รู้รอบ "เขื่อนแก่งกระจาน" หลังประชาชนหวั่นซ้ำรอย เซเปียน-เซน้ำน้อย เสริมความมั่นใจนักวิชาการยันชัด

จากสถานการณ์น้ำในเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ล้นสปิลเวย์ เป็นเหตุให้มวลน้ำไหลเข้าท่วมบริเวณท้ายเขื่อนแก่งกระจาน ไหลท่วมบ้านเรือนประชาชน รีสอร์ท พื้นที่พืชสวนไร่นา จนตอนนี้น้ำเริ่มเอ่อล้นท่วมเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี อาทิ ถนนพงษ์สุริยา ถนนรอบตลาดสด 18 เมตร

 

      จากสถานการณ์น้ำในเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ล้นสปิลเวย์ เป็นเหตุให้มวลน้ำไหลเข้าท่วมบริเวณท้ายเขื่อนแก่งกระจาน ไหลท่วมบ้านเรือนประชาชน รีสอร์ท พื้นที่พืชสวนไร่นา จนตอนนี้น้ำเริ่มเอ่อล้นท่วมเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี อาทิ ถนนพงษ์สุริยา ถนนรอบตลาดสด 18 เมตร และถนนคนเดิน ข้างจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เริ่มมีปริมาณน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นผิวถนนที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ สูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร และมีแนวโน้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนหลายคนอดกังวลไม่ได้ว่าเมื่อมีน้ำท่วมเป็นเวลานาน ความชื้นจากน้ำอาจกัดเซาะผิวเขื่อนแก่งกระจานจนผุพังได้ 

 

      ทำให้หลายคนกังวลว่าจะซ้ำเติมประชาชน เพราะเคยเกิดเหตุการณ์ก่อนหน้านี้เมื่อไม่นานกับกรณีเขื่อนเซเปียน - เซน้ำน้อย แตกที่สปป.ลาว เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2561 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย สูญหายอย่างน้อย 130 ราย และ 6,600 คนต้องพลัดถิ่น เพียงแค่มีฝนตกอย่างหนักติดต่อกันหลายวันก็ทำให้น้ำฝนกัดเซาะจนเขื่อนพังได้ ปลุกกระแสให้หลายประเทศเร่งตรวจสอบเขื่อนให้ได้มาตราฐานหวั่นเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยขึ้นอีก

 

รู้รอบ "เขื่อนแก่งกระจาน" หลังประชาชนหวั่นซ้ำรอย เซเปียน-เซน้ำน้อย เสริมความมั่นใจนักวิชาการยันชัด

 

รู้รอบ "เขื่อนแก่งกระจาน" หลังประชาชนหวั่นซ้ำรอย เซเปียน-เซน้ำน้อย เสริมความมั่นใจนักวิชาการยันชัด

 

 

       ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2561 รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อ.ภาควิชาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์  ได้ออกมาเปิดเผยถึงกรณีนี้ว่าเขื่อนแก่งกระจานนั้นมีความมั่นคงสูง สามารถรับน้ำได้มากถึงร้อยละ109 แถมตัวเขื่อนยังมีเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อนหรือ Dam Instument ซึ่งสามารถรายงานแรงกดอัด การทรุดตัว หรือการเลื่อนของเขื่อนตลอดเวลา หากเกิดการเลื่อนของพื้นเขื่อนเพียงเล็กน้อย และน้ำในเขื่อนแก่งกระจานมีปริมาณมาก หน่วยงานที่รับผิดชอบจะเข้าไปตรวจสอบเพื่อวัดค่าความเสียหายอยู่ตลอดเวลา หากเกิดความผิดปกติขึ้นจะมีสัญญาณคอยเตือนประชาชนอยู่ถี่ๆ แต่ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณใดบ่งชี้ว่าน้ำในเขื่อนจะเป็นอันตราย จนทำให้เกิดภาวะเขื่อนพิบัติขึ้น 

 

       ทั้งนี้เขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณเขาเข้า และเขาไม้รวกประชิดกับ ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ทางด้านเหนือน้ำ ของเขื่อนเพชรขึ้นไปตามถนน 27 กิโลเมตร สันเขื่อนมีความยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 58 เมตร ระดับสันเขื่อน 106 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ฐานตอนที่กว้างที่สุด 250 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ 

 

รู้รอบ "เขื่อนแก่งกระจาน" หลังประชาชนหวั่นซ้ำรอย เซเปียน-เซน้ำน้อย เสริมความมั่นใจนักวิชาการยันชัด

 

รู้รอบ "เขื่อนแก่งกระจาน" หลังประชาชนหวั่นซ้ำรอย เซเปียน-เซน้ำน้อย เสริมความมั่นใจนักวิชาการยันชัด

 

 

       เขื่อนแก่งกระจาน อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 53 กิโลเมตร และห่างจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 3 กิโลเมตร เดินทางตามเส้นทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งเขื่อนแก่งกระจานเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ประโยชน์ที่ได้จากเขื่อนมีหลายประการ คือ

 

 

 

- เขื่อนแก่งกระจานสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง


- สามารถขยายพื้นที่ชลประทานของ โครงการเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีอยู่ 214,000 ไร่ เพิ่มเป็น 336,000 ไร่ และเพื่อการเกษตร การเพาะปลูกในฤดูแล้งได้ 174,000 ไร่ รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค ตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี จนถึงหัวหินให้หมดไป และช่วยบรรเทาอุทกภัย ในทุ่งเพชรบุรีด้วย


- เป็นแหล่งส่งเสริมการประมง


- เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี

 

     อย่างไรก็ตามด้านกรมชลประทานมีการพร่องน้ำออกจากเขื่อนแก่งกระจานตั้งแต่ต้นฤดูฝนวันที่ 1 พ.ค. 2561 มีน้ำอยู่ 296 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่าง ถือเป็นเกณฑ์ควบคุมน้ำต่ำสุด ก่อนที่ฝนจะตกอย่างต่อเนื่อง จนไหลเข้าเต็มความจุอ่าง ในตอนนี้มีการพร่องน้ำจากเขื่อน ผลักดันให้ไหลลงสู่ทะเล โดยใช้เขื่อนเพชรเป็นเครื่องมือช่วยหน่วงน้ำ สามารถยืดเวลาน้ำท้ายเขื่อนอยู่ในระดับหนึ่ง ก่อนที่ฝนจะตกอีกครั้งจนทำให้การพร่องน้ำมีปัญหา พร่องน้ำได้น้อยกว่าปกติ ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ท้ายเขื่อน แต่ยืนยันว่าเขื่อนแก่งกระจานนั้นยังแข็งแรง ไม่ผุพังอย่างแน่นอน ล่าสุด วันที่ 23 ส.ค. 61 เวลา 01.00-03.00น. ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรฯในเขต อ.เมืองเพชรบุรี ทรงตัวติดต่อกันมา 3 ชั่วโมงอยู่ที่ระดับ 5.61ม.

 

       โดยกรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกมาประกาศเตือน ในช่วง วันที่ 23 - 28 ส.ค. 2561 พื้นที่บริเวณ ภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภาคกลาง  ภาคตะวันออก และภาคใต้ อาจได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่น ซูลิน และพายุไต้ฝุ่น ซีมารอน ที่จะเคลื่อนตัวพัดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน อาจส่งผลให้บริเวณดังกล่าวได้รับผลกระทบ เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและดินโคลนถล่มได้  หากเกิดฝนตกหนักและฝนตกสะสมอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นให้เช็คสภาพอากาศอย่างต่อเนื่องเพราะพายุไต้ฝุ่นซูลิน และพายุไต้ฝุ่นซีมารอน จะเคลื่อนเข้าประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 22 - 23 ส.ค. 2561

 

ขอขอบคุณ ประชาสัมพันธ์ จังหวัดเพชรบุรี ,  ข่าวเพชรบุรี 24ชั่วโมง  , กรมอุตุนิยมวิทยา