ถอดรหัสเล่ห์กล บูม จิรัชพิสิษฐ์ กับบิทคอยน์สกุลเงินดิจิตอลเป้าหมายมิจฉาชีพ

จากกรณีนักแสดง - นายแบบค่ายดัง บูม จิรัชพิสิษฐ์ จารวิจิต ถูกเจ้าหน้าที่กองปราบจับกุม บริเวณลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่ง ด้วยข้อหาฟอกเงินที่ใช้กลอุบาย สิ่งล่อใจเป็นบิทคอยน์สกุลเงินดิจิตอล เข้ามาหลอกให้นายอาร์นี  ออตตาวา ซาอ์ริมาอ์ เหยื่อนักลงทุนชาวฟินแลนด์ ร่วมลงทุนด้วย

จากกรณีนักแสดง - นายแบบค่ายดัง บูม จิรัชพิสิษฐ์ จารวิจิต ถูกเจ้าหน้าที่กองปราบจับกุม บริเวณลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่ง ด้วยข้อหาฟอกเงินที่ใช้กลอุบาย สิ่งล่อใจเป็นบิทคอยน์สกุลเงินดิจิตอล เข้ามาหลอกให้นายอาร์นี  ออตตาวา ซาอ์ริมาอ์ เหยื่อนักลงทุนชาวฟินแลนด์ ร่วมลงทุนด้วย และสูบเงินไปร่วม 700 ล้านบาท หลังจากทางเจ้าหน้าที่กองปราบสอบสวนพบว่า มีการทำเป็นขบวนการโดยมี นายปริญญา จารวิจิต พี่ชาย  และ น.ส.สุพิชย์ฌา จารวิจิต พี่สาว ของ บูม จิรัชพิสิษฐ์ จารวิจิต นอกจากนี้ยังเตรียมสอบสวนและพิจารณาออกหมายจับเจ้าพ่อตลาดหุ้นไทย ที่ร่วมขบวนการอีก 4 ราย 

ถอดรหัสเล่ห์กล บูม จิรัชพิสิษฐ์ กับบิทคอยน์สกุลเงินดิจิตอลเป้าหมายมิจฉาชีพ

โดยพฤติกรรมของมิจฉาชีพกลุ่มนี้ จะชักชวนให้เหยื่อเข้ามาประกอบการลงทุนซื้อ - ขาย สกุลเงินดิจิตอล ในชื่อ ดราก้อน คอยน์ (DRG) โดยการซื้อหุ้นของบริษัทดีเอ็นเอ 2002 จำกัด (มหาชน) บูม จิรัชพิสิษฐ์  ได้ อ้างว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้สูง เหยื่อจึงหลงเชื่อโอนเงินร่วมลงทุนโดยการโอนเหรียญบิทคอยน์ (สกุลเงินดิจิตอล) จำนวน 5,564.44650956 เหรียญ คือเป็นเงินไทยประมาณ 797,408ม454.33 ไปยังกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet) ของกลุ่มผู้ต้องหา ที่เปิดบัญชีไว้เพื่อรองรับเงิน หลังจากมิจฉาชีพกลุ่มนี้ได้เงิน จะทำการแปลงบิทคอยน์เป็นเงินสกุลไทย ก่อนจะส่งต่อไปยังอีกบัญชีหนึ่งที่เปิดพักไว้ ตามลำดับ สำหรับ นายอาร์นี  ออตตาวา ซาอ์ริมาอ์ ผู้เป็นเหยื่อมารู้ตัวในตอนหลังว่าไม่ได้รับหุ้นตามที่ตกลง ทั้งยังสืบทราบว่าเงินที่นำไปลงทุน ไม่ได้ส่งไปลงทุนตามที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนแรก จึงเข้าแจ้งความดำเนินคดี

 

ถอดรหัสเล่ห์กล บูม จิรัชพิสิษฐ์ กับบิทคอยน์สกุลเงินดิจิตอลเป้าหมายมิจฉาชีพ

ขณะนี้พนักงานสอบสวนกำลังรวบรวมหลักฐาน คาดว่าจะเอาผิดในฐานความผิดร่วมกันฉ้อโกงอันมีลักษณะเป็นธุระ ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3(18) คือ ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง หรือยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ

 

 

 

หลังจากกรณีของบูม จิรัชพิสิษฐ์ จารวิจิต ถูกเผยแพร่ออกไปได้มีหลายคนสงสัยว่าสกุลเงินดิจิตอลบิตคอยน์ นั้นคืออะไร กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ข้อควรระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่องกลโกงของมิจฉาชีพกลุ่มนี้จะทำได้เช่นไรเพื่อให้รู้ทัน วันนี้ทางสำนักข่าวทีนิวส์ ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับบิตคอยน์ เพื่อเป็นข้อมูลให้จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อกับกลุ่มมิจฉาชีพแนวใหม่ 

บิตคอยน์ ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามาก 1 บิตคอยน์ ตีเป็นเงินไทยค่าสูงถึง  218,264.12 บาท (ราคาวันที่ 10 ส.ค. 61 ) เป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์ ค่าเงินมีการผันผวนสูง ถือเป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้เป็นช่องในการหลอกให้นักลงทุนมาร่วมและทำการฟอกเงิน หลายครั้งที่มีการโจรกรรมขึ้นเนื่องจากไม่มีข้อมูลผู้ใช้ เพราะผู้ถือบิตคอยน์ นั้นไม่จำเป็นต้องแสดงตัวตนจริง
     
บิตคอยน์ถือเป็นเงินตราอิเล็กทรอนิกส์ (Cryptocurrency) สกุลหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีสกลุเงินอื่นๆ อีกมากมายที่ถูกคิดค้นขึ้นมา อาทิ สกุลเงิน Ethereum ที่ใช้ตัวย่อว่า ETH, สกุลเงิน Ripple ที่ใช้ตัวย่อว่า XRP และสกุลเงิน Litecoin ที่ใช้ตัวย่อว่า LTC แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันบิตคอยน์ยังคงเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสูงสุด 

ส่วนกระเป๋าเงินอิเล็กทรนิกส์ นั้นต้องเปิดใช้งานก่อนเพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมไปสู่ระบบการเงิน มีหน้าตาเหมือนแฟลชไดร์ฟและมีแอพคอยเชื่อมต่อไปยังบัญชีที่เก็บบิทคอยน์ ก่อนโอนเงินส่งไปยัง BX แล้วขายออกเป็นบาท ได้กำไร จากนั้นก็โอนเข้าบัญชี เช่น บัญชี ของ บูม จิรัชพิสิษฐ์ จารวิจิต มี 49 บัญชี ในการเก็บเงินจากบิทคอยน์ เพื่อเป็นการกระจายไปยังบัญชีต่างๆ เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่สงสัยว่ามีเงินเข้าออกเป็นจำนวนมาก วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่นิยมของมิจฉาชีพเนื่องจากตรวจสอบยาก

 

ถอดรหัสเล่ห์กล บูม จิรัชพิสิษฐ์ กับบิทคอยน์สกุลเงินดิจิตอลเป้าหมายมิจฉาชีพ

กระเป๋าเงินอิเล็กทรนิกส์

ถอดรหัสเล่ห์กล บูม จิรัชพิสิษฐ์ กับบิทคอยน์สกุลเงินดิจิตอลเป้าหมายมิจฉาชีพ

 

7 ข้อควรรู้ ห่างไกลมิจฉาชีพและการลงทุนอย่างสุจริตหากคิดเล่นบิทคอยน์ 

1. ระมัดระวังการลงทุนที่จำกัดเวลา เหล่ามิจฉาชีพมักจะทำการเสนอข้อเสนอที่ดูดีให้ ซึ่งพร้อมกันนั้นก็จะกดดันเพิ่มด้วยการบอกว่า “เป็นข้อเสนอที่มีในช่วงเวลานี้เท่านั้น” เพื่อไม่ให้สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือรู้สึกถึงความผิดปกติได้ทันเวลา

2. ระมัดระวังการลงทุนที่ดูดีเกินจริงเช่นการซื้อหุ้นในกรณีของบูม จิรัชพิสิษฐ์ เพราะไม่มีการลงทุนใดในโลกนี้ที่ไม่มีความเสี่ยง การบอกว่า “ไม่มีความเสี่ยง” “มีแต่ได้” หรือการเสนอเงินตอบแทนที่สูงผิดปกติ ล้วนแต่เป็นสัญญาณเตือนว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากล

3. เอาใจใส่การลงทุน ดังที่เห็นในกรณีของบูม จิรัชพิสิษฐ์  มิจฉาชีพไม่จำเป็นต้องเสนอผลตอบแทนที่ดูดีเสมอไป เพียงแค่ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือก็มากเพียงพอ จุดสังเกตเดียวที่พอจะเห็นได้ก็คือการจ่ายเงินปันผลที่คงที่และตรงเวลาอย่างผิดธรรมชาติเท่านั้น จำไว้ว่าเงินที่ได้จากการลงทุนจะแปรปรวนตามสภาพตลาดการเงินในขณะนั้น

4. ใส่ใจข้อมูล หากเป็นมิจฉาชีพที่มีฝีมือ การหาข้อมูลอาจจะช่วยไม่ได้มากนัก แต่ก็ยังช่วยลดความเสี่ยงได้มากกว่าการกระโดดเข้าหาโอกาสที่ดูดีทันทีโดยไม่คิดอะไรเลย

5. ลงทุนในหลายธุรกิจ อย่าลงทุนลงในธุรกิจเดียวด้วยเงินทั้งหมด เผื่อเส้นทางสำหรับหนีไว้ด้วยการลงทุนในหลายธุรกิจ และลงทุนในธุรกิจที่ไว้ใจได้ด้วย เพื่อไม่ให้สิ้นเนื้อประดาตัวหากตกเป็นเหยื่อของการต้มตุ๋น

6. ตรวจสอบให้ดีว่าธุรกิจนั้นขายสินค้า หรือให้หาสมาชิกใหม่ หากได้เงินจากการหาดาวน์ไลน์แทนที่จะขายสินค้า แสดงว่านั่นคือการต้มตุ๋นถือเป็นแชร์ลูกโซ่รูปแบบหนึ่งที่หลอกให้หาสมาชิกมาต่อยอดเรื่อยๆ

7. ระวังการเข้าเป็นสมาชิกของการทำธุรกิจใด ๆ การต้มตุ๋นแบบปิรามิดนั้นมักจะคิดค่าเข้าเป็นสมาชิกจำนวนมาก รวมไปถึงค่าฝึกฝนการขาย ค่าชุดเริ่มต้น และค่าสมาชิกรายปี

นี่เป็นตัวอย่างกลโกงเพียงเล็กน้อยที่มิจฉาชีพนำมาหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อ ยังมีกลโกงอีกมากในวงการบิตคอยน์ ที่นักลงทุนต้องเรียนรู้หากต้องการทำรายได้จากบิทคอยน์ จำเป็นที่จะต้องศึกษาเพื่อให้รู้ทันจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อสูญเงินมหาศาล

 

ขอขอบคุณ รู้ทันการต้มตุ๋นทางการ