รู้จัก "รถไฟฟ้าสายสีแดง" ก่อนส่งมอบปีหน้า เปิดอีก 10 เส้นทางรถไฟฟ้าหลากสีในอนาคต

รู้จัก "รถไฟฟ้าสายสีแดง" ก่อนส่งมอบปีหน้า เปิดอีก 10 เส้นทางรถไฟฟ้าหลากสีในอนาคต

 

      นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เร่งรัดให้บริษัทมิตซูบิชิ - ฮิตาชิ - สุมิโดโม ที่ประมูลการผลิตรถไฟฟ้าสำเร็จ ในวงเงิน 32,399 ล้านบาท ให้เสร็จทันกำหนดการส่งมอบ ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะส่งมอบได้ตามกำหนดปี 62 จากนั้นจะเริ่มทดสอบ พร้อมเปิดระบบการใช้งานในปี 63 ทั้งนี้ทางรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการ 300,000 ต่อวัน ซึ่งปัจจุบันการก่อสร้างช่วงบางซื่อ - รังสิต คืบหน้า 67 % ส่วนช่วงบางซื่อตลิ่งชัน สร้างเสร็จแล้ว โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เป็นแผนการเดินทางใหม่ของรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มุ่งเน้นเส้นทางในเขตทิศเหนือ - ทิศใต้ , ทิศตะวันตกเฉียงใต้ รองรับผู้ที่อยู่อาศัยแถบชานเมือง

      
      การดำเนินเรื่องระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้นจะใช้ระบบ ETCS และคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ของกสทช. ที่เข้ามาจัดสรรให้จะไม่มีปัญหาแบบระบบของบีทีเอส

     สำหรับรูปแบบของรถไฟฟ้าที่จะใช้งานนั้นเป็นรถไฟแบบวิ่งบนรางขนาด 1 เมตร มีระบบสายส่งไฟเหนือศีรษะ เป็นระบบของทางฮิตาชิที่ออกแบบจากประเทศญี่ปุ่น สามารถวิ่งด้วยความเร็ว 160 กม. / ชม. แต่หากนำเข้ามาใช้บริการจริง จะวิ่งได้ 120 กม. / ชม. ซึ่งขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดงนี้ จะแบ่งตัวขบวนออกเป็น 2 ประเภท  ได้แก่ 4 ตู้ /ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 1,126 คน และ 6 ตู้ / ขบวน รองรับได้ 1,714 คน ซึ่งในตอนนี้ได้จัดเตรียมงบในการบูรณะสายสีแดงช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ที่เสร็จไปก่อนหน้าเมื่อปี 2555 จำนวน 10 - 20 ล้านบาท  โดยทาง ฮิตาชิ รับปากปีหน้ามีการส่งมอบ 
ด้านเรื่องระบบไฟฟ้าจ่ายทดสอบเดินรถ มีแผนพิจารณาจะซื้อไฟฟ้าสำรอง ประมาณ 50  ล้านบาท เป็นไฟฟ้าสำรองเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หากเกิดเรื่องไม่คาดคิดขึ้น

 

รู้จัก "รถไฟฟ้าสายสีแดง" ก่อนส่งมอบปีหน้า เปิดอีก 10 เส้นทางรถไฟฟ้าหลากสีในอนาคต

 

รู้จัก "รถไฟฟ้าสายสีแดง" ก่อนส่งมอบปีหน้า เปิดอีก 10 เส้นทางรถไฟฟ้าหลากสีในอนาคต

รถไฟฟ้าสายสีแดง (ชานเมือง) ธรรมศาสตร์ – บางซื่อ เดินเส้นทางตามสถานีดังนี้

-ศูนย์กลางสถานีบางซื่อ แถวถนนเทอดดำริ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีแดงอ่อน และแอร์พอร์ตลิงก์ จากนั้นมุ่งหน้าสู่ -สถานีจตุจักร บริเวณใกล้กับบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 ผ่าน
-สถานีวัดเสมียนนารี
-สถานีบางเขน ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-สถานีทุ่งสองห้อง ใกล้กองกำกับการสุนัขตำรวจ
-สถานีหลักสี่ เยื้องห้างไอทีสแควร์ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู
-สถานีการเคหะ ใกล้แฟลตการเคหะฯ ดอนเมือง
-สถานีดอนเมือง
-สถานีหลักหก ใกล้หมู่บ้านเมืองเอกและสถานีรังสิต แถวหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี
-สถานีรังสิต
-สถานีคลองหนึ่ง
-สถานี ม.กรุงเทพ
-สถานีเชียงราก
– บางซื่อ – หัวลำโพง
-สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ
-สถานีสามเสน แถวสามเหลี่ยมรถไฟจิตรลดา
-สถานีราชวิถี ซึ่งสามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนได้
-สถานียมราช เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีส้ม
-สถานียศเส เชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส
และสถานีรถไฟหัวลำโพง เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน
– หัวลำโพง – บางบอน
– บางบอน – มหาชัย

ปัจจุบันรถไฟฟ้า ที่สร้างเสร็จแล้วมีด้วยกัน 3 สาย คือ 
1.) รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สร้างเสร็จเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2547  ทั้งนี้ยังต้องรอเปิดส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินที่สามารถเชื่อมต่อสถานนีอื่นได้ง่ายขึ้น
2.) สายท่าอากาศยาน แอร์พอร์ตเรลลิงก์  
3.) สายสีม่วงที่เพิ่งเปิดใช้ในปี 2561 


โดยมีแผนที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่อไปอีก 10 สาย คือ 

สายสีเขียวอ่อนยังไม่มีกำหนด  วิ่งจากตลิ่งชัน – บางหว้า , บางหว้า – วงเวียนใหญ่ , วงเวียนใหญ่ – สะพานตากสิน , สะพานตากสิน – สนามกีฬาแห่งชาติ  , สนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส   
สายสีเขียวเข้มยังไม่มีกำหนด  วิ่งจากลำลูกกา – คูคต  , คูคต – สะพานใหม่ , สะพานใหม่ – หมอชิต ,  หมอชิต – อ่อนนุช , อ่อนนุช – แบริ่ง , อุดมสุข – สุวรรณภูมิ ,  ธนาซิตี้ – วัดศรีวาน้อย
, แบริ่ง – สมุทรปราการ , สมุทรปราการ – บางปู
สายสีส้มคาดเสร็จในปี 2563  วิ่งจากตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย , ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – บางกะปิ  , บางกะปิ – มีนบุรี     
สายสีชมพูคาดเสร็จในปี 2563  วิ่งจากแคราย - ปากเกร็ด ,  ปากเกร็ด – หลักสี่ , หลักสี่ – วงแหวนรอบนอก  , วงแหวนรอบนอก – มีนบุรี            
สายสีเหลืองคาดเสร็จในปี 2563   วิ่งจากจุดเชื่อมต่อแยกรัชดา - ลาดพร้าว , พัฒนาการ – สำโรง        
สายสีเทายังไม่มีกำหนด   วิ่งจากวัชรพล ไป สะพานพระราม 9
สายสีฟ้ายังไม่มีกำหนด วิ่งจากดินแดงไปสาธร
สายสีน้ำตาลยังไม่มีกำหนด  วิ่งจากแครายไปบึงกุ่ม
สายสีแดงเข้มและสายสีแดงอ่อนที่รอผลิตตัวรถไฟฟ้าจากทางญี่ปุ่น วิ่งจาก ธรรมศาสตร์ – บางซื่อ , บางซื่อ – หัวลำโพง , หัวลำโพง – บางบอน , บางบอน – มหาชัย , ศาลายา – ตลิ่งชัน ,  ตลิ่งชัน – บางซื่อ , บางซื่อ – พญาไท - มักกะสัน , มักกะสัน – หัวหมาก  , มักกะสัน – บางบำหรุ

รู้จัก "รถไฟฟ้าสายสีแดง" ก่อนส่งมอบปีหน้า เปิดอีก 10 เส้นทางรถไฟฟ้าหลากสีในอนาคต