“อภิสิทธิ์”อาจสับสัน!นายกคนนอก..คนละเรื่องเผด็จการ แล้วผิดหลักการประชาธิปไตยอย่างไร?!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th


    ยังเป็นประเด็นอย่างต่อเนืองสำหรับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  กับคำขู่ที่ดูแล้วแสนจะดุดันพอๆกับความไร้เดียงสาทางการเมือง สะท้อนจากคำพูดที่ได้เอยปากตัดขาดความสัมพันธ์ ไม่ขอร่วมวงเผด็จ!!

    การพูดผ่านสื่อไปดังๆ ของนายอภิสิทธิ์ว่าหากอดีตสส.พรรคคนไหน ที่คิดจะหนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นนายกฯหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า ก็ให้ไปอยู่ที่อื่น ไม่ต้องมาที่นี่ ที่พรรคประชาธิปัตย์ และพร้อมยืนยันหลักการว่าด้วยพรรคประชาธิปัตย์ จะเดินตามวิถีทางประชาธิปไตย หากสนับสนุนพรรคก็ต้องสนับสนุนหัวหน้าพรรคให้เป็นนายกรัฐมนตรี

    หากพิจารณาอย่างผิวเผิน ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ที่ผ่านมาโดยเฉพาะช่วงหลังยิ่งใกล้วันเลือกตั้งมากเท่าไหร่ นายอภิสิทธิ์ก็ได้ออกมาแสดงจุดยืนในเรื่องหลักการประชาธิไตย ที่ตนยึดมั่นถือมั่นแบบถี่ยิบและรุ่นแรงมากขึ้น ซึ่งดูจากอาการของนายอภิสิทธิ์แล้ว คล้ายกับว่ากำลังสับสนในตัวเอง!!!

     จริงอยู่ ที่การเข้ามาของพล.อ.ประยุทธ์ นั้นแต่แรกเริ่มมาจากการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลที่หมดความชอบธรรมในการบริหารงานแผ่นดิน จึงถูกเรียกว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการ แต่อย่าลืมว่ารัฐบาลเผด็จการชุดนี้ นั้นก็มาจากเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ไม่ต้องการเห็นความย่อยับของชาติบ้านเช่นกัน  และหากจะมีผู้สนับสนุนให้พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี อีกหนึ่งสมัย ภายหลังการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น โดยช่องทาง “นายกคนนอก” ก็ไม่ใช่ว่าจะผิดหลักการประชาธิปไตยแต่อย่างใด  เพราะรัฐธรรมนูญปี60 ที่ผ่านการทำประชามติมาแล้ว ได้เขียนไว้ชัดเจน ถึงที่มาในยกคนนอก

    ตามมาตรา 272 ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ที่ให้อำนาจ ส.ว. 250 คนที่ คสช. จะเป็นผู้แต่งตั้งนั้น มีอำนาจในการเลือกตัวนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. ในช่วง 5 ปีแรกได้
    ทั้งนี้ “ขยักแรก” ให้เลือกจากบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองเสนอ โดยต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภาด้วย แต่ถ้าเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งมีเหตุให้ไม่สามารถตั้งนายกรัฐมนตรีได้จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง  ดังนั้นมาถึงวิธีผ่าทางตัน

“ขยักที่สอง” คือ เสียงจากสส.และเสียงจากสว.รวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งหมดสามารถเข้าชื่อเพื่อเข้ายื่นต่อประธานรัฐสภาเพื่อจัดประชุมเพื่อยกเว้นไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองได้ โดยต้องมีเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่า 2 ใน3
จึงเป็นที่มาของนายกรัฐมนตรีนอกนั่นเอง

    เพราะฉะนั้น การที่มีใครสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกคนนอกนั้น จึงไม่ใช่เรื่องของเผด็จการ แต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องที่ดำเนินการตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ ทำนองเดียวกันกับ สมัยที่นายอภิสิทธิ์ที่ได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจจากสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมๆกับคำครหาว่า“จัดตั้งรัฐบาลค่ายทหาร” ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากทหาร ตามที่ระบอบทักษิณใช้เป็นเหตุผลใน"การโจมตี"รัฐบาลของอภิสิทธิ์และกองทัพมาโดยตลอดใช่หรือไม่?