เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2561 นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า คพ. ได้จัดการประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ข้อเสนอแนะเชิงมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะข้ามแดน ณ ห้องประชุมด่านศุลกากรหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยมีสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดหนองคาย ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหนองคาย ด่านศุลกากรหนองคาย สำนักงานขนส่งจังหวัดหนองคาย หน่วยงานในท้องถิ่น และผู้แทนจากกรมควบคุมมลพิษ เข้าร่วมการประชุม ดังกล่าว

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2561 นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า คพ. ได้จัดการประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ข้อเสนอแนะเชิงมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะข้ามแดน ณ ห้องประชุมด่านศุลกากรหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยมีสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดหนองคาย ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหนองคาย ด่านศุลกากรหนองคาย สำนักงานขนส่งจังหวัดหนองคาย หน่วยงานในท้องถิ่น และผู้แทนจากกรมควบคุมมลพิษ เข้าร่วมการประชุม ดังกล่าว

นายเถลิงศักดิ์ กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปัจจุบันส่งผลให้มีปริมาณยานพาหนะบริเวณด่านชายแดนเพิ่มมากขึ้น เกิดการจราจรติดขัด และส่งผลให้เกิดปัญหาการระบายสารมลพิษจากยานพาหนะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จากข้อมูล ในปี 2559 พบว่า ยานพาหนะของประเทศเพื่อนบ้านมีการระบายสารมลพิษทางอากาศเกินเกณฑ์มาตรฐานมากกว่ายานพาหนะของประเทศไทย เนื่องจากมาตรฐานการระบายสารมลพิษจากยานพาหนะและมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศเพื่อนบ้านต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้มาตรฐานการระบายมลพิษจากยานพาหนะEuro4 ในรถยนต์ และมาตรฐาน Euro3 ในรถบรรทุก ดังนั้น กรมควบคุมมลพิษ จึงได้จัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอแนะเชิงมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะข้ามแดน 
 

 

คพ. ถกข้อเสนอแนะเชิงมาตรการ ลดปัญหามลพิษจากยานพาหนะข้ามแดนประเทศเพื่อนบ้าน

 

โดยเสนอมาตรการในการบริหารจัดการและควบคุมปริมาณยานพาหนะข้ามแดน ได้แก่ การบริหารจัดการระบบจราจรในพื้นที่ด่านชายแดน การจัดตั้งจุดตรวจวัดมลพิษจากยานพาหนะข้ามแดน และการจัดตั้งศูนย์เช่ารถ เป็นต้น ส่วนมาตรการระหว่างประเทศ ได้แก่ การผลักดันให้มีการกำหนดมาตรฐานการระบายมลพิษจากยานพาหนะและมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงของอาเซียน

โดยให้การสนับสนุนข้อมูลและแนวทางในการกำหนดมาตรฐานยานพาหนะและเชื้อเพลิงเพื่อเป็นมาตรฐานกลางสำหรับทุกประเทศในอาเซียน ซึ่งการจัดทำ (ร่าง) มาตรการดังกล่าว อยู่ระหว่างการหารือและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ด่านชายแดนมาแล้ว จำนวน 3 ด่านได้แก่ ด่านศุลกากรช่องเม็ก ด่านศุลกากรแม่สาย และด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ซึ่งจากข้อมูลในการติดตามตรวจวัดการระบายมลพิษจากยานพาหนะของทั้ง 3 ด่าน โดยเปรียบเทียบการระบายมลพิษของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2559 ดังนี้

 

คพ. ถกข้อเสนอแนะเชิงมาตรการ ลดปัญหามลพิษจากยานพาหนะข้ามแดนประเทศเพื่อนบ้าน

 

1) ด่านศุลกากรช่องเม็กรถยนต์ไทยระบายมลพิษเกินมาตรฐานร้อยละ 9.8รถยนต์ประเทศเพื่อนบ้านระบายมลพิษเกินมาตรฐานร้อยละ 14.3 
2) ด่านศุลกากรแม่สายรถยนต์ไทยระบายมลพิษเกินมาตรฐานร้อยละ 24 รถยนต์ประเทศเพื่อนบ้านระบายมลพิษเกินมาตรฐานร้อยละ 42.9 
3) ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์รถยนต์ไทยระบายมลพิษเกินมาตรฐานร้อยละ 24.2 รถยนต์ประเทศเพื่อนบ้านระบายมลพิษเกินมาตรฐานร้อยละ 31.5 

คพ. ถกข้อเสนอแนะเชิงมาตรการ ลดปัญหามลพิษจากยานพาหนะข้ามแดนประเทศเพื่อนบ้าน

 

คพ. ถกข้อเสนอแนะเชิงมาตรการ ลดปัญหามลพิษจากยานพาหนะข้ามแดนประเทศเพื่อนบ้าน

 

ซึ่งสรุปได้ว่าการระบายมลพิษจากยานพาหนะของประเทศเพื่อนบ้านสูงกว่าประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ 4.5ร้อยละ 18.9 และร้อยละ 7.3 ตามลำดับ 

นายเถลิงศักดิ์ กล่าวอีกว่า คพ. ได้ลงพื้นที่ตรวจวัดการระบายมลพิษจากยานพาหนะในบริเวณด่านศุลกากรหนองคาย เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของรถยนต์ข้ามแดน และได้เชิญเจ้าหน้าที่จากสถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าร่วมศึกษาดูงาน (on-the-job-training) วิธีการตรวจวัดการระบายมลพิษจากยานพาหนะ ซึ่งเป็นความร่วมมือทวิภาคีของสองประเทศในการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

คพ. ถกข้อเสนอแนะเชิงมาตรการ ลดปัญหามลพิษจากยานพาหนะข้ามแดนประเทศเพื่อนบ้าน

 

คพ. ถกข้อเสนอแนะเชิงมาตรการ ลดปัญหามลพิษจากยานพาหนะข้ามแดนประเทศเพื่อนบ้าน

 

คพ. ถกข้อเสนอแนะเชิงมาตรการ ลดปัญหามลพิษจากยานพาหนะข้ามแดนประเทศเพื่อนบ้าน

 

คพ. ถกข้อเสนอแนะเชิงมาตรการ ลดปัญหามลพิษจากยานพาหนะข้ามแดนประเทศเพื่อนบ้าน