สำคัญมาก เปิดกระบวนการน้ำเข้าออก เขื่อนแก่งกระจาน ...อย่าตื่นตระหนกเขื่อนมีความมั่นคง

หลังจากที่ ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ ระบุว่า ด้วยมีฝนตกหนักต่อเนื่องในลุ่มน้ำเพชรบุรีบริเวณเหนือเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ช่ ส่งผลให้มีน้ำไหลหลากเข้าเขื่อนอย่างรวดเร็ว มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับยังมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณน้ำล้นทางระบายน้ำล้นของเขื่อนลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี 

โดยจะเริ่มส่งผลกระทบต่อพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีตั้งแต่ท้ายเขื่อนแก่งกระจานจนถึงเขื่อนเพชรบุรี ประกอบด้วย 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งกระจาน อำเภอบ้านลาด อำเภอท่ายาง อำเภอเมืองฯ และอำเภอบ้านแหลม 


ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม :  ดึงสติคนไทย 11 เขื่อนใหญ่น้ำเพิ่มสูงอย่าวิตก เปรียบเทียบชัดอุทกภัยปี 54 สาเหตุท่วมใหญ่

สำคัญมาก เปิดกระบวนการน้ำเข้าออก เขื่อนแก่งกระจาน ...อย่าตื่นตระหนกเขื่อนมีความมั่นคง

 

ทั้งนี้จากการสอบถามไปยัง ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้ให้ข้อมูลเอาไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เขื่อนแก่งกระจาน ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบโครงสร้างเขื่อนที่ระบุเน้นย้ำว่ายังไงแล้วเขื่อนมีความมั่นคงรวมไปถึงสถานการณ์น้ำไหลเข้าออกในเขื่อนแก่งกระจาน 

ทีนิวส์ : หลายฝ่ายกังวลเรื่องของเขื่อนแก่งกระจาน ?? 

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล : การออกแบบโครงสร้างเขื่อนแก่งกระจานจะมีการคำนวณน้ำเข้าและน้ำออก เพราะฉะนั้นก็จะมีการประเมิณว่าถ้าเกิดว่าเกินจากจำนวนเก็บกักจากการออกแบบ อย่างเช่นเขื่อนแก่งกระจาน ออกแบบไว้ความจุ710 ล้านลบ.ม. ถ้าเกินกว่านี้ก็จะเกินกว่าทางระบายน้ำล้นหรือหรือ สปิลเวย์ (spillway)  

ซึ่งการออกแบบนั้นออกแบบตามหลักวิศวกรรมก็คือจะมีการไหลลงตามลำน้ำเดิมแต่ในการบริหารจัดการก็จะมีโค้งปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ จะมีการควบคุมโดยกราฟ แกนตั้งจะคือปริมาณน้ำที่ไหลเข้า แกนนอนจะเป็นระยะเวลาเป็นเดือนมกราคม-ธันวาคม   เพราะฉะนั้นหากน้ำจะล้น สปิลเวย์ (spillway)หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแจ้งให้กับพี่น้องประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำรับทราบ 

สำคัญมากคือเวลาจะเอาน้ำออกจากอ่างมีอยู่สองรูปแบบด้วยกัน 1.ออกทางระบายน้ำลงลำน้ำเดิม 2.ออกทางระบบส่งน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งจะระบายออกปกติ เน้นย้ำว่ายังไงแล้วเขื่อนมีความมั่นคง
อีกหนึ่งจุดคือระหว่างทางระบายน้ำล้นหรือหรือ สปิลเวย์ (spillway)กับทำนบดินยังต่างกันถึง 7 เมตรตามที่ออกแบบไว้

ทีนิวส์ : การระบายจำเป็นต้องเอาน้ำออกจากเขื่อน ??

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล :  การเร่งระบายน้ำนั้นเร่งระบายมาตั้งแต่เดือนเมษายน  เหตุผลที่ระบายเนื่องจากว่าช่วงที่ผ่านมาทางตะวันตกได้รับอิทธิพลจากลมตจะวันตกเฉียงใต้มีมรสุม  ทำให้เกิดฝนตกจึงต้องเร่งการระบายน้ำได้

ทีนิวส์ :  การระบายน้ำออกจากเขื่อนตอนนี้มีอุปสรรคอยุ่ตรงไหนไหมก่อนที่จะถึงทะเล  ??

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล :  สภาพภูมิประเทศ จากเขื่อนแก่งกระจานระยะทางมาถึงเขื่อนเพชร ประมาณ60กิโลเมตร หากมองจุดนี้ปริมาณยังรับน้ำได้ หากพูดถึงเขื่อนเพชร ตัวนี้จะอัดน้ำเพื่อเข้าสู่ระบบชลประทานซึ่งจะมีคลอง 4 คลองในพื้นที่ชลประทาน มีคลองฝั่งซ้ายคลองสาย 1 - คลองสาย 2 คลองสาย 3  ต่อจากนั้นเราจะบริหารจัดการน้ำโดยเอาน้ำไหนออกทะเล  50 ลบ.ม./วินาที 

อุปสรรคคือหลังจากไหลผ่านไปที่แม่น้ำเพชร70 ลบ.ม./วินาที  ตอนนี้เจออุปสรรคคือทางน้ำแต่ละช่วงจะรับน้ำไม่เท่ากันซึ่งตัวอ.เมืองเพชรบุรี  150 ลบ.ม./นาที  


ทีนิวส์ :  สิ่งที่ประชาชนอยากรู้น้ำจะท่วมไหม ??

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล :  ได้ออกหนังสือเตือนไปแล้วในจังหวัดเพชรบุรี ทางกรมชลประทานเร่งใช้เครื่องผลักดันน้ำ เราจะระบายน้ำจากเขื่อนแก่งกระจาน 200 ลบ.ม. เราสามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะเราระบายน้ำคาดว่าน้ำจะออกจากเขื่อนแก่งกระจาน ผ่านเขื่อนเพชร 200 ลบ.ม. / วินาที เพราะฉะนั้นเราจะมีการระบายน้ำพร่องน้ำเอาไว้ที่เขื่อนเพชร ซึ่งก็จะระบายน้ำเข้าสู่ระบบชลประทานอีก50 ลบ.ม./วินาที  ตรงนี้จึงจะเหลือไปที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีประมาณ 150 ลบ.ม./วินาที และจะทำให้ระบบน้ำมีความสูงกว่าตลิ่งเล็กน้อย 

 

สำคัญมาก เปิดกระบวนการน้ำเข้าออก เขื่อนแก่งกระจาน ...อย่าตื่นตระหนกเขื่อนมีความมั่นคง

 

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม :    เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%