จัก เอทีเอ็ม ร่วมกัน...!!!!.

รู้จักมั้ย  ATM ป้ายขาว  ...??

วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า กรณีที่สมาคมธนาคารไทยหารือร่วมกัน เพื่อปรับปรุงระบบเอทีเอ็มให้เป็นรูปแบบไวท์ เลเบล หรือ เอทีเอ็มป้ายขาว ไม่มีการแบ่งแยกค่ายธนาคาร จัดทำระบบการใช้ ATM ร่วม (White Label ATM)  ธปท.สนับสนุนแนวคิดนี้มาโดยตลอด เพราะช่วยลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ช่วยลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจให้แก่ธนาคารพาณิชย์เอง และท้ายสุดจะช่วยทำให้ต้นทุนทางการเงินของประชาชนถูกลง 

รู้จักมั้ย  ATM ป้ายขาว  ...??

ปัจจุบันมีเอทีเอ็มอยู่ราว 70,000 เครื่องทั่วประเทศที่สามารถรับบัตรของทุกธนาคารได้ มองว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่ธนาคารพาณิชย์จะใช้ทรัพยากรในระบบการเงินร่วมกันเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจ ลดความซ้ำซ้อนในการมีเอทีเอ็มช่วยลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจให้แก่ธนาคารพาณิชย์เอง และท้ายสุดจะช่วยทำให้ต้นทุนทางการเงินของประชาชนถูกลง 
"ATM แต่ละเครื่องก็ทำหน้าที่เหมือนๆ กันอยู่แล้ว ดังนั้นไม่จำเป็นที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีการลงทุนตั้งตู้ ATM ที่ซ้ำซ้อนกัน แนวทางก็คงเป็นเหมือนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ควรเลี่ยงการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในทรัพยากรที่เรามีอยู่" ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว
ส่วนการที่ธนาคารพาณิชย์มีการแต่งตั้ง ตัวแทนธนาคาร หรือ Banking Agent ถือเป็นการตอบโจทย์ในการเพิ่มบริการทางการเงินให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบสนองกับความต้องการของประชาชนที่เป็นลูกค้าของธนาคารซึ่งมีความหลากหลาย นอกจากนี้ยังตอบโจทย์ของสถาบันการเงินที่มีการวางกลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น การให้กองทุนหมู่บ้าน, ปั๊มน้ำมัน สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนธนาคาร ได้ แต่ที่สำคัญธนาคารจะต้องวางกลไกลและมีการควบคุมการบริหารความเสี่ยงให้ดี

รู้จักมั้ย  ATM ป้ายขาว  ...??

 "การให้บริการทางการเงินไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบเดียว ในโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น บริการทางการเงินก็จะต้องมีช่องทางให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ เข้าถึงได้หลากหลายมากขึ้นเช่นกัน เพราะประชาชนแต่ละกลุ่มมีทักษะทางเทคโนโลยีที่ต่างกัน" ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว พร้อมระบุว่า ยังไม่อยากให้กังวลไปว่าเมื่อธนาคารพาณิชย์แต่งตั้ง Banking Agent แล้ว จะเป็นการลดบทบาทและความสำคัญของสาขาธนาคารลง เพราะ ตัวแทนธนาคารหรือ Banking Agent มีหลายประเภท อีกทั้งไม่ได้หมายความว่าตัวแทนธนาคาร ของทุกธนาคารจะต้องทำหน้าที่เหมือนกัน เพราะบางธนาคารอาจให้ทำแค่การรับชำระเงินเท่านั้น หรือบางธนาคารอาจให้ทำแค่การถอนเงิน ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ของแต่ละธนาคาร 

ส่วนสาระสำคัญของเกณฑ์ฉบับใหม่นี้คือ การให้ความยืดหยุ่นและคล่องตัวแก่ธนาคารพาณิชย์ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบและช่องทางให้บริการ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. สาขาของธนาคารพาณิชย์ จะมีรูปแบบยืดหยุ่นขึ้น ทั้งเรื่องธุรกรรม วันเวลาทำการ และให้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ mobile banking

2. การแต่งตั้งตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ (Banking agent) ซึ่งเป็นเรื่องที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์แต่งตั้งได้อยู่แล้ว โดยธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งตัวแทนไม่ว่าจะเป็น ธนาคารพาณิชย์อื่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และไปรษณีย์ ซึ่งเกณฑ์ใหม่ได้ขยายให้ครอบคลุมนิติบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมด้วย

ทั้งนี้คาดว่าไม่เกินเดือนมีนาคมนี้  ตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ สามารถให้บริการ รับฝาก ถอน โอน ชำระเงิน สำหรับลูกค้ารายย่อย โดยให้ได้ครั้งละ 5 หมื่นบาท หรือ วันละ 2 หมื่นบาทต่อคนต่อวัน