ติดตามข่าวเพิ่มเติม Facebook : Deeps News

เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 61 ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี  กรมอุทยานแห่งชาติฯนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมวิถีชีวิต “ช้าง” ที่มีความสัมพันธ์และผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นเวลานาน เนื่องในวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็น “วันช้างไทย” เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญและการดำรงอยู่ของช้างไทย เผยวางแผนแก้ไขระยะยาว 20 ปี เผยรั้วรังผึ้ง กันช้างป่าทำลายพืชผลอย่างมีประสิทธิภาพ เผยโครงการปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติเป็นครั้งแรกของโลก

ด้าน นายธัญญา  เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ปัจจุบันช้างป่าอาศัยอยู่ตามธรรมชาติประมาณ 3,216 - 3,341 ตัว ในพื้นที่อนุรักษ์ทั้งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จำนวน 69 แห่ง มีพื้นที่ที่เป็นแหล่งอาศัยของช้างป่าราว 52,000 ตร.กม  ในแต่ละพื้นที่การกระจายสามารถพบช้างป่าได้ตั้งแต่น้อยกว่า 10 ตัว ไปจนถึง 200 – 300 ตัว โดยกลุ่มป่าที่มีประชากรช้างป่าอาศัยอยู่มาก ได้แก่ กลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าดง  พญาเย็น - เขาใหญ่ กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว กลุ่มป่าตะวันออก และกลุ่มป่าแก่งกระจาน แม้ว่าในประเทศไทยแนวโน้มประชากรช้างป่าโดยรวมค่อนข้างคงที่ อย่างไรก็ตามประชากรช้างป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์หลายแห่งในประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นต้น 

 

"กรมอุทยานแห่งชาติฯ" เดินหน้ารณรงค์ "การอนุรักษ์ช้างไทย" พร้อมวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ช้างป่าระยะยาว 20 ปี!!!

 

เนื่องจากการขยายตัวของชุมชน การขยายพื้นที่เกษตร การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างเส้นทางคมนาคมที่ผ่านป่าสมบูรณ์ การก่อสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งปัญหาดังกล่าว
เป็นปัจจัยหลักก่อให้เกิดปัญหาช้างป่าออกมาทำลายพืชผลทางการเกษตรของราษฎรที่อาศัยใกล้ชิดตามแนวขอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหาที่สำคัญและเพิ่มความรุนแรงขึ้นทุกปี


ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์กว่า 40 แห่งทั่วประเทศ อาทิ  (1) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน (2) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ (3) อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (4) อุทยานแห่งชาติกุยบุรี (5) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง (6) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ (7) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว (8) อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง (9) อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น (10) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เป็นต้น 

อีกทั้งปัญหาดังกล่าวยังมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวและมีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคตถึงแนวทางการจัดการและการอนุรักษ์ช้างป่า ว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีนโนยายเกี่ยวกับการช้างป่าและการบริหารจัดการพื้นที่ เพื่อการอนุรักษ์ช้างป่าตลอดจนลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ซึ่งประกอบไปด้วย 1. การป้องกันไม่ให้พื้นที่อาศัยของช้างถูกทำลาย โดยมีดำเนินมาตรการอย่างเต็มที่เพื่อจะคืนผืนป่าให้แผ่นดิน ทั้งการป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าและการตัดไม้ การป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างป่า อีกทั้งยังได้กำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้มีการล่าช้าง โดยให้เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติลาดตระเวนไปตามจุดเสี่ยงต่างๆ และตามแหล่งหากินของช้างป่า 2. มีนโยบายในการปรับปรุงป่าเสื่อมโทรม ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมทั้งกลุ่มป่าบางแห่งที่เป็นเส้นทางช้างในอดีตที่ขาดความต่อเนื่องจะมีการสร้างแนวเชื่อมต่อพื้นที่ให้เป็นป่าผืนใหญ่เชื่อมต่อหากันได้  3. มีการศึกษาวิจัยในด้านการติดตามช้างป่า ที่อยู่อาศัย แหล่งหากิน พื้นที่เสี่ยง และขนาดจำนวนประชากร ของช้างป่าอย่างต่อเนื่อง 4. มีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนในเรื่องพฤติกรรมของช้างป่าและการปฏิบัติตนเมื่อพบช้างป่า

 

"กรมอุทยานแห่งชาติฯ" เดินหน้ารณรงค์ "การอนุรักษ์ช้างไทย" พร้อมวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ช้างป่าระยะยาว 20 ปี!!!

 

โดยปัจจุบันได้จัดทำคู่มือเบื้องต้นสำหรับประชาชน เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความเข้ารู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวช้าง สถานการณ์ของช้าง พฤติกรรมของช้าง ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ช้างป่าไม่ให้สูญพันธุ์ โดยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน นิสิต นักศึกษา เยาวชน มีจิตสำนึก และตระหนักถึงความสำคัญของช้างป่าและพื้นที่ป่า


ดร.กาญจนา นิตยะ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กล่าวถึง แผนงานและแนวทางการจัดการและแก้ปัญหาช้างป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เช่นในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระเป็นหนึ่งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อีกหลายแห่งในประเทศไทย ที่ประสบปัญหาจากการที่ช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าและเกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่ามานานหลายปี ปัจจุบันพบว่ามีจำนวนช้างป่าอาศัยอยู่ราว 180 – 200 ตัว และหนึ่งในจำนวนนี้มีช้างป่าหลายสิบตัวที่มักออกหากินออกพื้นที่ป่าอนุรักษ์อยู่เป็นประจำ การอนุรักษ์และ การจัดการช้างป่าในสภาวะปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการดำเนินงานบนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์และต้องมีการดำเนินการทั้งในและนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ได้แก่
 

"กรมอุทยานแห่งชาติฯ" เดินหน้ารณรงค์ "การอนุรักษ์ช้างไทย" พร้อมวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ช้างป่าระยะยาว 20 ปี!!!


ปัจจุบันพื้นที่ป่าอนุรักษ์หลายแห่งที่ยังเป็นถิ่นอาศัยของช้างป่าเริ่มมีความไม่เหมาะสม เนื่องจากขาดแคลนน้ำ เป็นภูเขา มีความลาดชันสูง ทำให้สภาพถิ่นอาศัยที่เหมาะสมของช้างป่ามีขนาดลดลงจากเดิม นอกจากนี้แล้วพื้นที่ที่เป็นแหล่งอาศัยของช้างป่าดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกันน้อยมาก มีลักษณะถูกแบ่งแยก ตัดขาดออกจากกัน 

1. การจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็นแผนงานการจัดการช้างป่าในพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญ
เพื่อป้องกันไม่ให้ช้างออกนอกพื้นที่ และควบคุมไม่ให้มีประชากรมากเกินกว่าศักยภาพการรองรับได้ของพื้นที่ เช่น 
การติดตามประชากรช้างป่า จัดทำและปรับปรุงงสิ่งกีดขวาง (คูกันช้าง รั้วไฟ้ฟา) การฟื้นฟูสภาพถิ่นอาศัยของช้างป่า (แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร) เป็นต้น

2. การจัดการนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็นแผนงานการจัดการช้างป่านอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีเป้าหมายสำคัญเพื่อเป็นการให้ความรู้ ความตระหนัก และสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาช้างป่า รวมถึงการให้ความช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายแก่ประชาชนอันเกิดจากช้างป่า เช่น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่กับชุมชน (อาสาสมัครเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ, การทำรั้วผึ้ง ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้ดำเนินการสร้างต้นแบบรั้วรังผึ้งทั้งหมด 4 กลุ่มป่า ได้แก่กลุ่มป่าตะวันออก, กลุ่มป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่, กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว, กลุ่มป่าแก่งกระจานและกลุ่มป่าตะวันตกรวม 9 ต้นแบบ วัตถุประสงค์ของการใช้รั้วรังผึ้งเพื่อป้องกันพื้นที่เกษตรและที่อยู่อาศัยจากช้างป่ามี ดังนี้ 1.เพื่อป้องกันพื้นที่เกษตรและที่อยู่อาศัยจากช้างป่าที่ออกมาหากิน  2.เพื่อส่งเสริมอาชีพทางเลือกที่ยั่งยืนแก่เกษตรกรโดยการเลี้ยงผึ้งควบคู่ไปกับการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นที่เหมาะสม 3. เพื่อลดข้อขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า และให้ชุมชนเรียนรู้อยู่ร่วมกันเป็นแนวร่วมในการอนุรักษ์ช้างป่าอย่างยั่งยืน) การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า (กองทุนช่วยเหลือฯ) การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และสร้างเครือข่ายข้อมูลในการเฝ้าระวังภัยจากช้างป่า เป็นต้น

 

"กรมอุทยานแห่งชาติฯ" เดินหน้ารณรงค์ "การอนุรักษ์ช้างไทย" พร้อมวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ช้างป่าระยะยาว 20 ปี!!!

 

ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กล่าวเพิ่มเติมว่า ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระนั้น นอกจากประเด็นเรื่องการจัดการช้างป่าแล้วยังมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าที่สำคัญ ได้แก่ โครงการปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 7 ตัว และให้กำเนิดลูกในสภาพธรรมชาติแล้ว   1 ตัว โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและเป็นการฟื้นฟูประชากรวัวแดงในป่าสลักพระ ซึ่งโครงการปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาตินับเป็นการปล่อยวัวแดงอย่างเป็นทางการครั้งแรกของโลก ปัจจุบัน สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า โดยกลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ยังมีโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นฟูประชากรวัวแดงสายพันธุ์ไทยและเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมของวัวแดงสายพันธุ์ไทยในผืนป่าที่อดีตเคยมีการแพร่กระจายด้วย ทั้งนี้การฟื้นฟูประชากรวัวแดงนอกจากการปล่อยกลับคืนสู่พื้นที่ถิ่นอาศัยเดิมแล้ว จำเป็นต้องมีการดูแลรักษาพื้นที่อาศัยของวัวแดงให้คงอยู่เพื่อเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสมของวัวแดงในระยะยาวด้วย

 

"กรมอุทยานแห่งชาติฯ" เดินหน้ารณรงค์ "การอนุรักษ์ช้างไทย" พร้อมวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ช้างป่าระยะยาว 20 ปี!!!


อย่างไรก็ตามการอนุรักษ์และการจัดการช้างป่ารวมไปถึงสัตว์ป่าชนิดอื่นๆยังต้องการความร่วมมือจากทุกๆ ภาคส่วนอีกมาก เนื่องจากช้างป่าและสัตว์ป่าที่สำคัญหลายชนิดเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ต้องการพื้นที่อาศัยที่กว้างขวาง ดังนั้นผืนป่าที่มีขนาดเล็กจึงไม่สามารถรองรับประชากรของสัตว์ป่าเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืน ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าธรรมชาติจึงมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ประชากรช้างป่าและสัตว์ป่าของไทย โครงการพัฒนาต่างๆที่มีแผนดำเนินการในพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ต่างๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อความอยู่รอดและความยั่งยืนของประชากรช้างป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าไม้เหล่านั้นด้วย ประชาชนทุกคนก็ต้องมีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายอนุรักษ์ การป้องกัน และการคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นบ้านของช้างป่าและสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ให้สามารถเป็นแหล่งอาศัยที่สมบูรณ์และมีความยั่งยืนสืบไป