จาก Part ที่แล้ว ที่ทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้สัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

    จาก Part ที่แล้ว ที่ทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้สัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ Exclusive Interview : เคลียร์ชัดภัยธรรมชาติรอบโลกสะท้อนการจัดการในประเทศ กับ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ (Part 1) 

    ถึงกรณีเกิดภัยพิบัติรอบโลก ซึ่งในบทสัมภาษณ์ครั้งนี้จะพูดถึงประเด็น ภัยธรรมชาติในประเทศไทย โดย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ได้ให้ข้อมูลไว้น่าสนใจดังนี้

 

 

Exclusive Interview : จับตาทิศทางภัยธรรมชาติในประเทศ 10 ปีข้างหน้าเปลี่ยนแปลงแน่ กับ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ (Part 2)

 

ทีนิวส์ : ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันภัยธรรมชาติชนิดใดที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยแล้วถือว่าน่ากลัว และเลวร้ายที่สุด ?

 

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ : จากเหตุการณ์ที่ส่งผลให้ประชาชนเสียชีวิตมากที่สุด คือ เหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 แต่บางคนอาจตั้งคำถามว่าเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 น่าจะสร้างความเสียหายมากกว่า จากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 นั้นถือว่าสร้างความเสียหายไว้มากเช่นกัน แต่เป็นในด้านเศรษฐกิจ เพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมได้รับความเสียหาย เป็นจำนวนมาก แต่ในกรณีนี้เป็นการพูดถึงผู้เสียชีวิต ซึ่งประเมินค่ามิได้ เพราะฉะนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าเหตุการณ์สึนามิ 2547 เป็นภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงและสร้างความสูญเสียมากที่สุด

 

 

Exclusive Interview : จับตาทิศทางภัยธรรมชาติในประเทศ 10 ปีข้างหน้าเปลี่ยนแปลงแน่ กับ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ (Part 2)

 

ทีนิวส์ : สึนามิจะมีโอกาสเกิดขึ้นอีกไหมกับประเทศไทย ถ้ามีจะซ้ำโซนเดิมคืออันดามัน หรืออ่าวไทย?

 

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ : อนาคตมีแน่นอน และยังไม่สามารถตอบได้ว่าเมื่อไร แต่หากเกิดขึ้น มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นบริเวณอันดามันมากกว่า ถึงแม้จะเกิดในอ่าวไทยแต่โอกาสที่ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจะมีน้อยกว่า ด้วยระยะห่างของบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว ประมาณ 2,000 กิโลเมตร ส่งผลให้ความแรงของคลื่นอ่อนกำลังลงยอดสูงสุดของคลื่นจะต่ำลงจนอยู่ที่ประมาณ 1-2 เมตร เท่านั้น แต่หากเป็นกรณีของอันดามันคลื่นอาจสูงกว่า 10-15 เมตร

ทีนิวส์ : และจะสามารถรู้ล่วงหน้าได้ไหม ว่าเมื่อไหร่?

 

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ : หากคิดเป็นวัน ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ยกเว้นเกิดแผ่นดินไหวขึ้นก่อน จึงจะสามารถคาดการณ์โอกาสที่จะเกิดสึนามิล่วงหน้าได้

 

ทีนิวส์ : จากสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ การใช้ชีวิตของคนในประเทศไทย มีโอกาสจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติชนิดใดมากที่สุดในอนาคต

 

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ :  มี 2 อย่าง คือน้ำท่วมและน้ำแล้ง เมื่อเข้าฤดูฝน ฝนตกน้ำจะท่วม และปีหน้าจะเป็นปีที่เกิดเหตุการณ์ เอลนีโญ จะเข้าสู่ปีแห่งความแล้ง ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยประสบภัยแล้งเมื่อปี 2541 ,2542 และ 2558 ส่งผลกระทบถึงขนาดไม่มีน้ำจ่ายใช้ประชาชนใช้และน้ำคลองแห้ง

 

 

Exclusive Interview : จับตาทิศทางภัยธรรมชาติในประเทศ 10 ปีข้างหน้าเปลี่ยนแปลงแน่ กับ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ (Part 2)

 

รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมขาดน้ำ เรียกได้ว่าเป็นภัยทางธรรมชาติที่ประเทศไทยต้องเจอไปตลอด และไม่มีการลดลง ยกเว้นจะมีการเตรียมมาตรการ ที่ใช้เงิน เวลาและความร่วมมือจากภาคประชาชน ซึ่งต้องวางแผนเป็นขั้นตอนระยะยาว เนื่องจากต้องใช้งบประมาณที่สูง

 

ทีนิวส์ : ประชาชนต้องให้ความร่วมมืออย่างไรบ้าง

 

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ : กรณีแรกคือภัยแล้ง ซึ่งเป็นภัยที่เกิดบ่อยกว่าน้ำท่วม คาดการณ์ได้ว่า 10 ปีข้างหน้า จะเกิดภัยแล้งสัก 3 ครั้ง น้ำท่วม 1 ครั้ง จากการสำรวจพบว่า ภาคเกษตรใช้น้ำสูงที่สุดจากค่าเฉลี่ยภาพรวมในประเทศ ยกเว้นภาคตะวันออกที่มีโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นภาคเกษตรจึงควร ทบทวนว่า ในยามที่ขาดแคลนน้ำจะปลูกผลผลิตอะไรทดแทนได้บ้างที่คุ้มค่ากับรายได้และการลงทุน และภาครัฐควรจะสอดส่องดูแลควบคู่ไปด้วย มิใช่มุ่นเน้นให้เกษตรกรปลูกข้าวเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียว 

 

โดยเฉลี่ยเกษตรกรมีพื้นที่ในการเพาะปลูกประมาณคนละ 20 ไร่ ซึ่งแทบไม่มีทางที่จะมีฐานะที่ดีขึ้นได้ หากคำนวณคร่าวๆ จากต้นทุน 4,000 - 5,000 บาท 1 ไร่ ขายข้าวได้ 6,000 เท่ากับว่าได้กำไร 2,000 ต่อ 1 ไร่ เมื่อนำมาคูณ 20 ไร่ จะได้เท่ากับเงินประมาณ 40,000 บาท เหล่านี้คือข้อเท็จจริง ดังนั้นรัฐจึงควรวางแผนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเพาะปลูกของเกษตรให้มีความหลากหลายมากขึ้น

 

 

Exclusive Interview : จับตาทิศทางภัยธรรมชาติในประเทศ 10 ปีข้างหน้าเปลี่ยนแปลงแน่ กับ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ (Part 2)

 

การปลูกข้าวแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องนัก เพราะข้าวต้องการปริมาณน้ำที่มาก ดังนั้นจึงควรหาผลผลิตประเภทอื่นที่สามารถทนแล้งและต้องการปริมาณน้ำที่น้อยกว่า และคุ้มค่ากับการลงทุน องค์ความรู้จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงวิธีที่จะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งดีกว่าที่จะแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ เช่น การปล่อยเงินกู้ อย่างที่ภาครัฐทำอยู่ทุกวันนี้

 

ส่วนในเรื่องน้ำท่วม ภาครัฐก็ควรต้องสร้างความเข้าใจกับภาคประชาชนเช่นกัน ว่ามีปัจจัยมาจากอะไรบ้าง เช่น ฝนตก หรือสภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลให้มีความชื้นเพิ่มมากขึ้น และต้องมีการคุยกันอย่างจริงจิง ว่าเมื่อฝนตกมามากแล้ว ปริมาณน้ำจะไปอยู่ที่ไหนได้บ้าง เช่น หากปริมาณน้ำมากในพื้นที่ภาคเกษตรรัฐอาจแนะนำเกษตรกรว่า หยุดทำการเพาะปลูกก่อน

 

 

Exclusive Interview : จับตาทิศทางภัยธรรมชาติในประเทศ 10 ปีข้างหน้าเปลี่ยนแปลงแน่ กับ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ (Part 2)

 

ส่วนนิคมอุตสาหกรรมซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ปล่อยให้น้ำท่วมไม่ได้ ต้องถูกเก็บภาษีมากขึ้น เพื่อที่รัฐจะได้นำไปจ่ายเป็นค่าเยียวยาให้ภาคเกษตรต่อไป เห็นได้ชัดจากกรณีจังหวัดเพชรบุรี ที่น้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนเหนือเขื่อน แต่ในเมืองกลับท่วมเพียง 20-30% เท่านั้น นำมาซึ่งความขัดแย้งขึ้น และกดดันให้มีการปล่อยน้ำลงมาท่วมในเมืองมากขึ้น การขอความร่วมมือจึงเป็นเรื่องสำคัญ และควรคุยในยามปกติ ไม่ใช่คุยในยามเกิดเหตุ

ทีนิวส์ : จากกรณีน้ำท่วมจังหวัดเพชรบุรี เกิดมาจากภัยธรรมชาติ หรือการจัดการ ?

 

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ : คิดว่ามาจากการจัดการ จากฝนที่ตกลงมาปริมาณมาก เหตุใดจึงปล่อยให้น้ำในเขื่อนเต็ม เพราะต่างทราบกันดีอยู่แล้วว่า หากมีน้ำเต็มเขื่อนเมื่อใด ย่อมควบคุมไม่ได้อีกทั้งยังปล่อยให้เต็มตอนช่วงใกล้ๆ ฝน ซึ่งยังต้องรับมือกับฝนอีกถึง 2 เดือน แสดงให้เห็นว่าหลังจากนี้ต่อไป จะทำอย่างไรเพื่อให้เขื่อนเร่งระบายน้ำได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก

 

สำหรับเขื่อนขนาดใหญ่เช่นเขื่อนแก่งกระจาน จะเห็นได้ว่าภายหลังที่เขื่อนมีน้ำเต็มมามากกว่า 1 เดือน หมายความว่าความเครียดที่ประชาชนต้องเผชิญ 1 เดือนเช่นกัน และยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อ ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดทุกสัปดาห์

 

 

Exclusive Interview : จับตาทิศทางภัยธรรมชาติในประเทศ 10 ปีข้างหน้าเปลี่ยนแปลงแน่ กับ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ (Part 2)