ปรากฎการณ์โลกระทึก ดินโคลนถล่ม สวิตฯ ย้อนดูเหตุการณ์ในไทยเคยเกิดแล้วหนักกว่า คร่าชีวิตหลายร้อย

ปรากฎการณ์โลกระทึก ดินโคลนถล่ม สวิตฯ ย้อนดูเหตุการณ์ในไทยเคยเกิดแล้วหนักกว่า คร่าชีวิตหลายร้อย

Flash Flood คำคุ้นหูที่หลายคนมักจะได้ยินกันบ่อยในช่วงนี้ ด้วยที่ประเทศไทยในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้างและปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่เพิ่มสูงขึ้น โดยคำว่า flash flood หมายถึง น้ำป่า หรือ น้ำท่วมฉับพลันน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่เดิมหลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายไปทำให้การกักน้ำหรือการต้านน้ำน้อยลง 

 

และเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ระทึก ดินโคลนถล่มไหลเป็นธารลงมาจากภูเขาไปตามถนน และมีบางส่วนพุ่งขึ้นอากาศทะลักขึ้นมาบนสะพาน ในหมู่บ้าน "กรุกเนย์" ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ เขตเทศบาลเมืองชาโมซง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้บ้านเรือนและรถยนต์หลายคันเสียหายจากเศษดินและต้นไม้

 

โคลนถล่ม ถือเป็นภัยธรรมชาติ คือ คำเรียกรวมๆ ของการเคลื่อนที่ของมวลสาร (Mass movement หรือ mass-wasting) ซึ่งคือ กระบวนการเคลื่อนตัวของมวลหิน ดินและทรายลงมาตามความลาดชันภายใต้แรงดึงดูดของโลกเป็นหลัก โดยอาจอาศัยตัวกลางระหว่างการพัดพา ยกตัวอย่างเช่น น้ำ, ลมและธารน้ำแข็ง ซึ่งตัวกลางเหล่านี้เป็นตัวช่วยเสริมการย้ายมวล ดังนั้นหากตะกอนอิ่มตัวด้วยน้ำ แรงเสียดทานระหว่างเม็ดตะกอนจะลดลง การย้ายมวลจึงเกิดได้ดีขึ้น

 

ปรากฎการณ์โลกระทึก ดินโคลนถล่ม สวิตฯ ย้อนดูเหตุการณ์ในไทยเคยเกิดแล้วหนักกว่า คร่าชีวิตหลายร้อย
 

ส่วนใหญ่การย้ายมวลที่กล่าวถึงกันบ่อยๆ คือ แผ่นดินเลื่อน (Landslide) หรือดินถล่ม โดยรูปแบบการย้ายมวลมีหลายกระบวนการด้วยกัน มีปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกำหนด
1. ความเร็วของการย้ายมวล
2. ปริมาณน้ำที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
3. ชนิดของสารที่เกิดการย้ายมวล
4. ความลาดชันของพื้นที่

 

การย้ายมวลบางครั้งเกิดขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผลหรือโอกาสการระมัดระวังน้อยมาก โดยส่วนใหญ่การย้ายมวลมักเกิดจากเหตุการณ์ต่อไปนี้เป็นตัวกระตุ้น
1. การสั่นไหวอย่างรุนแรง หรือการเกิดแผ่นดินไหว พลังงานที่เกิดจากแผ่นดินไหวสามารถถ่ายทอดมายังพื้นดิน ทำให้เกิดการเสียสมดุลของพื้นที่ลาดเอียง (Slope failure)

 

2. การเปลี่ยนความลาดชัน หรือ การถอดส่วนค้ำจุน

 

3. การกัดลึก ของลำธารตามตลิ่งหรือการกัดเซาะของคลื่นตามชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะคลื่นลมแรงที่มีความเร็วและความแรงสูงมาก กระแทกกับชายฝั่งจนทำให้เกิดการเสียสมดุลของพื้นที่และเกิดแผ่นดินเลื่อนในที่สุด กรณีพื้นที่หมู่เกาะฮาวายซึ่งร่นเข้าไปในแผ่นดิน เนื่องจากคลื่นกระแทกหินภูเขาไฟที่มีรอยแตกถี่ๆ บริเวณด้านล่างของผา จนเกิดการเลื่อนลง ทำให้หินที่วางตัวอยู่ด้านบนพังตัวลงมา

 

4. ฝนตกหนัก ฝนที่ตกหนักและยาวนานอาจทำให้พื้นดินที่เอียงเทอิ่มตัวด้วยน้ำ และเกิดการเสียสมดุล ด้วยเหตุนี้การย้ายมวลจึงเกิดขึ้นบ่อยในบริเวณที่มีฝนตกชุก

 

5. การระเบิดของภูเขาไฟ เป็นสภาวะหนักที่กระตุ้นให้เกิดแผ่นดินเลื่อนหรือถล่ม ภูเขาไฟชนิดเป็นชั้น มักประกอบด้วยธารหินละลายและเถ้าถ่านไหลที่ยังไม่แข็งตัวและไม่เสถียรจึงอาจก่อให้เกิดการถล่มลงมาได้


อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดินโคลนถล่มที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามที่ปรากฏเป็นข่าวที่เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นและน่ากลัว แต่โชคดีที่ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ในลักษณะนี้เคยเคยเกิดขึ้นแล้วกับประเทศไทย และได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมากอีกด้วย สำนักข่าวทีนิวส์ ได้รวบรวมเหตุการณ์โคลนถล่มรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อครั้งอีดีต ดังนี้


23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน ส่งผลให้มีดินโคลนถล่มในพื้นที่ อ. ลับแล จ. อุตรดิตถ์ เสียชีวิต 87 คน สูญหาย 29 คน

 

11 สิงหาคม พ.ศ. 2544 น้ำป่าโคลนถล่ม ที่ ต. น้ำก้อ ต. น้ำชุน ต. หนองไขว่ ใน อ. หล่มสัก จ. เพชรบูรณ์ บ้านเรือนเสียหาย 515 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 131 คน

 

4 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 น้ำป่าทะลักจากอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ถล่มใส่หลายหมู่บ้านใน อ. วังชิ้น จ. แพร่ มีผู้เสียชีวิต 23 คน สูญหาย 16 ราย บาดเจ็บ 58 ราย

 

ปรากฎการณ์โลกระทึก ดินโคลนถล่ม สวิตฯ ย้อนดูเหตุการณ์ในไทยเคยเกิดแล้วหนักกว่า คร่าชีวิตหลายร้อย

22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ที่ ต. กะทูน อ. พิปูน จ. นครศรีธรรมราช มีผู้เสียชีวิตถึง 700 คน นับว่าเป็นเหตุการณ์โคลนถล่มที่รุนแรงที่สุดของไทย

 

ก่อนวันเกิดเหตุ 3- 4 วันได้เกิดพายุดีเพรสชั่น มีฝนตกปรอยๆ ต่อเนื่องมาหลายวัน ทำให้พื้นดินรวมทั้งเชิงเขาที่ชาวบ้านขึ้นไปปลูกยางพาราบนพื้นที่เดิม ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำตั้งเอียงพอซับน้ำได้ประมาณหนึ่งเท่านั้น เมื่อหมดขีดความสามารถในการอุ้มน้ำ น้ำที่อุ้มไว้อย่างเอียงๆ เต็มที่นอกจากจะทำให้ดินมีน้ำหนักมากขึ้น ยังลดความฝืดของอณูดินเองกับหล่อลื่นรากพืชที่ช่วยกันต้านแรงดึงดูดของโลกไว้ เมื่อมีฝนระลอกใหญ่ตกเพิ่มเติมลงมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531

 

จึงทำให้พื้นที่ที่หมดขีดความสามารถในการอุ้มน้ำส่วนบนบางส่วนพังทลายลงมาในรูปของโคลนถล่มพร้อมกับต้นไม้เดิมและต้นยางพาราไหลทลายทับถมลงมาในลักษณะโดมิโน พื้นที่ลาดชันบางส่วนแม้จะแข็งแรงรับนำหนักตัวเองได้พอควรอยู่ก่อน ย่อมไม่อาจรับน้ำหนักโคลนและท่อนไม้ที่ไหลทะลักที่มีความเร่งเพิ่มยกกำลังสองตามกฎแรงดึงดูดของโลก นอกจากนี้น้ำส่วนบนที่เบากว่ายังยกระดับสูงได้อย่างรวดเร็วภายในเวลานับเป็นเพียงนาทีเท่านั้น บ้านเรือนที่ปกติปลูกสูงพอสมควรก็มักถูกทำลายได้มากมายในพริบตาเช่นกัน

 

ปรากฎการณ์โลกระทึก ดินโคลนถล่ม สวิตฯ ย้อนดูเหตุการณ์ในไทยเคยเกิดแล้วหนักกว่า คร่าชีวิตหลายร้อย

 

เหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวไม่เกิดขึ้นบ่อย แต่เป็นที่ตระหนักกันดีในเชิงอุทกศาสตร์และการป้องกันภัยธรรมชาติ ชาวบ้านและทางราชการที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงจึงให้ความสำคัญน้อย และมักปล่อยให้มีการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เสี่ยงนั้นต่อไปอีกเมื่อเวลาเนิ่นออกไปด้วยเหตุผลทางสังคม กฎหมายที่มีอยู่ก็เพียงเพื่อบรรเทาและให้ความช่วยเหลือในระยะสั้น มิได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายในด้านการตั้งถิ่นฐานระยะยาวบนพื้นที่เสี่ยงไว้

 

อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงสูงมากมายหลายแหล่ง รวมทั้งพื้นที่ที่กรมทรัพยากรธรณีได้ประกาศไว้แล้วจึงไม่ควรละเลยภัยธรรมชาติประเภทโคลนถล่มอีกต่อไป