จับตารอ ค่ำคืนวันอาสาฬหบูชาต่อเนื่อง ชม 3 ปรากฎการณ์ใหญ่ "จันทร์สีเลือด" ยาวนานสุดในศตวรรษที่ 21

จับตารอ ค่ำคืนวันอาสาฬหบูชาต่อเนื่อง ชม 3 ปรากฎการณ์ใหญ่ "จันทร์สีเลือด" ยาวนานสุดในศตวรรษที่ 21

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชิญชวนคนไทยรอชม 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ก่อนโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 15 ปี ทำให้สว่างมากและมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติ  จันทรุปราคาเต็มดวงนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ตั้งแต่ค่ำวันที่ 27 ถึงรุ่งเช้า 28 กรกฎาคม 2561 โดยจุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่งคือ เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา พร้อมเครือข่ายดาราศาสตร์ 360 แห่งทั่วประเทศ  

 

จับตารอ ค่ำคืนวันอาสาฬหบูชาต่อเนื่อง ชม 3 ปรากฎการณ์ใหญ่ "จันทร์สีเลือด" ยาวนานสุดในศตวรรษที่ 21
 

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า คืนวันที่ 27 กรกฎาคม ถึงรุ่งเช้าวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เป็นคืนที่จะเกิดปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่น่าสนใจถึง 3 ปรากฏการณ์ ได้แก่ 

 

1) ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ที่ระยะห่าง 57.8 ล้านกิโลเมตร เราจะมองเห็นดาวอังคารสีส้มแดงสุกสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และมีขนาดใหญ่กว่าปกติ สามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้ตลอดคืน 

 

2) จันทรุปราคาเต็มดวง ในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 27 กรกฎาคม คราสเต็มดวงกินเวลา 1 ชั่วโมง 43 นาที เวลา 02.30 – 04.13 น. นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 และ 

 

3) ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่าง 406,086 กิโลเมตร ในขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ยังตรงกับช่วงดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดังนั้นในคืนดังกล่าว เราจึงจะเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงในช่วงที่ดวงจันทร์มีขนาดเล็กที่สุดในรอบปี และยังจะเห็น “ดาวอังคารสีแดง เคียงดวงจันทร์สีแดง” อีกด้วย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
 

จับตารอ ค่ำคืนวันอาสาฬหบูชาต่อเนื่อง ชม 3 ปรากฎการณ์ใหญ่ "จันทร์สีเลือด" ยาวนานสุดในศตวรรษที่ 21

 

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง เริ่มหลังจากเที่ยงคืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 เป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ 2 ในรอบปี 2561 คราสเต็มดวง จะพาดผ่านทวีปยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา บางส่วนของทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และขั้วโลกใต้ สำหรับประเทศไทยสามารถสังเกตการณ์ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า

 

ในคืนดังกล่าว สามารถถ่ายภาพปรากฏการณ์ได้ตั้งแต่เริ่มเกิดจันทรุปราคาเงามัว ในเวลา 00.14 น. ก่อนจะเกิดจันทรุปราคาบางส่วนและจันทรุปราคาเต็มดวง ในเวลา 02.30 – 04.13 น. จนกระทั่งสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 05.19 น. หลังจากนั้นดวงจันทร์ตกลับขอบฟ้า จะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ตำแหน่งต่ำกว่าขอบฟ้า

 

 ขอบคุณ : http://www.narit.or.th