อ้าว..คนกันเองทั้งนั้นที่เซ็น?! กระชาก"ไอ้โม่งเซ็นสร้างบ้านพักศาลฯ" เจ้าปัญหา ที่แท้ล้วน"เครือข่ายนายใหญ่แห่งสันกำแพง" ทั้งนั้นที่เอี่ยว

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

 

คนเชียงใหม่กันเองทั้งนั้นที่เซ็นอนุมัติ?! "เปรี้ยง" เพจดังที่เกาะติดการเมืองเสื้อแดง และองคาพยพของระบอบทักษิณมานาน ได้ออกมาเปิดไทม์ไลน์ "ไอ้โม่ง" ที่เซ็นให้สร้างบ้านพักศาลภาค 5 เชิงดอยสุเทพที่กำลังมีปัญหาถูกต่อต้านอย่างหนักของคนในพื้นที่ กระทั่งรุนแรงถึงขนาดฝ่ายต้านนั้นยืนกรานให้ "รื้อ" สถานเดียวเท่านั้น ทั้งที่โครงการดำเนินไปแล้วกว่า 90 % ใช้เงินไปแล้วนับ 1,000 ล้านบาท

 

ความคลุมเครือของข้อมูล บวกกับระยะเวลาที่ทอดยาวมานานของต้นเรื่องที่อนุมัติไว้ ทำให้หลายฝ่ายโดยเฉพาะ "ชาวแดง" ที่จ้องจะโจมตีอยู่แล้ว ต่างโหมกระพือเรื่องนี้ และด่ากราดไปที่รัฐบาล คสช. ว่าเป็นผู้สั่งการ...กระทำชำเราผืนป่าเชิงดอยสุเทพทั้งหมด

เมื่อเรื่องทำท่าจะบานปลายกันใหญ่  เพจดังที่เกาะติดการเมืองเสื้อแดง และองคาพยพของระบอบทักษิณมานานอย่าง "เปรี้ยง" จึงออกมากระชากหน้ากาก "ไอ้โม่ง" ที่เซ็นให้สร้างบ้านพักเจ้าปัญหาให้สังคมได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลย

แล้วเรื่องก็ไม่ได้ผิดคาดไปสักนิด เพราะผู้อนุมัติโครงการล้วนอยู่ในวังวน "เครือข่ายนายใหญ่แห่งสันกำแพง" ทั้งนั้น โดยเริ่มจากปี 2547 กองทัพบกยุค พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร  เป็น ผบ.ทบ. อนุมัติให้สำนักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ใช้พื้นที่กองทัพบกที่ทำเรื่องส่งคืนให้กรมธนารักษ์ 143 ไร่ใช้ที่ดินดังกล่าวตามที่ร้องขอ เพราะในปี 2548 สำนักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 จะย้ายที่ทำการจากกรุงเทพฯ ไปอยู่ที่เชียงใหม่ จากนั้นช่วงระยะเวลากว่า 2 -3  ปี (จากปี 2547 ถึง 2549 ซึ่งอยู่ในยุครัฐบาลทักษิร 2) ที่ส่วนราชการผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ว่าราชการเชียงใหม่ได้พิจารณาเห็นชอบให้สำนักงานศาลยุติธรรม ใช้พื้นที่ก่อสร้างที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บ้านพัก และอาคารชุดสำหรับข้าราชการตุลาการเจ้าปัญหาดังกล่าว

 

อ้าว..คนกันเองทั้งนั้นที่เซ็น?! กระชาก"ไอ้โม่งเซ็นสร้างบ้านพักศาลฯ" เจ้าปัญหา ที่แท้ล้วน"เครือข่ายนายใหญ่แห่งสันกำแพง" ทั้งนั้นที่เอี่ยว

ต่อมาในปี 2556 อันเป็นยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ นอมินีของพี่ชายศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้รับงบประมาณก่อสร้างโครงการนี้ 1 พันล้านบาท จึงเริ่มเปิดพื้นที่ ดำเนินการก่อสร้างที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 รวมทั้งบ้านพักอันก่อให้เกิดกระแสต้านอย่างรุนแรงอยู่ด้วย

แต่ด้วยติดขัดทางด้านวิศวกรการก่อสร้าง ที่ต้องเจาะแนวภูเขา กำหนดการก่อสร้างจึงล่าช้าไปอีกกว่า 2 ปี และมาใกล้แล้วเสร็จในยุค คสช. จนทำให้ผู้จ้องตีรัฐบาล คสช. หยิบไปเป็นประเด็น กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องออกมาระบุว่า แม้ คสช. จะไม่ได้เป็นผู้อนุมัติโครงการนี้ แต่จะต้องเป็นผู้เร่งหาทางออกเรื่องนี้ โดยจะมีการหารือระหว่างศาลและฝ่ายกฎหมาย คสช. เพื่อหาทางออก และจะต้องปรับพื้นที่ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมให้ได้


ว่าไปแล้ว ไทม์ไลน์ของ "เปรี้ยง" สอดคล้องกับสิ่งที่ "สุทิน วรรณบวร" อดีตนักข่าวชื่อดัง และเป็นแนวร่วมกลุ่ม กปปส. พูดไว้เป็นอย่างมาก โดยสุทินออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีดังกล่าวแบบแฉให้เห็นเลยว่า...ใครอนุมัติ...และใครก่อหวดต้าน ดังรายละเอียดที่โพสต์ คือ  

“ตอนเริ่มโครงการสำรวจพื้นที่ เริ่มหักร้างถางพงทำไมไม่รณรงค์คัดค้านแต่ตอนนั้น โครงสร้างไป ๙๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว ใช้เงินงบประมาณไปแล้วเป็นพันล้าน อนุมัติในรัฐยิ่งลักษณ์ที่พวกท่านชื่นชมแทบจะฉีก..ดม ท่านมานึกรณรงค์เอาเป็นเอาตายตอนนี้ ถ้าไปทุบอาคารซิเมนต์พวกนั้นทั้งหมดแล้วต้นไม้จะงออกเขียวชะอุ่มขึ้นมาทันที่หรือ สู้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบปลูกตามแบบแผนที่เตรียมให้เป็นป่าเขียนชะอุ่มไม่ดีกว่าหรือท่าน”


นอกจากนี้ ล่าสุดสุทิน ยังย้ำเรื่องนี้อีกครั้งว่า “ที่ติดใจคือทำไมคัดค้านเอาเป็นเอาตายตอนสร้างใกล้เสร็จแล้วทำไมก่อนหน้านี้ไม่คัดค้าน ที่คัดค้านเพื่อต้องการตีวัวกระทบคราดใคร” (ความจริงเรื่องนี้มีผู้อธิบายถึงที่มาที่ไปโครงการอยู่หลายคน ซึ่งข้อมูลล้วนแต่ตรงกันว่า การอนุมัติล้วนอยู่ในวังวน "เครือข่ายนายใหญ่แห่งสันกำแพง" ทั้งสิ้น เพราะช่วงนั้นเป็นยุครัฐบาลทักษิณ หรือไม่ก็รัฐบาลนอมินีทักษิณ รวมทั้งยิ่งลักษณ์ แต่กระแสที่กลุ่มต้าน คสช.สร้างขึ้นกลับกลบข้อเท็จจริงนี้เสียสิ้น และต่อให้มีบางคนที่ต้านด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพราะเห็นแก่ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย แต่การถูกลากจูงให้กดดันไปที่ คสช. กลับกลายทำให้คนเหล่านั้นเป็นแนวร่วมมุมกลับของคนบางกลุ่มที่หวังผลทางการเมืองไปโดยปริยาย และทำให้ต้องตั้งคำถามเช่นเดียวกับที่ "สุทิน" ตั้งว่า หรือที่ค้านเพราะต้องการตีวัวกระทบคราดใคร-ผู้เขียน)

อ้าว..คนกันเองทั้งนั้นที่เซ็น?! กระชาก"ไอ้โม่งเซ็นสร้างบ้านพักศาลฯ" เจ้าปัญหา ที่แท้ล้วน"เครือข่ายนายใหญ่แห่งสันกำแพง" ทั้งนั้นที่เอี่ยว

 

ขอบคุณภาพ/ข้อเขียน : เพจ "เปรี้ยง" , "สุทิน วรรณบวร"