กระจ่างสักที!!! "ผงชูรส" ทำมาจากอะไร ทำไมใส่อาหารแล้วอร่อย รู้เเล้วจะทึ่ง!!!!

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม http://deeps.tnews.co.th/

ผงชูรสเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมรสชาติของ อาหารอย่างมีประสิทธิภาพมานานเกือบ ศตวรรษ องค์ประกอบหลักของผงชูรส คือกรดอะมิโน ที่มีชื่อว่า “กรดกลูตามิก” หรือ “กลูตาเมต” ซึ่งเป็นส่วนประกอบตามธรรมชาติที่พบได้ในอาหารแทบทุกชนิด เราจะมาทำความรู้จัก กับผงชูรสให้มากขึ้นอย่างถูกต้อง รวมไปถึงวิธีใช้ผงชูรสในการปรุงอาหารอย่างเหมาะสมอีกด้วย

กระจ่างสักที!!! "ผงชูรส" ทำมาจากอะไร ทำไมใส่อาหารแล้วอร่อย รู้เเล้วจะทึ่ง!!!!

 

 

กระจ่างสักที!!! "ผงชูรส" ทำมาจากอะไร ทำไมใส่อาหารแล้วอร่อย รู้เเล้วจะทึ่ง!!!!

 

 

 ผงชูรสผลิตจากกระบวนการหมักเช่น เดียวกับเบียร์ น้ำส้มสายชู หรือโยเกิร์ต โดยกระบวนการผลิตจะเริ่มต้นจากการหมักกากน้ำตาลจากอ้อย หรือน้ำตาลจากแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบธรรมชาติโดยผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้จะเป็นผลึกขาวบริสุทธิ์ ละลายน้ำได้ง่าย และเข้ากับอาหารได้ทุกชนิด

 

ทั้งนี้ผงชูรสจะช่วยเสริมรสชาติของอาหารหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ อาหารทะเล หรือผัก โดยจะช่วยให้อาหารมีรสชาติเด่นชัดขึ้น โดยปริมาณการใช้ผงชูรสอย่างเหมาะสมจะอยู่ในระดับ เดียวกับปริมาณกลูตาเมตในอาหารธรรมชาติ คือ 0.1 – 0.8% ของอาหาร หรืออาจกล่าวได้ ว่าประมาณผงชูรส 1 ช้อนชาเหมาะที่จะใช้ในการปรุงอาหารที่ เป็นเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือปรุงอาหารจำพวกผักและซุปหรือแกงจืด 1 หม้อ สำหรับเสิร์ฟ 4 – 6 ที่

 

กระจ่างสักที!!! "ผงชูรส" ทำมาจากอะไร ทำไมใส่อาหารแล้วอร่อย รู้เเล้วจะทึ่ง!!!!

 

 


นอกจากนี้ผงชูรสเองก็มีคุณสมบัติจำกัด ตัวเองในด้านรสชาติเช่นเดียวกับเกลือ พริก ไทย และน้ำส้มสายชู การใช้สารปรุงรสเหล่านี้เกินกว่าปริมาณที่เหมาะสม จะไม่ช่วยให้รสชาติดของอาหารดีขึ้น เห็นได้จากการใส่เกลือหรือพริกไทยในอาหารในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้อาหารเค็มเกินไป มีรสชาติไม่เป็นที่ปรารถนา ซึ่งเมื่อมาพิจารณาปริมาณกลูตาเมตที่เติมลงไปในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติแล้ว จะพบว่ามีปริมาณเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณกลูตาเมตทั้งหมดที่เราได้รับ ในแต่ละวันโดยเฉลี่ยมนุษย์จะได้รับกลูตาเมตจากอาหารโปรตีน 10 กรัม และกลูตาเมตอิสระอีกกว่า 1 กรัมต่อวัน นอกจากนี้ร่างกายยังสามารถสร้างกลูตาเมต อิสระได้เอง เพื่อใช้ในระบบอื่นๆ อีกวันละ 50 กรัม แต่กลูตาเมตที่ได้รับจากการเติมผงชูรสลงในอาหารจะอยู่ ที่ 1.5 กรัมหรือ 0.1 ช้อนโต๊ะ / คน / วันเท่านั้น