26 ส.ค. วันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สู่รัฐบุรุษ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์”

เนื่องจากวันที่ 26 ส.ค. เป็นวันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 16 ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 3 สมัย ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 รวมเวลา 8 ปี 154 วัน

    เนื่องจากวันที่ 26 ส.ค. เป็นวันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 16 ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 3 สมัย ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 รวมเวลา 8 ปี 154 วัน

 

26 ส.ค. วันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สู่รัฐบุรุษ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์”

   
    ผู้เปี่ยมล้นด้วยอำนาจทางการเมือง หนึ่งเดียวแห่ง ความเป็น "ป๋า" ในกองทัพด้วยบารมีที่ยากจะหาใครเทียบเทียมได้ หนึ่งเดียวที่เป็น รัฐบุรุษ ต้นแบบแห่งคุณงามความดี ผู้ที่ทุกลมหายใจมีแต่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หนึ่งเดียวผู้นั้น คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ก้าวขึ้นสู่ จุดสูงสุดทางการเมือง และการทหาร สร้างคุณูปการให้ประเทศชาติอย่างเหลือคณานัป ด้วยชีวิตและอุดมการณ์แห่งรัฐบรุษ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน ดั่งคำกล่าวที่สะท้อนถึงเจตนารมณ์แรงกล้า ที่เสียสละเพื่อชาติมาโดยตลอด "เกิดมาต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน"

 

ในวันนี้สำนักข่าวทีนิวส์ จะได้พาไปย้อนดูเส้นทางประวัติรัฐบุรุษของไทยกันอีกครั้ง

 

 

26 ส.ค. วันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สู่รัฐบุรุษ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์”

 

    พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. พ.ศ.2463 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ชื่อ “เปรม” นั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุล "ติณสูลานนท์" พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2462 ครั้งวัยเยาว์ ได้มีความฝันว่าอยากเป็นแพทย์เพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น แต่ด้วยการเรียนแพทย์ในสมัยนั้นที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก และอาจเป็นเพราะโชคชะตาฟ้าลิขิตที่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องรับใช้ชาติ  จึงตัดสินใจเบนเข็มชีวิตด้วยการเข้าสู่การเป็นนักเรียนทหารรั้วแดงกำแพงเหลือง

 

 

26 ส.ค. วันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สู่รัฐบุรุษ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์”

 

 

26 ส.ค. วันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สู่รัฐบุรุษ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์”

 

    โรงเรียนนายร้อยเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) แต่ยังไม่ทันได้สำเร็จการศึกษาครบหลักสูตร 5 ปีสงครามอินโดจีนก็ได้ปะทุขึ้น พล.อ.เปรม ขณะนั้น กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 จำต้องออกสู่สมรภูมิรบแรก ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดประจำกองรถรบ เนื่องด้วยฝ่ายกองทัพไทยขาดแคลนกำลังรบ ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดประจำกองรถรบ ทำการรบที่ปอยเปต

 

    และด้วยเหตุที่ พล.อ.เปรม ซึ่งติดพันภารกิจอยู่ท่ามกลางสมรภูมิรบ จึงไม่ได้รับพระราชทานกระบี่จากพระหัตถ์ของพระเจ้าอยู่หัวตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติ หากจะมีก็แต่ผู้บังคับการกรม ติดดาวบนบ่าให้ พร้อมกับจ่ากองร้อยที่โยนกระบี่มาให้กลางสนามรบเพียงเท่านั้น

 

    ก่อนที่ พล.อ.เปรม จะก้าวเข้าสู่เส้นทางรับราชการในเหล่าทหารม้าเต็มตัวนั้น แต่แรกเริ่ม พล.อ.เปรม มิได้มีความตั้งใจที่จะรับราชการในเหล่าทหารม้า แม้แต่น้อย เพราะด้วยในยุคนั้นเป็นยุคเรืองอำนาจของ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นักเรียนทหารส่วนใหญ่จึงมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นทหารเหล่าปืนใหญ่ เช่นเดียวกับจอมพลแปลก อีกทั้งในยุคสมั้ยนั้น ผู้ที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของกองทัพบกในตำแห่งผู้บัญชาการทหารบกนั้น ล้วนเป็นนายทหารที่ต้องมาจากเหล่าราบ และเหล่าปืนใหญ่ แทบทั้งสิ้น

 

 

26 ส.ค. วันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สู่รัฐบุรุษ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์”

 

    หากแต่ใครจะรู้ว่า พล.อ.เปรม นั้นจะเป็นผู้บุกเบิกผลักดันให้ทหารม้าได้เฟื่องฟูอำนาจ ด้วยการได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกคนแรกที่มาจากเหล่าทหารม้าในเวลาต่อมา ประดุจว่าเป็นยุคทองของทหารม้าทำให้พล.อ.เปรม เป็นดั่งพ่อม้าของลูกม้าทุกคน กลายเป็นเป็น "ป๋า" ที่สร้างคุณูปการให้กับกองทัพ ด้วยพระเดชและพระคุณนี้เอง พล.อ.เปรม จึงครองความเป็น "ป๋าเปรม" ที่มากล้นด้วยอำนาจบารมี จวบจนทุกวันนี้

 

    ทางแยกในการเดินทางเข้าสู่ถนนสายการเมือง ของ พล.อ.เปรม ได้เริ่มต้นขึ้น ใน ปี 2502 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ภายหลังเหตุการณ์ รัฐประหาร 20 ต.ค. 2501 จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ และวุฒิสมาชิก ช่วง พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ต่อมาได้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการรัฐประหารครั้งแรก ในเหตุการณ์ยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองนำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ตัดสินใจทำการยึดอำนาจจากเหตุการณ์จราจล 6 ต.ค. 2519 เพราะในขณะนั้น พล.อ.เปรม ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2  คุมกำลังรบหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงถูกใส่ชื่อลงไปอย่างเสียมิได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ พล.อ.เปรมเริ่มเข้ามามีบทบาททั้งด้านการเมืองและการทหารมากขึ้น ส่งผลให้ พล.อ.เปรม ได้ก้าวขึ้นสู่ไลน์ 5 เสือ ทบ. ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

 

 

26 ส.ค. วันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สู่รัฐบุรุษ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์”

 

    ต่อมาเกิดการรัฐประหารขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 20 ต.ค. 2520 เพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งพล.อ.เปรม ก็มีรายชื่อร่วมอยู่ในคณะปฏิรูปการปกครองอีกครั้งเช่นกัน และยังเป็นครั้งที่สำคัญเพราะภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ ส่งผลให้พล.อ.เปรม จำต้องนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ในเวลาต่อมาในเดือน ก.ย.2521 ด้วยอำนาจแฝงทางการเมือง ที่ พล.อ.เปรม มีอย่างล้นเหลือ และบทบาทในกองทัพส่งผลให้ พล.อ.เปรม ขยับจากตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้บัญชาการทหารบกในที่สุด และยังควบเก้าอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี 2522 อีกด้วย

 

    1 ปีต่อมา เส้นทางการเมืองและการทหารของพล.อ.เปรม ก็ได้มาบรรจบกัน เมื่อรัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เกิดปัญหาในการบริหารประเทศทั้งเรื่องการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจจากปัญหาคณะรัฐมนตรีและระบอบรัฐสภา รวมทั้งการเคลื่อนไหวทางการเมืองจากเบื้องหลังของกลุ่มนายทหาร จปร.7 ผู้ที่ใกล้ชิดกับพล.อ.เปรม มาโดยตลอด ส่งผลให้พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ประกาศกลางสภา ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี 

 

    จากนายทหารม้าที่จับพลัดจับผลูเข้าสู่เกมการเมืองอย่างเสียมิได้ ในวันที่ 3 มี.ค. 2523 พล.อ.เปรม ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แต่แล้วในปี 2524 พล.อ.เปรม กลับถูกท้าทายจากนายทหารกลุ่ม จปร.7 ซึ่งในขณะนั้นที่มีความสัมพันธ์เปรียบเสมือนลูกรักของตน ต้องการยึดอำนาจจาก พล.อ.เปรม เสียเอง ด้วยเหตุที่อ้างว่าไม่พอใจจากการที่ พล.อ.เปรม ต่ออายุราชการผู้บัญชาการทหารบกอีกหนึ่งปี ความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อการเริ่มขึ้น ในวันที่ 1 เมษายน 2524 แต่ด้วยชั้นเชิงในการวางหมากเกมการเมืองที่เหนือกว่าของ พล.อ.เปรม ทำให้ แผนการยึดอำนาจของเหล่านายทหารผู้ใกล้ชิดต้องเป็นฝ่ายปราชัยไปในที่สุด จึงเป็นที่มา "กบฏเมษาฮาวาย" จากเหตุการณ์นี้เองที่สะท้อนให้เห็นถึงความจงรักภักดีของพล.อ.เปรม ที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

 

    เพราะเมื่อแผนการของผู้ก่อการรั่วไหล พล.อ.เปรม เกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้น จึงได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เพื่อถวายความปลอดภัย

    ตลอดระยะเวลาที่พล.อ.เปรม ดำรงตำแหน่งสำคัญของประเทศได้สร้างคุณให้แก่ประเทศอย่างเหลือคณานัป เพราะ ช่วงเวลานั้นประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยคุมคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์รอบด้าน รวมถึงผู้มีอิทธิพลภายในประเทศจากการทำธุรกิจผิดกฏหมาย แต่ด้วยความสามารถในการบริหารประเทศและการทหารของ พล.อ.เปรม จึงสามารถนำพาประเทศกลับเข้าสู่ความสงบได้ในที่สุด โดยเฉพาะผลงานสำคัญชิ้นหนึ่ง คือ การผลักดันนโยบาย “การเมืองนำการทหาร” เพื่อยุติการทำสงครามสู้รบ ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กับ ฝ่ายรัฐบาล

 

26 ส.ค. วันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สู่รัฐบุรุษ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์”

 

 

26 ส.ค. วันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สู่รัฐบุรุษ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์”

 

    ผลพวงจากนโยบายดังกล่าว เป็นการให้โอกาสกลุ่มนักศึกษา ที่หนีเข้าป่าภายหลังเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 มีโอกาสหวนมาเดินบนหนทางแห่งสันติภาพได้  อีกทั้งนโยบายดังกล่าว ยังช่วยลด ความขัดแย้งทางการเมือง ณ ช่วงเวลานั้นได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังส่งผลให้รัฐบาลสามารถทุ่มเทกำลัง มาฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้ต่อไป

 

    และแล้วในวันที่ 4 ส.ค. 2531 ในที่สุดพล.อ.เปรม ก็เลือกที่จะวางมือจากการเมือง ถึงแม้จะมีการทาบทามและเสนอให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย แต่ พล.อ.เปรมกลับประกาศว่า "ผมพอแล้ว" เรียกได้ว่าเป็นการ ปิดม่านชีวิตทางการเมืองอย่างสง่างาม ด้วยระยะเวลา 8 ปี 5 เดือนและด้วยคุณงามความดีที่สั่งสมมาโดยตลอดเปรียบเสมือนแสงไฟอันโชติช่วงที่ไม่มีวันมอดดับโดยง่าย พล.อ.เปรม ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรีวันที่ 23 ส.ค. 2531 เพื่อทำหน้าที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาท สู่รัฐบุรุษ วันที่ 29 ส.ค. ปีเดียวกัน และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ประธานองคมนตรีในเวลาต่อมา เมื่อ วันที่ 4 ก.ย. 2541 อันเป็นเกียรติสูงสุดของชีวิต

 

 

26 ส.ค. วันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สู่รัฐบุรุษ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์”

 

    ภายหลังการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย 13 ต.ค. 2559 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จสวรรคต ในวันเดียวกันนั้นเอง พล.อ.เปรม จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนโดยตำแหน่งประธานองคมนตรี เพื่อเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินในพระปรมาภิไธยหรือพระนามาภิไธยพระมหากษัตริย์เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 1 ธ.ค. 2559 รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 49 วัน

 

26 ส.ค. วันคล้ายวันเกิด นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย สู่รัฐบุรุษ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์”

 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก กูคือ ป๋า ข้าชื่อ เปรม : อมตะแห่งป๋าเปรม วาสนา นาน่วม