NBN Co

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ถือเป็นประเด็นใหญ่ที่ “สำนักข่าวทีนิวส์”  ให้ความสนใจเกาะติดต่อเนื่อง สำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มสหภาพฯ บมจ.ทีโอที   ในการเรียกร้องความชอบธรรมให้กับองค์กร   หลังจากเกิดนโยบายการแยกทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์โครงข่ายหลัก  ไปตั้งเป็นบริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด หรือ NBN Co.  และ บริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จำกัด  หรือ NGDC Co. ซึ่งพนักงานบมจ.ทีโอที เห็นว่าไม่ถูกต้องในหลายประเด็น รวมถึงยังเป็นการบั่นทอนความแข็งแกร่งทางธุรกิจของรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมของประเทศอีกด้วย  (คลิกอ่านรายละเอียดประกอบ สู้หนนี้..เพื่อชาติ!!พนง.TOT ทั่วปท.ลุกฮือใหญ่ ปักธงค้านโอนย้ายโครงข่ายบรอดแบนด์ ซัดแรงทำลายรัฐวิสาหกิจไทย ไล่กก.ผจก.ใหญ่พ้นตำแหน่ง!? )

ล่าสุดมีรายงานข่าวเพิ่มเติมว่าในวันที่ 23  มี.ค.นี้  ทางสหภาพ บมจ.ทีโอที   ได้ทำหนังสือขออนุมัติต่อฝ่ายบริหารให้สมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี  2560  โดยไม่ถือเป็นวันลาและให้ถือเสมือนเป็นการปฏิบัติงานให้กับบมจ.ทีโอที  ท่ามกลางกระแสข่าวว่านัดหมายดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นการรวมพลังของพนักงานบมจ.ทีโอที  ในการเรียกร้องให้ผู้บริหารรับฟังความคิดเห็นเรื่องจุดยืนที่ไม่เห็ด้วย  กับการจัดตั้งบริษัทโครงข่ายบอร์ดแบนด์แห่งชาติ จำกัด ( NBN CO.) กับบริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศ และศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จำกัด (NGCD CO.)  ซึ่งจะมีการโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ของแผ่นดินไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัททั้งสอง 

ก่อนหน้านั้นในไลน์ของกลุ่มพนักงานมีการเผยแพร่เอกสาร ข้อมูลออกมาเป็นระยะ ๆ  ต่อแนวทางที่ผู้บริหารบมจ.ทีโอทีกำลังดำเนินการ  โดยเฉพาะเอกสารที่ระบุว่า   “ตามที่เพื่อนพนักงานทุกท่านทราบมาโดยตลอดว่า บมจ.ทีโอที และ บมจ.แคท จะร่วมกันจัดตั้ง บริษัทฯ ในลักษณะของ บริษัทลูก ได้แก่ บ.NBN และ บ.NGDC ตามที่ได้ตกลงเป็นมติจาก คนร. ตามแผนการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจ นั้น

 

ในช่วงแรกของการจัดตั้งฯ ผู้บริหารฯโดยเฉพาะฝั่ง บมจ.ทีโอที ได้ผลักดันมาโดยตลอด โดยชี้ให้เห็นว่า เป็นการทาให้ บมจ.ทีโอที อยู่รอดได้ จนมีวลีว่า “ ลูกโต แม่ไม่ตาย ” โดยเสนอผลตอบแทนให้กับผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต่างๆมากมาย แต่ ขอบเขตงานที่ บ.NBN จะดาเนินการนั้นไม่ชัดเจนและคลุมเครือ

 

มาถึงวันนี้ ก็พิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่ผู้บริหารฯ บมจ.ทีโอที โปรยยาหอมมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงภาพลวงตาทั้งสิ้น เริ่มจาก

 

1. ผลตอบแทน +15% จากฐานเงินเดือนเดิม เมื่อดูในรายละเอียดกลับพบว่าเต็มไปด้วยกับดัก และการลดสวัสดิการต่างๆมากมาย ผลก็คือ พนักงานรหัส 1 ส่วนใหญ่ไม่สนใจเข้าร่วม บ.NBN เพราะเห็นว่าลดสิทธิประโยชน์

 

2. เมื่อ บ.NBN ไม่ได้รับการตอบรับจากพนักงาน ทีโอที สิ่งที่ บ.NBN ต้องทาต่อไปในสองข้อ คือ จ้างพนักงานจากบุคคลภายนอก หรือ จ้าง บริษัทฯ มารับงานต่อ หรือ ทาทั้งสองอย่าง ซึ่งก็จะเห็นว่า เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายอย่างมากมาย

 

3. เมื่อ คชจ. ด้านพนักงานและค่าจ้างที่สูง กอรปกับ ค่าเสื่อมสินทรัพย์มหาศาลที่รับไปจากการโอนสินทรัพย์จาก บมจ.ทีโอที ก็พอจะมองออกแล้วว่า ไม่ว่าจะกี่ปี บ.NBN ก็ไม่มีวันที่จะสร้างผลกาไรกลับมาให้บริษัทฯแม่อย่าง ทีโอทีได้อย่างแน่นอน แม้ตัว บ.NBN เองก็ไปไม่รอด

 

4. มาในฝั่ง บมจ.ทีโอที ที่จะต้องจ่ายค่าเช่าโครงข่ายให้กับ บ.NBN ( ซึ่งเดิมเป็นของ ทีโอที แต่กลับต้องมาเช่าสินทรัพย์และมาจ่ายค่าเช่าสมบัติของตัวเอง ) ซึ่งในท้ายที่สุด บมจ.ทีโอที โดยเฉพาะ BU4 ก็ไม่สามารถยืนอยู่ได้ เพราะมีเจ้าหนี้เต็มไปหมด ทั้ง บ.NBN ทั้ง BU1 ทั้ง BU2 ทั้ง BU3

5. สุดท้ายท้ายสุด (ไม่เกินสองปีนับจากนี้) ทุกท่านก็จะเห็นการล่มสลายสมบูรณ์แบบ ทั้ง บมจ.ทีโอที และ บ.NBN

6. มาดูขอบเขตความรับผิดชอบโครงข่าย ซึ่งผมเรียกว่า “โครงข่ายม้าลาย” จะเห็นว่า ในแต่ละช่วงของโครงข่ายนั้น สลับกันดูแล ก็จะเห็นได้ว่า การโอนสินทรัพย์เป็นช่วงๆแบบนี้ เท่ากับเป็นการฆ่าให้ตายทั้ง ทีโอที และ NBN ( แต่สงสัยว่า ผู้บริหารเรา มองไม่ออกหรืออย่างไร )

 


NBN Co

 

ทั้งนี้นัดหมายดังกล่าว คาดหมายว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการที่ผู้บริหารบมจ.ทีโอที ได้มีการทำหนังสือนัดหมายประชุมเตรียมการให้บริการโครงข่ายบรอดแบนด์และความพร้อมของบริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ เมื่อ บมจ.ทีโอที โอนทรัพย์สิน  ครั้งที่  2 ตามคำสั่งการของนายมนต์ชัย หนูสง  กก.ผจก.ใหญ่   เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ที่ผ่านมา