เปิดประวัติ 5 มือดี คณะกรรมการ คตช.ชุดใหม่ จับมือต้านทุจริต

 จากกรณีคำสั่ง คสช.ที่ 2/2561 ลงวันที่ 8 มิถุนายน พุทธศักราช 2561 เรื่อง การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)

 

     จากกรณีคำสั่ง คสช.ที่ 2/2561 ลงวันที่ 8 มิถุนายน พุทธศักราช 2561 เรื่อง การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินการในเรื่องการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ปรับเปลี่ยนตำแหน่งโดยให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ขึ้นมาเป็นรองประธานกรรมการโดยปลด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษากรรมการ ซึ่งการแต่งตั้งตำแหน่งใหม่ในครั้งนี้ก็เพื่อให้ พล.อ.ฉัตรชัย แบ่งเบาภาระงานของ พล.อ.ประวิตรเพราะขณะนี้ พล.อ.ประวิตร ต้องรับผิดชอบงานของคณะกรรมการต่างๆ กว่า 50 คณะ จึงต้องมีการแบ่งงานออกมา

 

เปิดประวัติ 5 มือดี คณะกรรมการ คตช.ชุดใหม่ จับมือต้านทุจริต

เปิดประวัติ 5 มือดี คณะกรรมการ คตช.ชุดใหม่ จับมือต้านทุจริต

 

ในวันนี้สำนักข่าวทีนิวส์จึงขอนำเสนอประวัติการทำงานของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริต 5 ท่าน ผู้มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้ได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้นดังต่อไปนี้

เปิดประวัติ 5 มือดี คณะกรรมการ คตช.ชุดใหม่ จับมือต้านทุจริต

 

1. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ไม่เป็นที่น่าแปลกใจเท่าใดนัก หากทราบถึงประวัติและประสบการณ์ในชีวิตการรับราชการของท่าน ด้วยความที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร (ตท.12) และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่น 23 (จปร.23) และดีกรีที่เคยผ่านตำแหน่งคุมกำลังสำคัญในระดับ 5 เสือทบ. คือตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และรองผู้บัญชาการทหารเป็นตำแหน่งสุดท้ายในราชการทหาร พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ จึงได้รับความไว้วางใจจาก พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ในเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 โดย ขณะนั้น พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ได้รับมอบหมายให้ควบคุมสถานีโทรทัศน์ กองทัพบกช่อง 5 และภายหลังการก่อการรัฐประหารก็ทำหน้าที่ควบคุมงานทางด้าน “เศรษฐกิจ” ของ “คสช.” และควบเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2560 อีกด้วย

 

เปิดประวัติ 5 มือดี คณะกรรมการ คตช.ชุดใหม่ จับมือต้านทุจริต

 

2. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หรือ ดร.สมคิด ก่อนที่จะเข้ามามีบทบาทในรัฐบาลของ คสช.นั้น ในอดีตเคยเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้รับการแต่งตั้งจาก พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” กับต่างชาติ แต่ดำรงตำแหน่งได้ไม่นานก็ถูกกดดันจากหลายฝ่าย เนื่องด้วยการรับตำแหน่งสำคัญทางการเมืองทั้งสองรัฐบาลที่มีขั้วอำนาจต่างกัน ทำให้ถูกตั้งข้อครหาวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นาๆ แต่ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ด้วยที่ ดร.สมคิด เรียกได้ว่าผ่านสมรภูมิการเมืองและมีประสบการณ์ทางด้านเศรษฐกิจอย่างโชกโชน ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาล คสช. และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ

 

เปิดประวัติ 5 มือดี คณะกรรมการ คตช.ชุดใหม่ จับมือต้านทุจริต

 

3. นายถวิล เปลี่ยนศรี ก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หรือก่อนเข้าสู่ยุคสมัยของรัฐบาล คสช. ช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลของนายสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียกได้ว่านายถวิลนั้น มีบทบาทสำคัญและเป็นผู้มีส่วนทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี จากเหตุการณ์ที่มีคำสั่งโยกย้ายตำแหน่งนายถวิลตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2554 และนายถวิลได้ไปยื่นคำขอคุ้มครองจากศาลปกครอง จนเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2557 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้นายถวิลกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติตามเดิม และในวันที่ 7 พ.ค. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากสภาพการเป็นนายกรัฐมนตรีในที่สุด เพราะการโยกย้ายตำแหน่งนายถวิล เป็นการก้าวก่ายแทรกแซง อันเป็นการกระทำที่ขาดคุณธรรม และจริยธรรม และภายหลังรัฐประหาร นายถวิล ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

เปิดประวัติ 5 มือดี คณะกรรมการ คตช.ชุดใหม่ จับมือต้านทุจริต

 

4. นายต่อกระกูล ยมนาค หรือ รองศาสตราจารย์ ต่อตระกูล ผู้มีบทบาทในการออกสื่อเพื่อวิพากษ์วิจารณ์เรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะการพยายามรื้อฟื้นคืนความศรัทธาจากประชาชนคืนสู่ รัฐบาล คสช. จากกรณีปมนาฬิกาหรูและแหวนเพชรของพล.อ.ประวิตร วงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ว่าเป็นเรื่องที่ไม่โปร่งใส พร้อมกับการยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาปลด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ออกจากตำแหน่ง คตช. เนื่องจากมีประสบการณ์การทำงานและติดตามเรื่องการคอรัปชั่นมาเป็นเวลากว่า 10 ปี

 

เปิดประวัติ 5 มือดี คณะกรรมการ คตช.ชุดใหม่ จับมือต้านทุจริต

5. พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง หรือบิ๊กจอม จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร 16 (ตท.16) รุ่นเดียวกับ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาธ ผบ.ทบ. และ พล.ร.อ.นริศ ประทุมสุวรรณ ผบ.ทร. การที่ ผบ.เหล่าทัพจบการศึกษามาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นเดียวกัน ดำรงตำแหน่งพร้อมกัน มีให้เห็นไม่บ่อยนักในประวัติศาสตร์กองทัพไทย สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ที่จบการศึกษาจาก ตท.12 กับรุ่นน้อง ตท.16 ที่ได้รับความไว้วางใจให้รับตำแหน่งสำคัญภายในกองทัพ โดยเฉพาะพล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ภายหลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 โดยรัฐบาลคสช. พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรียกได้ว่าทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาล คสช.มาโดยตลอด

แม้รายชื่อแต่งตั้งตำแหน่งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ในครั้งนี้จะไม่มีชื่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าไม่มีการขัดแข้งขัดขาหรือขัดแย้งกันภายใน คสช. อย่างแน่นอน เพราะท้ายที่สุดแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ก็ยังคงมีมือดีและผู้ที่ได้รับความไว้วางใจทำงานให้อย่างใกล้ชิด เพื่อปฏิบัติภารกิจในการขับเคลื่อนประเทศต่อไป