ขยายความจริง!! เบื้องหลัง"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย"แตก โทษธรรมชาติหรือความผิดพลาดใคร??

การเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตกประเทศลาว ส่งผลให้มวลน้ำมหาศาล 5 ล้านลูกบาศก์เมตร  ทะลักท่วมถล่มเมืองสนามไชย แขวงอัตตะปือ ตอนใต้ของประเทศลาวในเวลาต่อมาซึ่งทองลุน สีสุลิด  นายกรัฐมนตรี ของลาว แถลงผ่านโทรทัศน์ว่า เหตุการณ์เขื่อนแตกตั้งแต่ค่ำวันจันทร์ทำให้มีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 26 คน และยังมีคนสูญหาย 131 คน ทั้งหมดเป็นชาวลาว

การเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตกประเทศลาว ส่งผลให้มวลน้ำมหาศาล 5 ล้านลูกบาศก์เมตร  ทะลักท่วมถล่มเมืองสนามไชย แขวงอัตตะปือ ตอนใต้ของประเทศลาวในเวลาต่อมาซึ่งทองลุน สีสุลิด  นายกรัฐมนตรี ของลาว แถลงผ่านโทรทัศน์ว่า เหตุการณ์เขื่อนแตกตั้งแต่ค่ำวันจันทร์ทำให้มีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 26 คน และยังมีคนสูญหาย 131 คน ทั้งหมดเป็นชาวลาว

สำหรับเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ตั้งอยู่ในเขตที่ราบสูงโบโวเลน รอยต่อเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก กับเมืองสะหนามไช แขวงอัตตะปือ เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2556 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2562 มีบริษัทต่างประเทศร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลลาว จำนวน 4 บริษัท คือ
-บริษัท SK Engineering and Construction จำกัด ถือหุ้น 26%
-บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้น 25%
-บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 25%
-บริษัท Lao Holding State Enterprise ถือหุ้น 24%

ขยายความจริง!! เบื้องหลัง"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย"แตก โทษธรรมชาติหรือความผิดพลาดใคร??

ซึ่งจากการสอบถามไปยังดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจโดยเฉพาะประเด็นสาเหตุหลัก ซึ่งอาจารย์ระบุว่าสาเหตุหลักมาจากโครงสร้างทางวิศวกรรมของตัวเขื่อนติดช่องเขา ออกห่างจากน้ำมาเขื่อนเซน้ำน้อย เพราะว่าเขื่อนก็พึ่งสร้างเสร็จไม่นาน และการกักเก็บน้ำก็ยังไม่เต็มความจุที่ได้ออกแบบไว้ 

ทีนิวส์ : นอกจากนี้ที่ดร.ไชยณรงค์โพสต์ไว้ในเฟซบุ๊กมีการตามหา EIA หรือว่าผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตอนนี้เจอหรือยังและเห็นข้อมูลอะไรบ้าง???
 
ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ   :  ข้อมูลตัว EIA ในเว็บไซต์ของบริษัทที่ทำรายงาน EIA หรือบริษัทที่ปรึกษาถูกถอดออกจากเว็บไซต์หลังจากที่เขื่อนแตก ที่นี้ตอนนี้ก็กำลังหาอยู่อาจจะต้องหาจากแหล่งอื่นที่พอที่จะหาได้ ถ้าเราได้ตัว EIA มันก็คงจะชี้ให้เราเห็นว่าได้มีการประเมินความเสี่ยงอย่างไรบ้าง 

 

ขยายความจริง!! เบื้องหลัง"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย"แตก โทษธรรมชาติหรือความผิดพลาดใคร??
ทีนิวส์ : ทางบริษัทเองเขาคิดว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากฝนตกหนัก มุมตรงนี้มีความเกี่ยวข้องไหม ???? 

ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ   :   คิดว่าเรื่องของฝนตกหนักมันไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเขื่อนพัง คือฝนก็ตกทุกที่ ส่วนแรกเขื่อนนี้ก็ยังไม่ได้เปิดใช้งาน ยังไม่ได้ทดลอง จะทดลองปลายปีนี้ และเขื่อนนี้ก็ยังกักเก็บน้ำไม่เต็มความจุและถึงแม้ว่ามีฝนตกหนัก เขื่อนก็ไม่ควรจะพัง ก็ต้องมีการออกแบบไว้ให้เขื่อนมีทางระบายน้ำลดฉุกเฉิน และน้ำที่มันเกินก็ไหลไปทางระบายน้ำลดฉุกเฉินซึ่งจะทำให้เขื่อนไม่พัง ที่นี้เขื่อนพังคาดว่ามาจากเรื่องของปัญหาฐานรากของเขื่อน ปัญหาเรื่องของการบดอัดดิน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นตัวแกนเขื่อน และเรื่องของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างว่าได้มาตรฐานหรือไม่ หรืออาจจะทั้งสามสาเหตุนี้รวมกันเลยก็ได้ คือลักษณะที่พังเป็นเขื่อนที่มีลักษณะอิ่มน้ำ อิ่มน้ำคือน้ำเข้าไปในตัวเขื่อนซึ่งลักษณะแบบนี้มันเป็นเรื่องของตัวโครงสร้างเขื่อน เพราะว่าเขื่อนนี้เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว การที่น้ำเข้าไปขนาดนี้แสดงว่าเรื่องของโครงสร้างทางวิศวกรรมของเขื่อนมีปัญหา 

ทีนิวส์ :  นั้นหมายความว่าเรื่องของการออกแบบทางด้านวิศวกรรมและเรื่องของวัสดุที่เอามาประกิบกันมันไม่ได้มาตรฐาน ???

ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ   :  อาจจะไม่ใช่เรื่องของการออกแบบ เชื่อว่าเขาออกแบบมาเผื่อความปลอดภัยไว้แล้ว แต่เป็นเรื่องของการก่อสร้าง 

ขยายความจริง!! เบื้องหลัง"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย"แตก โทษธรรมชาติหรือความผิดพลาดใคร??


ทีนิวส์ :  ที่อาจารย์โพสต์ไว้ในเฟซบุ๊กที่บอกว่า โครงการเขื่อนเซเปียนเป็นโครงการปราบเซียน จุดไหนที่อาจารย์มองว่ามันเป็นการปราบเซียน??? 

ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ   :  ผมใช้คำว่าท้าทาย เป็นโครงการที่ท้าทายที่สุดในภูมิภาคนี้ อันนี้เป็นคำที่สื่อมวชนนำมาเผยแพร่หลังจากที่บริษัทเอาสื่อมวลชนไปลงพื้นที่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา คือเขามีความภาคภูมิใจมากในแง่ของวิศวกรรมที่สามารถสร้างเขื่อนที่มีความสลับซับซ้อนได้ คือมีหลายอ่างเก็บน้ำและก็สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำนึงไปไว้อีกที่นึง และก็มีการสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ใต้ช่องเขากว่า 13 กิโลเมตร ซึ่งส่วนนี้เขาภูมิใจมากในแง่ของวิศวกรรม ในแง่วิศวกรรมเขาถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะว่ามันเป็นความท้าทาย 

ขยายความจริง!! เบื้องหลัง"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย"แตก โทษธรรมชาติหรือความผิดพลาดใคร??

ทีนิวส์ :  เห็นว่าอาจารย์ได้ติดต่อกับทางด้านนักวิชาการที่อยู่ในประเทศลาว และศึกษา ติดตามเรื่องของโครงการในระยะพอสมควรแล้ว???

ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ   : คือพื้นที่นี้ผมเคยไปลงพื้นที่เมื่อก่อนสร้างเขื่อน โดยเฉพาะในบริเวณชุมชนลำน้ำเซเปียน เคยไปอยู่ที่นั้นซึ่งเข้าไปยากลำบากมาก แต่ว่าเรื่องของการพูดคุยเรื่องเขื่อนในประเทศลาว เป็นเรื่องที่พูดยากมากเพราะเป็นนโยบายขอองรัฐบาลของลาวที่ต้องการสร้างแบตเตอรี่นิวเคลียร์ ตอนนั้นไปก็ทำอะไรไม่ได้

 

ขยายความจริง!! เบื้องหลัง"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย"แตก โทษธรรมชาติหรือความผิดพลาดใคร??  

ทีนิวส์ :   หลังจากนี้เมื่อเกิดเหตุและมีผลกระทบเกิดขึ้นหลังจากนี้วิธีการที่จะหาวิธีการจัดการและป้งอกันไม่ให้มันเกิดขึ้นแบบนี้อีก ต้องดำเนินการอย่างไร ???

ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ   :  คิดว่าการดำเนินการมี 2 ส่วน ส่วนแรกคือส่วนของชุมชนก่อน คิดว่าส่วนของชุมชนตอนนี้ก็ต้องมีการเร่งกู้ภัย ซึ่งก็กำลังทำกันอยู่ และหลังจากนั้นก็ต้องมีการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วย ซึ่งผลกระทบจากเขื่อนพังครั้งนี้ถือว่าเป็นผลกระทบที่ใหญ๋ที่สุดครั้งหนึ่งในประเทศลาว และเห็นว่าผู้ที่ลทุนในเขื่อนนี้ทุกภาคส่วนจะต้องมีการเยียวยาผู้เสียหายโดยรวดเร็วและเร่งด่วน ในส่วนของเขื่อนคิดว่ายังต้องชะลอไปก่อน คือเขาวางแผนว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าให้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ คิดว่าเขื่อนตัวนี้จะต้องมีการสร้างใหม่ส่วนที่พังไป อันนั้นเป็นเรื่องของบริษัท แต่ผมคิดว่าเรื่องของความปลอดภัยของเขื่อนจะต้องมีการทบทวนตรวจสอบใหม่ก่อนและประเมินความเสี่ยงใหม่ด้วย ซึ่งการประเมินความเสี่ยงใหม่จะเป็นการป้องกันในส่วนของเขื่อนเอง แต่ในส่วนของประชาาชนท้ายเขื่อนผมว่าไม่ใช่เฉพาะเขื่อนนี้ แต่ว่าทุกเขื่อนจะต้องทำแผนเผชิญเหตุการณ์เขื่อนวิบัติ ซึ่งเหตุการณ์เขื่อนวิบัตินี้อาจจะมาจากน้ำล้นสัน หรือร้ายแรงที่สุดคือเขื่อนพังอย่างกรณีนี้ จะต้องมีแผนเตรียม ไม่ใข้แค่เตรียมแผนยังต้องมีการซักซ้อมชุมชนที่อยู่ท้ายเขื่อน