เปิดหนังสือด่วน!!"รมว.พลังงานลาว" สั่งตรวจสอบเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ...โยงสาเหตุ"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย" แตก??

ก่อนหน้านั้นสำนักข่าวทีนิวส์ได้นำเสนอข้อสังเกตจากนักวิชาการ หลังจากที่เกิดเหตุเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อยแตกเมื่อค่ำวันจันทร์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำมหาศาล 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลบ่าเข้าท่วมหมู่บ้าน ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยหมู่บ้านหินลาด บ้านใหม่ บ้านสนอง บ้านท่าแสง บ้านท่าหิน บ้านโคกกอง และหมู่บ้านตามแนวลำน้ำเซเปียน เมืองสนามไชย แขวงอัตตะปือ ได้รับผลกระทบส่งผลกระทบต่อประชาชนมากกว่า 6,600 คน เมื่อเกิดเหตุการณ์ได้ก่อให้เกิดการตั้งคำถามถึงกระบวนการก่อสร้างว่าเขื่อนนี้มีปัญหาจริงหรือไม่ ??

ก่อนหน้านั้นสำนักข่าวทีนิวส์ได้นำเสนอข้อสังเกตจากนักวิชาการ หลังจากที่เกิดเหตุเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อยแตกเมื่อค่ำวันจันทร์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำมหาศาล 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลบ่าเข้าท่วมหมู่บ้าน ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยหมู่บ้านหินลาด บ้านใหม่ บ้านสนอง บ้านท่าแสง บ้านท่าหิน บ้านโคกกอง และหมู่บ้านตามแนวลำน้ำเซเปียน เมืองสนามไชย  แขวงอัตตะปือ ได้รับผลกระทบส่งผลกระทบต่อประชาชนมากกว่า 6,600 คน  เมื่อเกิดเหตุการณ์ได้ก่อให้เกิดการตั้งคำถามถึงกระบวนการก่อสร้างว่าเขื่อนนี้มีปัญหาจริงหรือไม่ ??  


ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม : ขยายความจริง!! เบื้องหลัง"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย"แตก โทษธรรมชาติหรือความผิดพลาดใคร?? 
 

เปิดหนังสือด่วน!!"รมว.พลังงานลาว" สั่งตรวจสอบเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ...โยงสาเหตุ"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย" แตก??

 

 

ขณะเดียวกันข้อมูลที่เผยแพร่จากประกาศ ดร.คำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ของลาว  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ (รัฐบาลลาว) สั่งการให้หน่วยงานรัฐและเอกชนทั่วประเทศที่ทำเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ให้เอาใจใส่และบริหารจัดโรงไฟฟ้าพลังน้ำแต่ละแห่ง

 

1.ให้ทุกเขื่อน ทุกโครงการก่อสร้างต้องเพิ่มความเอาใจใส่ติดตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ โดยเฉพาะพายุ ปริมานน้ำฝนตั้งแต่ระดับน้อย ปานกลางและมาก หรือตกหนักติดต่อกันหลายวัน ติดตามสภาพการเพิ่มขึ้น-ลดลงของปริมาณน้ำอยู่หน้าเขื่อนและใต้เขื่อนให้เป็นระบบปกติ เตรียมความพร้อมรับมือกับสภาพและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นให้ทันการ 


2.ให้ทุกเขื่อน ทุกโครงการก่อสร้างต้องรายงานสภาพการกักเก็บ บริหารน้ำ แผนการคุ้มครองการผลิต ติดตามสภาพทางธรณี โครงสร้างของเขื่อน โรงเครื่องจัก สถานีและระบบส่งจ่ายไฟฟ้า องค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ ทุกอาทิตย์ ทั้งนี้ให้สำนักงานกระทรวงส่งรายงานให้คณะกรรมการกระทรวงและสำนักงานนายกรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ 

3.ในกรณีที่หลายเขื่อนร่วมดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ในลำน้ำเดียวกัน ให้แต่ละเขื่อนประสานงานให้ละเอียดอย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับ แผนการกักเก็บและบริหารจัดการน้ำ แผนการคุ้มครองการผลิของแต่ละเขือ่นให้เละเอียด ชัดเจน เพื่อความเป็นเอกภาพ

 4.ในกรณี แต่ละเขื่อนมีแผนที่จะระบายน้ำ ต้องมีระบบแจ้งข่าว โดยร่วมกับอำนาจการปกครองท้องถิ่นแต่ละขั้น เพื่อประกาศให้ประชาชน ชนเผ่าที่อยู่ในบริเวณใต้เขื่อนทราบอย่างทั่วถึง อย่างน้อยล่วงหน้า 7 วัน เพื่อรับประกันไม่ให้มีสภาพแตกตื่น และเกิดความไม่เข้าใจเกี่ยวกับการระบายน้ำ

 5.ให้แต่ละเขื่อนต้องมีแผนละเอียดร่วมกับอำนาจการปกครองท้องถิ่นในแต่ละขั้น เพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นเช่น สถานที่รับประกันความปลอดภัย พาหนะการเคลื่อนย้ายประชาชนไปอยู่ชั่วคราว วัสดุอุปกรณ์ เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายวัตถุสิ่งของและประชาชนไปสู่ที่ปลอดภัย

 

เปิดหนังสือด่วน!!"รมว.พลังงานลาว" สั่งตรวจสอบเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ...โยงสาเหตุ"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย" แตก??

 

เปิดหนังสือด่วน!!"รมว.พลังงานลาว" สั่งตรวจสอบเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ...โยงสาเหตุ"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย" แตก??

เปิดหนังสือด่วน!!"รมว.พลังงานลาว" สั่งตรวจสอบเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ...โยงสาเหตุ"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย" แตก??

 

ก่อนหน้านี้ ดร. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ  อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้โพสต์ข้อมูลสำคัญ รวมไปถึงรูปภาพ ดูกันจะๆ ครับ เขื่อนกั้นหุบเขา Saddle Dam D ที่วิบัติ น่าสังเกตว่าราชบุรีโฮลดิ้งหนึ่งในผู้ถือหุ้นพยายามใช้คำว่า "เขื่อนดินย่อย" ทั้งที่เขื่อนแห่งนี้กว้าง 8 เมตร ยาว 770 เมตร สูง 16 เมตร และมีปริมาตรน้ำไหลออก 600 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นข้อมูลจากราชบุรีโฮลดิ้งเอง

เปิดหนังสือด่วน!!"รมว.พลังงานลาว" สั่งตรวจสอบเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ...โยงสาเหตุ"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย" แตก??

และได้ให้ข้อมูลถึงเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบสูงบอละเวน แขวงอัตตะปือ ห่างจากเมืองปากเซประมาณ 80 กิโลเมตร เขื่อนแห่งนี้กำลังจะเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า  สำหรับผู้พัฒนาโครงการนี้คือ บริษัท ไฟฟ้า เซเปียน-เซน้ำน้อย จำกัด เป็นการร่วมทุนของบริษัทข้ามชาติชั้นนำ 4 แห่ง ประกอบด้วยบริษัท SK Engineering and Construction จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 26 บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 25 บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 25 และ Lao Holding State Enterprise ถือหุ้นร้อยละ 24

โครงการนี้ก่อสร้างบนที่ราบสูงบอละเวน ในแขวงจำปาสักและแขวงอัตตะปือในลาว ใกล้ๆกับชายแดนไทย ห่างจากเมืองปากเซประมาณ 80 กิโลเมตร  เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย เป็นโครงการแบบ BOT (build-operate-transfer) มีกำลังการผลิต 410 เมกะวัตต์ ซึ่งกระแสไฟฟ้า 370 เมกะวัตต์ จะจำหน่ายให้กับ กฟผ. โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 27 ปี ส่วนกำลังการผลิตที่เหลือจะผลิตไฟฟ้าจำหน่ายรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าภายใน สปป. ลาว ซึ่งมีกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2561
เปิดหนังสือด่วน!!"รมว.พลังงานลาว" สั่งตรวจสอบเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ...โยงสาเหตุ"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย" แตก??