ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

นับว่าเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตกประเทศลาว เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมาทำให้มวลน้ำทะลักท่วมถล่มเมืองสนามไชย แขวงอัตตะปือ  ทำให้ส่งผลกระทบส่งผลกระทบต่อประชาชนมากกว่า 6,600 คน เมื่อเกิดเหตุการณ์ได้ก่อให้เกิดการตั้งคำถามถึงกระบวนการก่อสร้างว่าเขื่อนนี้มีปัญหาจริงหรือไม่ ??  ทั้งนี้หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว มีเสียงเรียกร้องงให้เกิดความรับผิดชอบอย่างใหญ่หลวงจากผู้ที่ทำเขื่อน

 

 

ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

 

 

ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

 


ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม :   เปิดหนังสือด่วน!!"รมว.พลังงานลาว" สั่งตรวจสอบเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ...โยงสาเหตุ"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย" แตก??

 

ขณะที่ นายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   กล่าวว่าเหตุที่เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย แตก  ในลุ่มน้ำเป็นการก่อสร้างที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐาน สำหรับปัญหาพื้นฐานนายคำมะนี กล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามสัญญาผู้เกี่ยวข้องต้องใช้ความเสียหายทั้งหมด

 

 

ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

 

 

ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

 

 

ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

 

 

ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

 

สำหรับภารกิจของรัฐบาลในการพัฒนาตลอดทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมุ่งเป้าไปที่จะเรียกคืนชีวิตของผู้คนได้รับผลกระทบจากการระเบิดเขื่อนซึ่งภารกิจครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะระยะที่ 1 ระยะสั้นที่จะช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมและระยะที่ 2 ระยะคือแพทย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ ครัวเรือนสร้างบ้านที่อยู่อาศัยเพื่อให้คนมีพื้นที่ใช้สอย ทั้งนี้ยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวถึงรายละเอียดการชดเชยจำเป็นต้องดูสาเหตุและความเสียหายที่เกิดจากเขื่อนตามสัญญาสัมปทานซึ่งมีรายละเอียดมากในการพิจารณา

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม : ไขข้อสงสัย !?!! แผนEIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย...จริงหรือไม่มีแผนงานทางธรรมชาติ !!! 

 

ไม่เพียงเท่านั้น ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ได้ให้ข้อมูลในการตั้งคำถามว่าใครเป็นใคร? ในโครงการเขื่อนเซน้ำน้อยที่แตก และพวกเขาจะรับผิดชอบต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างไร  โดยระบุว่าเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ตั้งอยู่บนที่ราบสูงบอละเวน แขวงอัตตะปือ ห่างจากเมืองปากเซประมาณ 80 กิโลเมตร เขื่อนแห่งนี้กำลังจะเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เขื่อนปิดช่องเขา(saddle dam) ของโครงการนี้ได้แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา และทำให้ต้องเร่งอพยพคนจำนวนมากในเมืองสนามไซ จนถึงขณะนี้ก็ยังมีคนที่ตกค้างบนหลังคา

 

 

ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

 

 

ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

 

 

ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

 

 

ถึงเวลาต้องชดใช้ !!!! "รมว.พลังงานลาว" ชัดเหตุเขื่อนแตกไม่ได้มาตรฐาน...4บริษัทใครเป็นใครในโครงการ..จะรับผิดชอบอย่างไร

 

 

โครงการนี้ก่อสร้างบนที่ราบสูงบอละเวน ในแขวงจำปาสักและแขวงอัตตะปือในลาว ใกล้ๆกับชายแดนไทย ห่างจากเมืองปากเซประมาณ 80 กิโลเมตร  โครงการนี้ใช้เงินลงทุนโดยการกู้มูลค่า 22,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อร่วม (Syndication loan)ของสถาบันการเงินไทยชั้นนำ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารธนชาต    โครงการเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อยนี้ เป็นโครงการแบบ BOT (build-operate-transfer)มีกำลังการผลิต410 เมกะวัตต์    ซึ่งกระแสไฟฟ้า 370 เมกะวัตต์ จะจำหน่ายให้กับ กฟผ. โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 27 ปี ส่วนกำลังการผลิตที่เหลือจะผลิตไฟฟ้าจำหน่ายรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าภายใน สปป. ลาว ซึ่งมีกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2561


สำหรับเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ตั้งอยู่ในเขตที่ราบสูงโบโวเลน รอยต่อเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก กับเมืองสะหนามไช แขวงอัตตะปือ เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2556 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2562 มีบริษัทต่างประเทศร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลลาว จำนวน 4 บริษัท คือ
-บริษัท SK Engineering and Construction จำกัด ถือหุ้น 26%
-บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้น 25%
-บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 25%
-บริษัท Lao Holding State Enterprise ถือหุ้น 24%

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม : ขยายความจริง!! เบื้องหลัง"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย"แตก โทษธรรมชาติหรือความผิดพลาดใคร??

 

 

อ้างอิง raosukunfung , Chainarong Setthachua