ถอดความสำคัญผู้ถือบัตรคนจน รัฐบาลแจกเพิ่มเบี้ยคนชรารายได้น้อย สะดวก ง่าย เปลี่ยนเป็นเงินสดได้

   ถือเป็นข่าวดีให้ผู้สูงอายุได้ยิ้มออกกับการเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ 50 - 100 บาทต่อเดือน หลังจากเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2561 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) มีการประชุมกันในเรื่องดังกล่าวจนมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการปรับเบี้ยเพิ่มให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โดยมีเงื่อนไขผู้สูงอายุที่จะได้เงินช่วยเหลือจะต้องเป็น

ถอดความสำคัญผู้ถือบัตรคนจน รัฐบาลแจกเพิ่มเบี้ยคนชรารายได้น้อย สะดวก ง่าย เปลี่ยนเป็นเงินสดได้

 

      ถือเป็นข่าวดีให้ผู้สูงอายุได้ยิ้มออกกับการเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ 50 - 100 บาทต่อเดือน หลังจากเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2561 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) มีการประชุมกันในเรื่องดังกล่าวจนมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการปรับเบี้ยเพิ่มให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โดยมีเงื่อนไขผู้สูงอายุที่จะได้เงินช่วยเหลือจะต้องเป็น ผู้ที่อยู่ในโครงการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 4 ล้านคน ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท จะได้รับเพิ่มเดือนละ 100 บาท จากเดิม 300 บาทเป็น 400 บาท และผู้ที่มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท จะได้รับเพิ่มเดือนละ 50 บาท จากเดิม 200 บาท รวมเป็น 250 บาท

 

ถอดความสำคัญผู้ถือบัตรคนจน รัฐบาลแจกเพิ่มเบี้ยคนชรารายได้น้อย สะดวก ง่าย เปลี่ยนเป็นเงินสดได้

 

     15 ส.ค. 61 ที่โรงแรมตะวันนา พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวในงานคิกออฟ
การจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐว่า จะเริ่มจ่ายเงินให้ทุกวันที่ 15 ของเดือน เริ่มจ่ายครั้งแรกวันที่ 15 ส.ค.2561 ไปจนถึง 15 มี.ค.2562 โดยการจ่ายเงินของเดือน ส.ค. เป็นการจ่ายสมทบย้อนหลังของเดือน ก.ค. และความพิเศษของโครงการนี้ เมื่อที่ประชุมเห็นชอบให้สามารถกดเป็นเงินสดได้ โดยมีข้อแม้ว่าผู้ถือบัตรต้องไปติดต่อยังธนาคารกรุงไทย เพื่อลงทะเบียนกดเงินสดที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารและจะต้องรอให้ยอดเงินสะสมครบ 100 บาท จึงจะสามารถกดได้

 

 

ถอดความสำคัญผู้ถือบัตรคนจน รัฐบาลแจกเพิ่มเบี้ยคนชรารายได้น้อย สะดวก ง่าย เปลี่ยนเป็นเงินสดได้

 

     เงินในส่วนนี้เป็นไปตามมติคณะกรรมการฯ ที่ได้อนุมัติการจ่ายเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่เดือน ก.ค.2561-มี.ค.2562 ส่วนระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จะพิจารณาอัตราการจ่ายตามสถานะการเงินของกองทุนฯ อีกครั้ง แหล่งเงินเข้ากองทุนผู้สูงอายุจะมาจาก 2 แหล่ง คือ 

 

1. กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและยาสูบในอัตรา 2% แต่ไม่เกิน 4,000 ล้านบาทต่อปี 

 

2. ให้ผู้สูงอายุที่ไม่เดือดร้อนทางการเงิน บริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุน ซึ่งผู้สูงอายุที่ถือบัตรฯ จำนวนประมาณ 4 ล้านคน สามารถนำบัตรไปกดเงินสดได้ที่ตู้กดเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขา และกดเงินขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100 บาท หรือนำไปรูดซื้อสินค้าที่ร้านธงฟ้าผ่านแอปพลิเคชันถุงเงิน และเก็บสะสมเงินในบัตรสำหรับใช้ในเดือนต่อไปได้ด้วย


      ทั้งนี้เงินที่เพิ่มให้จำนวน 50 - 100 บาทนั้น ต่างจากเงินในโครงการบัตรสวัสดิการรัฐที่กำหนดแต่เดิมให้ใช้เพียงรูดซื้อสินค้าและบริการเท่านั้น แต่ก่อนจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ และหากไม่ใช้ในเดือนนั้นวงเงินจะถูกตัดทิ้ง ปรับใหม่เป็นให้เงินที่เพิ่มเป็นส่วนต่างจำนวน 50 -100 บาท จะยังคงอยู่ ผู้สูงอายุสามารถกดเงินสดได้ด้วยการใช้เลขรหัสบัตรประชาชน 6 หลัก สุดท้ายบนหน้าบัตร เพื่อทำรายการทอนเงินมาใช้ในครั้งแรก


     การเพิ่มเงินในครั้งนี้ของภาครัฐถือเป็นหนึ่งในโครงการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้สังคมผู้สูงอายุนั้น มีคุณภาพมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยวัดจากเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2560 ทั่วประเทศไทย มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 32,464,906 ล้านคน ทั้งชายหญิง จากจำนวนประชากรในประเทศไทยมีอยู่ที่ประมาณ 66,208,740 คน วัดเมื่อ 9 พฤษภาคม 2561 และจำนวนประชากรผู้สูงอายุหน้าใหม่ที่จะต้องเพิ่มเข้ามาในปี 2561 นี้เอง ถือเป็นเรื่องที่รัฐต้องเข้ามากำหนดสิทธิ์และเบี้ยผู้สูงอายุที่ต้องจ่ายให้มีความชัดเจน สะดวกต่อการใช้จ่ายได้จริงให้มากขึ้น เพื่อให้ประเทศก้าวไปอย่างมีคุณภาพ