ทำความรู้จัก 14รอยเลื่อนสำคัญทั่วประเทศไทย เปรียบน้ำเขื่อนกระฉอกช่วงแผ่นดินไหวเหมือนขยับอ่างขึ้นลงคลื่นกระทบขอบ ระวังซ้ำรอยเซเปียน เซน้ำน้อย

ทำความรู้จัก 14 รอยเลื่อนสำคัญทั่วประเทศไทย เปรียบน้ำเขื่อนกระฉอกช่วงแผ่นดินไหวเหมือนขยับอ่างขึ้นลงคลื่นกระทบขอบ ระวังซ้ำรอยเซเปียน เซน้ำน้อย

 

        จากกรณีฝนที่ตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศไทยส่งผลให้น้ำเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร และที่อยู่อาศัยของประชาชนเสียหายเป็นวงกว้าง ทั้งยังมีสถานการณ์เขื่อนแตกที่ลาวเป็นตัวอย่างที่ทำให้หลายประเทศรวมทั้งไทยต่างจับตามอง พื้นที่แนวรอบเขื่อนกักเก็บน้ำ อย่างเขื่อนวชิราลงกรณ  ที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย ซึ่งเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ในด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก 

        สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยบริเวณตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ตัวอ่างเก็บน้ำอยู่ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  และ เขื่อนศรีนครินทร์ บนแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี กั้นแม่น้ำแควใหญ่นับเป็นเขื่อนแห่งที่ 8 ในจำนวน 17 แห่ง 

         นับว่าอยู่ในความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งว่าหากเกิดการกระแทกเพียงนิดเดียว อาจกระทบกับผนังเขื่อนทำให้แตกได้ เนื่องจากเขื่อนวชิราลงกรณ  เขื่อนศรีนครินทร์นั้นอยู่ใกล้กับรอยเลื่อนสะแกง ที่อยู่ในประเทศพม่า เป็นรอยเลื่อนตามแนวระดับขนาดใหญ่ ที่มีการเลื่อนไปทางขวา วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ จัดเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง ซึ่งตามแนวรอยเลื่อนสะแกงจะมีรอยเลื่อนขนาดเล็กจำนวนมาก มีการเลื่อนสัมพันธ์กับรอยเลื่อนใหญ่ 
การขยับตัวของกลุ่มรอยเลื่อนเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายให้กับเมืองสำคัญของประเทศพม่าที่ตั้งอยู่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนได้ เช่น เนปิดอ มัณฑะเลย์

 

ทำความรู้จัก 14รอยเลื่อนสำคัญทั่วประเทศไทย เปรียบน้ำเขื่อนกระฉอกช่วงแผ่นดินไหวเหมือนขยับอ่างขึ้นลงคลื่นกระทบขอบ ระวังซ้ำรอยเซเปียน เซน้ำน้อย

 

ทำความรู้จัก 14รอยเลื่อนสำคัญทั่วประเทศไทย เปรียบน้ำเขื่อนกระฉอกช่วงแผ่นดินไหวเหมือนขยับอ่างขึ้นลงคลื่นกระทบขอบ ระวังซ้ำรอยเซเปียน เซน้ำน้อย

   

       หากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2555 นั้น ประเทศพม่าเคยเกิดแผ่นดินไหวใกล้รอยเลื่อนสะแกง ที่ความลึก 10 กิโลเมตร ขนาด Mw6.8 (USGS) รู้สึกสั่นไหวบนตึกสูงในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ และจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้นักธรณีวิทยาเคยเตือนว่าหากเกิดแผ่นดินไหว ขึ้นอีกครั้งอาจกระทบสองเขื่อนวชิราลงกรณ  เขื่อนศรีนครินทร์ จนน้ำท่วมถึงกรุงเทพฯ ได้ 

       ดร.สมิทธ ธรรมสโรช อดีตประธานศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ออกมาเตือนให้หลายฝ่ายระวังถึงเหตุการณ์เขื่อนแตก หวั่นซ้ำรอยเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย  แขวงอัตตะปือ ที่สปป.ลาว เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนที่เพิ่มขึ้น และยังตั้งอยู่ในรอยเลื่อนสะแกง ซึ่งขณะนี้มีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มาจากมหาสมุทรอินเดีย ผ่านเทือกเขาตะนาวศรี  เข้ามาเพิ่มน้ำภาคตะวันออก ภาคกลาง ทำให้ฝนมากทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน ตอนกลาง กรุงเทพฯ ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมในภาคกลาง

      ในปีนี้ (พ.ศ.2561) องค์การต่างประเทศ ได้ออกมาเตือนให้หลายประเทศวางมาตรการรับมือการเปลี่ยนแปลงผันแปรทุกทวีป ทั้งมีฝนมากเกิดแผ่นดินไหว จากการเคลื่อนตัวบรรยายกาศรอบโลกเปลี่ยนแปลงอาจเกิดจากการโคจรดวงดาวต่างๆ เข้ามาใกล้โลกมากขึ้นทำให้ฤดูต่างๆ ผิดแปลกไป มีฝนมากกว่าทุกปี รวมทั้งพายุ ด้านกรมอุตุนิยมวิทยาของไทยได้ออกมาประกาศเตือน ฉบับเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 61 ประเทศไทยยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนัก และฝนตกสะสมที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย  สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

        ทั้งนี้ ดร.สมิทธ ยังออกมาเปิดเผยอีกว่า จากผลกระทบของเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย ที่แตก ใน สปป.ลาว นั้น ทำให้น้ำที่ไหลจากเขื่อนแตกไหลลงมาสมทบกับน้ำในแม่น้ำโขง ส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นไม่หยุด ทำให้ตอนนี้การระบายน้ำทางภาคอีสาน ภาคเหนือ ของไทยลงสู่แม่น้ำโขงเป็นเรื่องยาก เพราะจังหวัดที่ติดต่อประเทศลาว เขมร จะได้รับผลกระทบ แต่สิ่งที่ทำให้ ดร.สมิทธ กลัวนั้นคือน้ำในเขื่อน เวลากระฉอกช่วงเกิดแผ่นดินไหว เหมือนขยับอ่างน้ำขึ้นลง มีคลื่นมากระทบขอบอ่าง ตัวคลื่นกระทบสันเขื่อน ทำให้เขื่อนวชิราลงกรณ  เขื่อนศรีนครินทร์  แตกร้าวได้ จากที่ผนังเขื่อนเคยได้รับผลกระทบมาแล้วในอดีตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่กรุงย่างกุ้ง จึงอยากเตือนให้หลายฝ่ายเตรียมรับมือหากเกิดเรื่องไม่คาดฝัน
แผ่นดินไหวในพม่าตอนใต้ซ้ำ

 

ทำความรู้จัก 14รอยเลื่อนสำคัญทั่วประเทศไทย เปรียบน้ำเขื่อนกระฉอกช่วงแผ่นดินไหวเหมือนขยับอ่างขึ้นลงคลื่นกระทบขอบ ระวังซ้ำรอยเซเปียน เซน้ำน้อย

 

ทำความรู้จัก 14รอยเลื่อนสำคัญทั่วประเทศไทย เปรียบน้ำเขื่อนกระฉอกช่วงแผ่นดินไหวเหมือนขยับอ่างขึ้นลงคลื่นกระทบขอบ ระวังซ้ำรอยเซเปียน เซน้ำน้อย

ทำความรู้จัก 14รอยเลื่อนสำคัญทั่วประเทศไทย เปรียบน้ำเขื่อนกระฉอกช่วงแผ่นดินไหวเหมือนขยับอ่างขึ้นลงคลื่นกระทบขอบ ระวังซ้ำรอยเซเปียน เซน้ำน้อย

        ทั้งนี้ไทยมีรอยเลื่อนสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง 14 รอยเลื่อน โดยกระจายอยู่ 22 จังหวัด ทั่วประเทศไทย ซึ่งไทยเคยเกิดเหตุการณ์รอยเลื่อนขึ้นแล้ว 9 แห่ง ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวอาจสร้างความเสียหายอย่างรุณแรงตามมา โดยรอยเลื่อนทั้ง 14 รอยได้แก่

1. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กิโลเมตร

2. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านอำเภอเทิง อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร       
 
3. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร
 
4. รอยเลื่อนเมย วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ พาดผ่านตั้งต้นจากลำน้ำเมย ชายแดนพม่า ต่อไปยังห้วยแม่ท้อ ลำน้ำปิง จังหวัดตาก ไปถึงจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ และสิ้นสุดที่จังหวัดอุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 250 กิโลเมตร             
 
5. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร          
 
6. รอยเลื่อนเถิน พาดผ่านอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร
 
7. รอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
 
8. รอยเลื่อนปัว พาดผ่านพื้นที่อำเภอสันติสุข อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง และอำเภอทุ่งช้าง ของจังหวัดน่านในแนวเหนือ-ใต้  ด้วยความยาวประมาณ  130 กิโลเมตร    
 
9. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ  150 กิโลเมตร

10. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร

11. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร

12. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร

13. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านพื้นที่ตั้งแต่ จังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบ คีรีขันธ์ และพังงา  มีความยาวประมาณ 270 กิโลเมตร      

14. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา พาดผ่านไปตามทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กิโลเมตร

ทำความรู้จัก 14รอยเลื่อนสำคัญทั่วประเทศไทย เปรียบน้ำเขื่อนกระฉอกช่วงแผ่นดินไหวเหมือนขยับอ่างขึ้นลงคลื่นกระทบขอบ ระวังซ้ำรอยเซเปียน เซน้ำน้อย

 

 

 

ทำความรู้จัก 14รอยเลื่อนสำคัญทั่วประเทศไทย เปรียบน้ำเขื่อนกระฉอกช่วงแผ่นดินไหวเหมือนขยับอ่างขึ้นลงคลื่นกระทบขอบ ระวังซ้ำรอยเซเปียน เซน้ำน้อย