เพชรบุรี หวั่นอ่วมซ้ำ 2 ปีซ้อน เตือน 5 อำเภอรับมือน้ำท่วมท้ายเขื่อนแก่งกระจาน

จากสถานการณ์น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ ซึ่งฝนตกมากในภาคตะวันตก และมีน้ำไหลเข้าเขื่อน 4 เขื่อนมากขึ้น คือ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี เขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

 

          จากสถานการณ์น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ ซึ่งฝนตกมากในภาคตะวันตก และมีน้ำไหลเข้าเขื่อน 4 เขื่อนมากขึ้น คือ เขื่อนศรีนครินทร์

และเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี เขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทำให้  นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประชุมร่วมกับ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี พร้อมตัวแทนจากกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวในพื้นที่ เร่งติดตามสถานการณ์ระบายน้ำเขื่อนแก่งกระจานจ.เพชรบุรี และวันที่ 5 ส.ค. นี้มีการระบายนำออกจากเขื่อนแก่งกระจาน ด้วยน้ำที่ล้นสปิลเวย์หลังจากระดับน้ำเก็บกักสูงถึง 97 % ของความจุอ่าง 

 

      นายสมเกียรติ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า จากอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ส่งผลให้มีน้ำปริมาณมากไหลเข้าเขื่อนแก่ง จนระดับน้ำขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาเพียง 1 วันขึ้นขึ้นมากถึง 150 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อน 690 ล้านลุกบาศก์เมตร คิดเป็น 97 % ของความจุเขื่อน 710 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้า 
24.8 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ระบายออก 9.30 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน คงเหลือพท.รับน้ำอีกประมาณ 40 เซนติเมตร   

 

เพชรบุรี หวั่นอ่วมซ้ำ 2 ปีซ้อน เตือน 5 อำเภอรับมือน้ำท่วมท้ายเขื่อนแก่งกระจาน

 

เพชรบุรี หวั่นอ่วมซ้ำ 2 ปีซ้อน เตือน 5 อำเภอรับมือน้ำท่วมท้ายเขื่อนแก่งกระจาน

 

      เพชรบุรี หวั่นอ่วมซ้ำ 2 ปีซ้อน เตือน 5 อำเภอรับมือน้ำท่วมท้ายเขื่อนแก่งกระจาน

 

     ด้านเจ้าหน้าที่สำนักงานเครื่องกลกรมชลประทาน ระบุว่าจากการสังเกตุสถานการณ์น้ำ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. จะพบว่าน้ำในเขื่อนมีระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น ชั่้วโมงละ 1 เซนติเมตร ในตอนนี้ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 
20 ตัวเพื่อระบายน้ำจากเขื่อน ทั้งนี้การระบายน้ำจะส่งผลโดยตรงต่อผู้อยู่อาศัยท้ายเขื่อนแก่งกระจาน และประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี  ขณะนี้การระบายน้ำยังดำเนิดการตลอด 24 ชั่วโมง เช่นเดียวกับ
กาลักน้ำ ที่เขื่อนแก่งกระจาน ไปพร้อมกัน


         หากย้อนกลับไปจะพบว่าจะหวัดเพชรบุรี นั้นมีภาวะน้ำท่วมติดต่อกันมาถึง 2 ปี ในเดือนพฤศจิกายน 2560 นั้นจังหวังเพชรบุรี ถือเป็นอีกปีหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่จากกรณีฝนตกอย่างต่อเนื่องจากฤทธิ์ของพายุคีโรกี  ส่งผลให้น้ำล้นเอ่อท่วม อำเภอบ้านลาด จนถึง ต.ต้นมะม่วงระดับน้ำสูงถึง 40 - 60 เซนติเมตรทางจังหวังเพชรบุรีต้องเร่งใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำโดยด่วน
 ในตอนนั้น เพราะบ้านลาดถือเป็นเขตเมือง เขตเศรษฐกิจ ซึ่งในปี 61 นี้พื้นที่ 5 อำเภอที่ต้องรับน้ำท่วมนั้นมี  1.อ.บ้านแหลม 2.อ.เมือง  3.อ.บ้านลาด 4.อ.แก่งกระจาน 5.อ.ท่ายาง  บ้านลาดนั้นถือเป็นอำเภอหนึ่งที่ต้องรับน้ำเกือบทุกปี เนื่องจากทั้ง 5 อำเภอนี้ อยู่ท้ายเขื่อนแก่งกระจาน

 

เพชรบุรี หวั่นอ่วมซ้ำ 2 ปีซ้อน เตือน 5 อำเภอรับมือน้ำท่วมท้ายเขื่อนแก่งกระจาน

 

      เขื่อนแก่งกระจาน ถือเป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณเขาเจ้า และเขาไม้รวกประชิดกับ ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ทางด้านเหนือน้ำของเขื่อนเพชรขึ้นไปตามถนน 27 กิโลเมตร สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 58 เมตร ระดับสันเขื่อน 106 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ฐานตอนที่กว้างที่สุด 250 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ   เขื่อนแก่งกระจาน อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 53 กิโลเมตร และห่างจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 3 กิโลเมตร
เดินทางตามเส้นทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน


เขื่อนแก่งกระจานถือเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ประโยชน์ที่ได้จากเขื่อนมีหลายประการดังนี้

 

1.เขื่อนแก่งกระจานสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง


2.สามารถขยายพื้นที่ชลประทานของ โครงการเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน 214,000 ไร่ เพิ่มเป็น 336,000 ไร่ และเพื่อการเกษตร การเพาะปลูกในฤดูแล้งได้ 174,000 ไร่ รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค ตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี จนถึงหัวหินให้หมดไป และช่วยบรรเทาอุทกภัย ในทุ่งเพชรบุรีด้วย


3.เป็นแหล่งส่งเสริมการประมง


4.เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี

 

เพชรบุรี หวั่นอ่วมซ้ำ 2 ปีซ้อน เตือน 5 อำเภอรับมือน้ำท่วมท้ายเขื่อนแก่งกระจาน