ย้อนไทม์ไลน์ 24 ส.ค. สูญสิ้นชายผู้เป็นมรดกแห่งโลกดนตรี "จอห์น เลนนอน" ฆาตกรรมโหดโลกไม่ลืม

ภาพของชายหนุ่มสี่คนที่กำลังเดินเรียงแถวข้ามทางม้าลาย ณ Abbey Road อันเป็นภาพปกแผ่นเสียง

ย้อนไทม์ไลน์ 24 ส.ค. สูญสิ้นชายผู้เป็นมรดกแห่งโลกดนตรี "จอห์น เลนนอน" ฆาตกรรมโหดโลกไม่ลืม

 

    ภาพของชายหนุ่มสี่คนที่กำลังเดินเรียงแถวข้ามทางม้าลาย ณ  Abbey Road  อันเป็นภาพปกแผ่นเสียงอัลบั้มสุดท้ายของวงดนตรีผู้เป็นตำนานบทหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกดนตรี ผู้ขับขานบรรเลงบทเพลงด้วยท่วงทำนองแห่ง ร็อคแอนด์โรล สี่หนุ่มวง "สี่เต่าเธอ" (The Beatles) คงจะน้อยคนนักที่ไม่รู้จักพวกเขา เพราะด้วยดีกรีที่ได้รับการยกย่องกันอย่างกว้างขวางให้พวกเขาเป็นวงร็อคที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดแห่งยุค 1960 - 1970 และได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอดกาล

 

    แต่งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา เพราะในวันที่ 6 มีนาคม 1970 เกิดข่าวช็อคโลกที่ต่างทำให้แฟนเพลงของวง The Beatles ต้องใจหายไปตามกัน เมื่อพวกเขาประกาศยุบวงภายหลังการประกาศถอนตัวออกจากวงของสมาชิกในวงคนหนึ่ง และแยกย้ายไปตามทางของตน ประหนึ่งว่าจะเป็นการส่งต่อไม้ผลัดให้แก่ร็อคแอนด์โรลรุ่นใหม่ เพื่อให้สานต่ออุดมการณ์ทางดนตรีของพวกเขาต่อไป

 

    ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงเลยมาเป็นเวลากว่า 40 ปี แต่ผลงานและความสามารถทางดนตรีของพวกเขาก็ยังคงเป็นมรดกตกทอดมาสู่ยุคปัจจุบันอย่างไม่ต้องสงสัย พวกเขาควรจะเป็นตำนานที่ยังมีชีวิต หากไม่เกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ที่ทำให้โลกได้สูญเสียหนึ่งในมือกีต้าร์ผู้บุกเบิกวง The Beatles จอห์น เลนนอน ผู้ถูกปลิดชีพด้วยกระสุนแห่งมัจจุราชที่แฝงตัวอยู่ในร่างแฟนเพลงผู้ยกย่องเทิดทูนเขาโดยทูตมรณะผู้นี้มีนามว่า มาร์ค แชปแมน

 

ย้อนไทม์ไลน์ 24 ส.ค. สูญสิ้นชายผู้เป็นมรดกแห่งโลกดนตรี "จอห์น เลนนอน" ฆาตกรรมโหดโลกไม่ลืม

 

 

    จอห์น วินสตัน โอะโนะ เลนนอน  (John Winston Ono Lennon) หรือ จอห์น เลนนอน เกิดและเติบโตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ชีวิตของเขานั้นไม่ต่างอะไรกับเด็กคนหนึ่งที่เกิดมาท่ามกลางความขัดแย้งและดิ้นรน ในสภาวะสงคราม

 

    เมื่อก้าวเข้าสู่รั้วโรงเรียน เขาทำผลการเรียนได้ไม่ดีนัก ด้วยผลการเรียนที่ย่ำแย่ของเขานั้นเอง ทำให้เขาถูกล้อและเป็นตัวตลกในห้องเรียน แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ เพราะเขามีพรสวรรค์ด้านศิลปะที่เด่นชัดตั้งแต่ยังเด็ก ด้วยการวาดการ์ตูนลงนิตยสารของโรงเรียน ก้าวเล็กๆ ในชีวิตนักดนตรีของจอห์น เริ่มขึ้นในปี 1956 เมื่อแม่ของเขาซื้อกีต้าร์ตัวแรกให้เป็น รุ่น Gallotone Champion ซึ่งเป็นกีตาร์โปร่ง ราคาถูก ต่อมาเมื่อเขาอายุได้ 16 ปี เขาได้เปิดการแสดงดนตรีครั้งแรกภายในโรงเรียน ภายใต้ชื่อวง ควอร์รี่ แมน (Quarry Man) ซึ่งเป็นวงดนตรีวงแรกของเขา 

ย้อนไทม์ไลน์ 24 ส.ค. สูญสิ้นชายผู้เป็นมรดกแห่งโลกดนตรี "จอห์น เลนนอน" ฆาตกรรมโหดโลกไม่ลืม

 

    ภายหลังได้พบกับ พอล แมกคาร์ตนีย์ พร้อมกับ จอร์จ แฮริสัน ด้วยที่มีความชอบและอุดมการณ์ทางดนตรีตรงกันทั้งสามจึงได้ร่วมงานกัน ในที่สุด วง The Beatles จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ชีวิตรักของจอห์น นั้นไม่ได้สวยงามนักเมื่อเขาหย่ากับภรรยาคนแรก ซินเธีย โพเวลล์ และมีพยานรักด้วยกันหนึ่งคนคือ จูเลียน แต่ด้วยความไม่ลงรอยกันความรักของทั้งสองจึงได้สิ้นสุดลง และจอห์นได้พบกับรักครั้งใหม่กับโยโกะ โอโนะ ในที่สุดปี 1970 เมื่อ The Beatles ประกาศยุบวง แต่จอห์น ก็ยังเลือกเดินในเส้นทางสายดนตรีของเขาต่อไป และประสบความสำเร็จไม่ยากนักด้วยการออกอัลบั้มติดต่อกันถึง 4 อัลบั้ม

 

    คืออัลบั้ม  Imagine ตามด้วย Mind Games, Rock and Roll และ Walls and Bridge ตามลำดับ โดยเพลง "Imagine" นั้นเรียกได้ว่าเป็นบทเพลงที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์แห่งการเรียกร้องสันติภาพ ที่มีเนื้อหาโดยรวมกล่าวถึง การจินตนาการถึงโลกที่ปราศจากการแบ่งแยกเชื้อชาติ ปราศจากการแบ่งแยกทางศาสนาและไร้ซึ่งสงคราม เป็นบทแพงที่สื่อถึงมโนภาพของจอห์นที่มีความหวังว่า โลกจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว

 

 

ย้อนไทม์ไลน์ 24 ส.ค. สูญสิ้นชายผู้เป็นมรดกแห่งโลกดนตรี "จอห์น เลนนอน" ฆาตกรรมโหดโลกไม่ลืม

 

    ชีวิตส่วนตัวของเขากลับไม่ได้ประสบความสำเร็จเฉกเช่น ผลงานทางดนตรี ด้วยปัญหาในครอบครัวส่งผลให้ จอห์น และ โยโกะ ภรรยาของเขา ตัดสินใจแยกทางกันเป็นเวลา 14 เดือน แต่ภายหลังได้รับความกดดันจากสาธารณชน จึงกลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้งและให้กำเนิดบุตรชายในปี 1975 นามว่า ฌอน ส่งผลให้จอห์น ตัดสินใจพักจากอาชีพนักดนตรี เพื่อทำหน้าที่พ่อที่ดี คอยเลี้ยงดูครอบครัวอย่างดีที่สุดเท่าที่ชายคนหนึ่งจะทำได้ 5 ปีต่อมา เขาหวนกลับเส้นทางนักดนตรีอีกครั้ง เขาเขียนงานเพลง Double Fantasy และบันทึกในปีเดียวกันคือปี 1980

 

    แต่แล้วในปี 1980 ควรจะเป็นอีกวันธรรมดาวันหนึ่งในชีวิตศิลปินของจอห์น ในช่วงเช้าที่อากาศดีภายหลังจอห์นไปตัดผมเพื่อเตรียมที่จะถ่ายแบบร่วมกับภรรยาในนิตยสาร The Rolling Stone และเดินทางเพื่อไปให้สัมภาษณ์ ในรายการวิทยุ RKO Radio Special เรื่องการกลับเข้าสู่วงการ ต่อมาในช่วงเย็นจอห์นและภรรยา ที่กำลังเดินทางจากอพาร์ตเมนต์ดาโคตาเพื่อทำการอัดเพลง Walking On Thin Ice ได้มีแฟนเพลงคนหนึ่งนำแผ่นเสียงอัลบั้มล่าสุดของเขาเเพื่อข้ามาขอลายเซ็น ก่อนที่จะแยกย้ายกันไป โดยที่จอห์นไม่รู้เลยว่าในเวลาไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้ ชายผู้นั้นคือผู้ที่จะเป็นผู้ปลิดลมหายใจของเขา มาร์ก เดวิด แชปแมน (Mark David Chapman) ด้วยเหตุผลที่ว่า "ทั้งรัก ทั้งเกลียด" 

 

ย้อนไทม์ไลน์ 24 ส.ค. สูญสิ้นชายผู้เป็นมรดกแห่งโลกดนตรี "จอห์น เลนนอน" ฆาตกรรมโหดโลกไม่ลืม

 

    เมื่อภารกิจประจำวันของจอห์นและภรรยาเสร็จสิ้น ก็ได้เดินทางกลับถึงพาร์ตเมนต์ช่วงประมาณ 4 ทุ่ม ชายเมื่อตอนเย็นก็กลับมาอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้เขาไม่ได้กลับมาพร้อมแผ่นเสียงอีกแผ่นเพื่อจะขอลายเซ็นอย่างใด แต่ในมือของเขากลับถือปืน .38 กำแน่นไว้ในมือเป็นอันบอกได้ว่า คราวมรณะของจอห์นกำลังจะมาเยือนเขาแล้ว แชปแมนลั่นกระสุนไปถึง 5 นัด เข้าที่แผ่นหลังของจอห์น อย่างไม่มีพลาด จอห์นพยายามขัดขืนอย่างสุดกำลังด้วยแรงเฮือกสุดท้ายของเขา เพื่อขอความช่วยเหลือ แต่กระสุนตัดเข้าที่สำคัญ จอห์นเสียเลือดมากจนช็อคและแน่นิ่งไปในที่สุด หนีไม่พ้นเงื้อมมือมัจจุราช จอห์น เลนนอน เสียชีวิตเวลา 23.07 น. ของวันที่ 8 ธ.ค. 1980 ด้วยวัย 40 ปี

 

    อีกหนึ่งเรื่องน่าขนพองสยองเกล้า และชวนขนหัวลุกไปตามกัน คือภายหลังการฆาตกรรมอย่างเลือดเย็นด้วยฝีมือของแชปแมน เขาไม่ได้หนีไปไหนอย่างที่ฆาตกรควรจะทำกัน หากแต่ยังคงป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้น อ่าน The Cather in The Rye นวนิยายของ เจ. ดี. ซาลิงเจอร์ ที่เขาซื้อและพกติดตัวมาตั้งแต่เช้าอย่างสบายอารมณ์ จนกระทั่งตำรวจมาถึงตัวและเข้าจับกุมเขาในที่สุด

    มีบางข้อมูลระบุว่า แชปแมน ฆาตกรผู้มาจากเท็กซัส เป็นแฟนตัวยงของ The Beatles  และมี จอห์น เลนนอน เป็นประหนึ่งไอดอล และศิลปินในดวงใจของเขาแต่มีคำพูดบางคำที่ออกมาจากปากศิลปินที่เขาชื่นชอบและทำให้เขาผิดหวัง เช่นคำพูดของจอห์น ที่กล่าวว่า "เดอะบีทเทิลส์โด่งดังกว่าพระเยซู" ทำผู้เคร่งศาสนนาอย่างแชปแมนรู้สึกผิดหวัง เกิดความเคียดแค้นและตัดสินใจลงมือในที่สุด

 

 

ย้อนไทม์ไลน์ 24 ส.ค. สูญสิ้นชายผู้เป็นมรดกแห่งโลกดนตรี "จอห์น เลนนอน" ฆาตกรรมโหดโลกไม่ลืม

 

    แต่สื่อบางแห่งได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่เปรียบเสมือนฟางเส้นสุดท้ายของแชปแมนคือ หนังสือชีวประวัติของจอห์น เรื่อง “John Lennon: One Day at a Time” ที่เขียนโดยแอนโธนี ฟอว์เซ็ตต์ ที่เนื้อหาในหนังสือมีความตอนหนึ่งที่จอห์น กล่าวถึงความรักและสันติภาพผ่านบทเพลง Imagine แต่แชปแมนกล่าวว่า ในความเป็นจริงชีวิตของจอห์น ไม่ได้เป็นเช่นที่เขาเทศนาในหนังสือแม้แต่น้อย

 

    "เขาบอกให้เราจินตนาการถึงการไม่ครอบครองทรัพย์สมบัติ แต่เขายังมีเงินเป็นล้านๆ ดอลลาร์ มีเรือยอชท์ มีฟาร์ม และบ้านพักตากอากาศและหัวเราะเยาะใส่คนอย่างผมที่เชื่อเรื่องโกหกคำโตนั้นและจ่ายเงินซื้อแผ่นเสียงเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับเขา" เหล่านี้คือคำพูดที่ออกมาจากปากแชปแมนที่กล่าวถึงแรงจูงใจในการก่อเหตุฆาตกรรม

 

    เดวิด แชปแมน เข้าสู่กระบวนการทางกฏหมาย และได้ถูกตัดสินโทษจำคุก 20 ปี ถึงตลอดชีวิต โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องเข้ารับการรักษาสุขภาพทางจิตจวบจนวันนี้เวลาผ่านไป 37 ปี หลายคนอาจลืมเลือนชื่อเขาไปตามกาลเวลา แต่ความพยายามของแชปแมน วัย 63 ปีที่ยังคงอยู่ในคุกยังคงไม่สิ้นสุด เพราะเมื่อปี 2559 เขาได้พยายาม ยื่นคำร้องขอทัณฑ์บนอีกครั้งเป็นครั้งที่ 9 แต่ก็ถูกปฏิเสธเฉกเช่นทุกครั้ง ในการพิจารณาคำร้องขอทัณฑ์บนครั้งก่อนๆ ของแชปแมน เขาได้กล่าวว่า ในตอนแรกมีการพิจารณาว่าจะสังหารเอลิซาเบธ เทย์เลอร์ หรือจอห์นนี่ คาร์สันเอาไว้ก่อน  แต่เปลี่ยนมาเป็นจอห์น เลนนอน เนื่องจากมองว่าอดีตนักร้องนำของเดอะ บีเทิลส์ เป็นเป้าหมายที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า

 

    ส่วนทางทนายความของแชปแมน ก็พยายามต่อสู้ทางคดีให้ไปในทิศทางว่า แชปแมนนั้นมีอาการป่วยทางจิต และในช่วงไม่กี่วันมานี้ โอกาสในการยื่นคำร้องขอทัณฑ์บนของแชปแมนกำลังจะกลับมาอีกครั้ง ท่ามกลาง บรรดาแฟนเพลงของ จอห์น ที่ออกมารวมตัว เพื่อเรียกร้องให้คณะกรรมการที่พิจารณาด้านการอภัยโทษ ไม่ให้เกิดกรณีการอภัยโทษฆาตกรวิปริตผู้นี้ เพราะเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์อันน่าสลดซ้ำขึ้นอีก 

 

    ถึงแม้ว่าเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในครั้งนั้นที่สร้างรอยแผลให้กับแฟนเพลงของจอห์น เลนนอน และความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ต่อวงการดนตรี จะผ่านมาเป็นเวลากว่า 37 ปีแล้ว แต่แน่นอนว่ารอยแผลในจิตใจก็ยังคงไม่จางหายไปไหน ในวันที่โลกไร้ซึ่งร่างและลมหายใจของชายผู้ชื่อ จอห์น เลนนอน แต่ผลงานและบทเพลงที่เขาได้ขับกล่อมบรรเลงจรรโลงโลกจะยังคงอยู่และถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ตลอดไป

 

 

ย้อนไทม์ไลน์ 24 ส.ค. สูญสิ้นชายผู้เป็นมรดกแห่งโลกดนตรี "จอห์น เลนนอน" ฆาตกรรมโหดโลกไม่ลืม