ดับความเชื่อผิดๆ บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยเลิกบุหรี่ปกติได้ ซ้ำอันตรายกว่าที่คิด

  หากเอ่ยถึงบุหรี่ไฟฟ้าหลายคนคงรู้จัก เพราะในสมัยนี้มีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายในหมู่วัยรุ่น และยังหาซื้อได้ง่าย มีกลิ่นหลากหลายยั่วยวนนักสูบหน้าใหม่ให้เข้ามาทดลอง จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้ามาควบคุมการซื้อขายมากขึ้นเนื่องจากมีผลการวิจัยจากหลายสถาบันระบุว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

 

    หากเอ่ยถึงบุหรี่ไฟฟ้าหลายคนคงรู้จัก เพราะในสมัยนี้มีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายในหมู่วัยรุ่น และยังหาซื้อได้ง่าย มีกลิ่นหลากหลายยั่วยวนนักสูบหน้าใหม่ให้เข้ามาทดลอง จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้ามาควบคุมการซื้อขายมากขึ้นเนื่องจากมีผลการวิจัยจากหลายสถาบันระบุว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นเสี่ยงอันตรายมากกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดามวนต่อมวนหลายเท่าตัว  นักสูบหลายคนจะชอบอ้างว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วบุหรี่ไฟฟ้ามีส่วนผสมสำคัญ คือ นิโคตินและสารให้กลิ่น ผู้เชี่ยวชาญบางท่านกล่าวอ้างว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้คนไข้เลิกบุหรี่ได้ถึง 81 เปอร์เซ็นต์ แต่แน่นอนว่า แพทย์จากหลายสำนักออกมาโต้แย้งกับคำกล่าวอ้างดังกล่าว


 
     ทั้งนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดมองว่านิโคตินเหลวที่บรรจุอยู่ภายในนั้นมีผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ หลอดเลือดในร่างกายจะบีบตัว เลือดจึงส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ อวัยวะขาดออกซิเจนรวมไปถึงมีผลเสียต่อการผ่าตัดเนื่องจากแผลจะติดเชื้อง่ายขึ้น และอีกสารพัดอันตรายมาพร้อมตัวบุหรี่ไฟฟ้า

 

       ล่าสุด 24 ส.ค. 2561 ผศ.นพ.ครรชิต ลิขิตธนสมบัติ นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยงานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัย UCSF ประเทศสหรัฐอเมริกาตีพิมพ์ในวารสาร the American Journal of Preventive Medicine เมื่อ 22 สิงหาคม 2561 จากกลุ่มประชากรตัวอย่าง 69,452 คนในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2014 - 2016 มาวิเคราะห์ถึงกลุ่มตัวอย่าง

 

ดับความเชื่อผิดๆ บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยเลิกบุหรี่ปกติได้ ซ้ำอันตรายกว่าที่คิด

 

 

 

      ระหว่างผู้สูบบุหรี่ธรรมดาและผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า ใครเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมากว่ากัน จากผลสำรวจพบว่าอัตราเสี่ยงของผู้สูบบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้า ที่มีภาวะหัวใจวายเพิ่มสูงเป็น 5 เท่า หากยิ่งมีโรคความดันสูง , โรคเบาหวาน , ภาวะไขมันในเลือดสูง ยิ่งมีความเสี่ยงอันตรายทวีคูณ 


  
     ศ.ดร.สแตนตัน กลานซ์ (Stanton Glantz) ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมยาสูบและผู้อำนวยการสถาบัน UCSF Center for Tobacco Control 
Research and Education หนึ่งในทีมวิจัย เปิดเผยว่า มีหลายคนเข้าใจว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ลดลงนั้นเป็นความเชื่อที่ผิดพอๆกับความเชื่อที่ว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าสามารถทำให้เลิกบุหรี่ได้ เพราะผู้ที่เลือกมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทนบุหรี่ธรรมดานั้นคิดว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีปริมาณสารก่อมะเร็งที่ต่ำกว่าบุหรี่ธรรมดา แต่หารู้ไม่ว่านั้นคือความคิดที่ผิด

 

     ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุชัดว่า ควันหรือไอจากบุหรี่ไฟฟ้าสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ เพราะมีสารฟอร์มาลดีไฮด์ สูงถึง 15 เท่าของบุหรี่ทั่วๆ ไป ซึ่งสารเหล่านี้ต่างส่งผลเสี่ยงต่อโรคหัวใจและปอดทั้งสิ้นถือว่าอันตรายกว่าบุหรี่ธรรมดา

ดับความเชื่อผิดๆ บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยเลิกบุหรี่ปกติได้ ซ้ำอันตรายกว่าที่คิด

 

 

       อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ พญ.ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เคยออกมากล่าวว่า จากผลสำรวจการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทย อายุ 13-15 ปี ในพ.ศ. 2558 สำรวจพบว่า เยาวชนชายสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 4.7 และเยาวชนหญิงสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง ร้อยละ 1.9 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยเหตุนี้รัฐบาลปัจจุบัน จึงมีนโยบายให้กระทรวงพาณิชย์ ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้บารากู่ บารากู่ไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2557 ซึ่งหากมีผู้ฝ่าฝืนนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามายังประเทศไทย จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบสินค้าเหล่านั้นรวมถึงพาหนะที่ใช้บรรทุกสินค้านั้นด้วย

 

      นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 9/2558 ห้ามขาย และห้ามให้บริการบารากู่ บารากู่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า และตัวยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 กรณีพบผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้ขายหรือให้บริการเป็นผู้ผลิต ผู้สั่งนำเข้ามาขาย ต้องรับโทษเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

 

      ในขณะที่ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกถึง 55 ประเทศ มีกฎหมายห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศของตน 17 ประเทศ ที่กำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และอีก 26 ประเทศกำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้ประเทศสิงคโปร์  ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการรณรงค์อย่างจริงจังนับตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งผู้ที่มีการขายบุหรี่ไฟฟ้า ทางการสิงคโปร์ ได้ดำเนินคดีไปแล้ว 8 ราย มีการนำเข้าจัดจำหน่าย หรือขายบุหรี่ไฟฟ้าในสิงคโปร์ มีโทษปรับเป็นเงินสูงถึง10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์คิดเป็นเงินไทย 2.5แสนบาท ทั้งนี้ประเทศสิงคโปร์ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการซื้อขายบุหรี่ในสารบบที่แพงสุดของโลก โดยบุหรี่ยี่ห้อมาร์โบโรหนึ่งซองมีราคาราว 13 ดอลลาร์สิงคโปร์หรือประมาณ 329 บาท

 

ขอบคุณข้อมูลจาก sanook , honestdocs