ครึ่งปีขัดข้องมากกว่า 35 ครั้ง เปิดสถิติข้อมูล BTSเสียซ้ำซาก

จากกรณีคลิปเหตุการณ์รถไฟฟ้าBTS ประตูเปิดอย่างอัตโนมัติ ของผู้ใช้เฟซบุ๊ก Waragone Suntranurak ที่ได้โพสต์ไว้เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 61 ที่ผ่านมานั้น เป็นที่พูดถึงอย่างมาในโลกออนไลน์ทั้งยังมีการแชร์และถูกตั้งคำถามจากผู้บริโภค

          จากกรณีคลิปเหตุการณ์รถไฟฟ้า BTS ประตูเปิดอย่างอัตโนมัติ ของผู้ใช้เฟซบุ๊ก Waragone Suntranurak ที่ได้โพสต์ไว้เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 61 ที่ผ่านมานั้น เป็นที่พูดถึงอย่างมาในโลกออนไลน์ทั้งยังมีการแชร์และถูกตั้งคำถามจากผู้บริโภคหลายท่านว่า เกิดอะไรขึ้นกับระบบการทำงานของรถไฟฟ้า BTS กันแน่และแนวทางแก้ไขของปัญหาจะเป็นอย่างไรเพราะด้วยเหตุการณ์ลักษณ์นี้เคยเกิดมาแล้วหลายครั้ง และปัญหาการขัดข้องอื่นๆที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปี 61 อีก ถือเป็นโจทย์ยากของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด ที่จะหาทางออกกับปัญหาพร้อมซื้อความเชื่อใจในระบบ
กับประชาชนที่ใช้บริการให้กลับมาดั่งเดิม เพราะถึงแม้ทางรถไฟฟ้า BTS จะออกมาทวิตเตอร์ข้อความชี้แจงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านบัญชีทวิตเตอร์  @BTS_SkyTrain ระบุว่า

 

          "เหตุการณ์ตามคลิป เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (2 ส.ค.) เวลาประมาณ 07.30 น. ขบวนรถหมายเลข 14 เกิดประตูขัดข้อง หลังเคลื่อนออกจากสถานีหมอชิตแล้ว เจ้าหน้าที่ได้หยุดรถ แก้ไขและล็อกประตูทันทีที่สถานีถัดไป คือ สถานีสะพานควาย เวลาที่เกิดเหตุทั้งหมดประมาณ 2 นาที และได้นำรถเข้ามาตรวจสอบซ้ำ และแก้ไข ไม่ให้เกิดปัญหาแบบเดิมอีก โอกาสนี้อยากความกรุณาทุกท่าน โปรดงดพิงประตูขบวนรถไฟฟ้าในทุกการเดินทาง หากพบเหตุผิดปกติใดๆ ขอให้กดปุ่มกระดิ่งแจ้งพนักงานบังคับรถได้ทันที หรือส่งไลน์เลขขบวนรถมาให้แอดมินก็ได้เช่นกัน ยืนยันว่าหากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยแล้ว ไม่มีนิ่งนอนใจ จะดูแลแก้ไขให้ทันที ตรงนี้อยากขออภัยอีกครั้ง" 

 

ครึ่งปีขัดข้องมากกว่า 35 ครั้ง เปิดสถิติข้อมูล BTSเสียซ้ำซาก

ครึ่งปีขัดข้องมากกว่า 35 ครั้ง เปิดสถิติข้อมูล BTSเสียซ้ำซาก

 

ครึ่งปีขัดข้องมากกว่า 35 ครั้ง เปิดสถิติข้อมูล BTSเสียซ้ำซาก

ครึ่งปีขัดข้องมากกว่า 35 ครั้ง เปิดสถิติข้อมูล BTSเสียซ้ำซาก

 

       ถึงจะมีการออกมาชี้แจงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วก็ตามยังไม่สามารถเรียกความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการได้มาพอเท่าที่ควรเพราะสิ่งที่ผู้บริโภคอย่างได้นั้นคือความปลอดภัยและบริการที่คุ้มกับค่าโดยสารที่เสียไป อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้บริการหลายท่านออกมาติดแฮชเท็ก #ยกเลิกสัมปทาน BTS พร้อมเรียกร้องให้ส่งคืนภาครัฐ เรามาดูกันว่าสัปทานของรถไฟฟ้าBTS 
นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน คืออะไร 

1. สัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าที่เอกชนลงทุนเองทั้งหมด ตั้งแต่เส้น หมอชิต ถึง อ่อนนุชและ สนามกีฬาแห่งชาติ ถึง สะพานตากสิน ระยะสัญญาปี 2535 - 2572 


2.สัญญาจ้างรถไฟฟ้า BTS เดินรถให้ กทม. ช่วง อ่อนนุช ถึง แบริ่ง และสะพานสิน ถึง บางหว้า ระยะสัญญาปี 2555 - 2585 

 

        หากจะพิจารณาให้ยกเลิกสัปทานรถไฟฟ้า BTS จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและข้อผิดพลาดต่างๆที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยกเลิกได้ จนกว่าจะสิ้นสุดสัญญาการเดินรถในปี 2585  สิ่งที่กทม. ทำได้คือเปรียบเทียบปรับ รถไฟฟ้า BTS เท่านั้น เนื่องจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานงานบริการ และหากกลับมาถามว่าเหตุการณ์สุ่มเสี่ยงในลักษณะนี้ของรถไฟฟ้า BTS ที่เคยเกิดขึ้นนั้นเรามาย้อนดูเหตุการณ์วันที่ 12 มี.ค 2556  เวลา 09.00 น. รถไฟฟ้า BTS ที่ออกจากสถานีชิดลม เข้าสู่สถานีสยามได้เกิดปัญหาระบบสื่อสารระหว่างห้องควบคุม กับตัวรถขัดข้อง ส่งผลให้รถหยุดวิ่งเปลี่ยนให้เจ้าหน้าที่ปรับระบบจากควบคุมอัตโนมัติ เป็นระบบคนควบคุมแทน แต่ระหว่างเข้าชานชาลารถเกิดจอดไม่ตรงจุดเพราะคนขับกะระยะทางไม่ถูกทำให้ประตูรถไฟฟ้าBTSเปิดนอกชานชาลาเป็นข่าวโด่งดังในตอนนั้น 
 

 

ครึ่งปีขัดข้องมากกว่า 35 ครั้ง เปิดสถิติข้อมูล BTSเสียซ้ำซาก

ทั้งนี้เรามาดูกันว่าในปี 2561 ตั้งแต่ต้นปีนั้นเกิดเหตุการณ์ ขัดข้องอย่างไรบ้าง

เดือนมกราคม เกิดเหตุการณ์ 2 ครั้ง คือ 

12 ม.ค. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีโพธิ์นิมิตร 11 นาที

16 ม.ค. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีบางนา 7 นาที

เดือนกุมภาพันธ์  เกิดเหตุการณ์ 7 ครั้ง

3 ก.พ. – ระบบควบคุมการเดินทางขัดข้องในสายสุขุมวิท 6 นาที

4 ก.พ. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีชิดลม 14 นาที

5 ก.พ. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีสะพานตากสินและสถานีกรุงธนบุรี 26 นาที

6 ก.พ. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีบางหว้า 10 นาที

14 ก.พ. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีบางหว้า 26 นาที

25 ก.พ. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีหมอชิต 19 นาที

26 ก.พ. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีพระโขนง 9 นาที

เดือนมีนาคม เกิดเหตุการณ์ 4 ครั้ง

2 มี.ค. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีเอกมัย 23 นาที

16 มี.ค. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีโพธิ์นิมิตร 33 นาที

18 มี.ค. – จุดสับรางที่สถานีหมอชิตขัดข้อง 17 นาที

30 มี.ค. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 26 นาที

เดือนเมษายน เกิดเหตุการณ์ 3 ครั้ง

4 เม.ย. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่จุดกลับสถานีหมอชิต 11 นาที

12 เม.ย. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีนานา 8 นาที

28 เม.ย. – จุดที่สถานีหมอชิตขัดข้อง 48 นาที

เดือนพฤษภาคม เกิดเหตุการณ์ 3 ครั้ง

1 พ.ค. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีอุดมสุข 8 นาที

11 พ.ค. - ระบบควบคุมการเดินรถในสายสุขุมวิทและสายสีลมขัดข้อง 37 นาที

15 พ.ค. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีบางหว้า 8 นาที

เดือน มิถุนายน เกิดเหตุการณ์  15 ครั้ง

6 มิ.ย. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีชิดลม 10 นาที

12 มิ.ย. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีอ่อนนุช 24 นาที

13 มิ.ย. – ประตูกั้นชานชาลาขัดข้องที่สถานีสยาม 29 นาที

15 มิ.ย. – รถไฟฟ้าขัดข้องระหว่างสถานีพร้อมพงษ์และสถานีอโศก 65 นาที

18 มิ.ย. – เกิดเหตุขัดข้องที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ 13 นาที

22 มิ.ย. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีสำโรง 10 นาที

23 มิ.ย. – รถไฟฟ้าขัดข้องระหว่างสถานีชิดลมและสถานีเพลินจิต 22 นาที

24 มิ.ย. – ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องในตั้งแต่สถานีสยามถึงสถานีสะพานควาย 160 นาที

25 มิ.ย. – ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องที่สถานีสยาม ไม่ระบุเวลาที่ซ่อมแซมเสร็จ

25 มิ.ย. – ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องในสายสุขุมวิทและสายสีลม หลายชั่วโมง มากกว่า 1 ครั้ง

25 มิ.ย. – ขบวนรถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีบางหว้า 12 นาที

26 มิ.ย. – รถไฟฟ้าขัดข้องระหว่างสถานีช่องนนทรีและสถานีสุรศักดิ์ 5 นาที

26 มิ.ย. – ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องในสายสุขุมวิทและสายสีลมหลายชั่วโมง มากกว่า 1 ครั้ง

27 มิ.ย. – ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องในสายสุขุมวิทและสายสีลม หลายชั่วโมง

27 มิ.ย. – รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีเพลินจิต 24 นาที

เดือนสิงหาคม

2 ส.ค. - ประตูรถไฟฟ้าเปิดเองสถานีสะพานควาย

ต้องติดตามดูต่อไปว่าทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัก (มหาชน) จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้อย่างไร

 

ครึ่งปีขัดข้องมากกว่า 35 ครั้ง เปิดสถิติข้อมูล BTSเสียซ้ำซาก