รู้เท่าทันก่อนจะสาย ภัยเงียบ "โรคลำไส้กลืนกัน"

ทารกช่วงขวบปีแรกนั้น เป็นวัยที่ยังไม่สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน ดังนั้นการแสดงออกถึงความเจ็บปวดและผิดปกติของเด็กในวัยนี้ จึงเป็นเพียงการร้องไห้ตามสัญชาติญาณความอยู่รอด

รู้เท่าทันก่อนจะสาย ภัยเงียบ "โรคลำไส้กลืนกัน"

 

    ทารกช่วงขวบปีแรกนั้น เป็นวัยที่ยังไม่สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน ดังนั้นการแสดงออกถึงความเจ็บปวดและผิดปกติของเด็กในวัยนี้ จึงเป็นเพียงการร้องไห้ตามสัญชาติญาณความอยู่รอดเพื่อให้คนใกล้ตัวของเขานั้นเอะใจ ที่เหล่าผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการให้ดี โดยเฉพาะความผิดปกติภายในร่างกายของบุตรหลานของท่าน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก แต่จงอย่าชะล่าใจเพราะมีโรคชนิดหนึ่ง เป็นภัยร้ายที่สามารถคร่าชีวิตเด็กในวัยนี้ได้ไม่ยากนักและที่สำคัญมักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีร่างกายแข็งแรง ชื่อของโรคนี้คือ โรคลำไส้กลืนกัน (Intussusception)

 

    จากกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Rachatanawee Juljuewong โพสต์ข้อความเพื่อบอกเล่าประสบการณ์ ของลูกน้อยป่วยเป็นโรคลำไส้กลืนกันซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะถ้าลำไส้กลืนกันอยู่เป็นเวลานานจะเกิดภาวะ ลำไส้ขาดเลือดจนเกิดการเน่า เพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนให้เหล่าผู้ปกครองตระหนักถึงอันตรายของโรคนี้

 

 

รู้เท่าทันก่อนจะสาย ภัยเงียบ "โรคลำไส้กลืนกัน"

 

 

รู้เท่าทันก่อนจะสาย ภัยเงียบ "โรคลำไส้กลืนกัน"

 

 

รู้เท่าทันก่อนจะสาย ภัยเงียบ "โรคลำไส้กลืนกัน"

 

 

รู้เท่าทันก่อนจะสาย ภัยเงียบ "โรคลำไส้กลืนกัน"

วันนี้สำนักข่าวทีนิวส์จะพาทุกท่านทำความรู้จักกับโรค ลำไส้กลืนกัน ให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะวิธีสังเกตอาการ เพื่อที่จะได้รู้เท่าทัน และรีบพาคนที่คุณรัก เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพราะโรคนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว หากไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีย่อมหมายถึง อันตรายถึงชีวิต

 

รู้เท่าทันก่อนจะสาย ภัยเงียบ "โรคลำไส้กลืนกัน"

 

   โรคลำไส้กลืนกัน โดยส่วนมากมักพบในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 4 - 12 เดือน และเกิดขึ้นในกลุ่มเด็กที่มีสภาพร่างกายแข็งแรง มากกว่ากลุ่มเด็กที่มีร่างกายอ่อนแอ

 

    สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไข้หวัดหรือเด็กที่มีอาการลำไส้อักเสบเบื้องต้นอยู่ก่อนแล้ว เป็นภาวะของลำไส้ที่อยู่ต้นกว่า เคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในลำไส้ที่อยู่ปลายกว่า ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดโรคเช่นนี้ขึ้น แต่อาการเหล่านี้ที่เกิดขึ่้นภายในร่างกายจะส่งผลให้เด็กมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงตามมา หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดจนเกิดการเน่า ลำไส้แตกทะลุ และเยื่อบุช่องท้องอักเสบ นำมาซึ่งการติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตในที่สุด

 

    การสังเกตอาการของเด็กที่ป่วยเป็นโรคลำไส้กลืนกัน นั้นถ้าเป็นวัยทารกจะพบว่ามีอาการร้องไห้ผิดปกติ บางครั้งจะถึงขั้นกรีดร้องเป็นช่วงๆ ทางกายภาพอาจมีการเกร็งของมือและเท้าร่วมด้วย กลุ่มที่อาการค่อนข้างหนักจะเริ่มมีการอาเจียนเป็นสีเขียวซึ่งเป็นสีของน้ำดีปนออกมาด้วย รวมถึงการถ่ายเป็นมูกเลือดเกิดจากการที่ลำไส้ตายเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงในระยะวิกฤตจะมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อน สังเกตได้จาก เด็กจะเริ่มตัวซีด หรือมีอาการง่วงซึมร่วมด้วย

 

    การวินิจฉัยโรคลำไส้กลืนกัน กันสามารถทำได้โดย 2 วิธี คือ การทำอัลตราซาวน์ (Ultrasound) ซึ่งสามารถตรวจพบก้อนลำไส้กลืนกัน และแบบที่สองคือ การตรวจด้วยวิธีสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี (Barium Enema) เมื่อเกิดโรคนี้ขึ้นแล้วต้องได้รับการรักษาเป็นการด่วน โดยแนวทางการรักษานั้นจะมี 2 วิธีด้วยกันคือ

 

1. การดันลำไส้ด้วยแรงดันผ่านทางทวารหนัก เพื่อดันลำไส้ส่วนที่เคลื่อนตัวเข้าไป ให้ออกมาจากลำไส้ส่วนที่กลืนกันอยู่  อาจจะใช้การสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี barium หรือใช้ก๊าซเป็นตัวดันหากสามารถดันลำไส้ที่กลืนกันออกได้สำเร็จ ก็ไม่ต้องทำการผ่าตัด ภายหลังการรักษาด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยจะสามารถรับประทานอาหารได้ภายใน 1-2 วัน และสามารถกลับบ้านได้ภายใน 2-3 โดยไม่มีอาการลำไส้กลืนกัน เกิดขึ้นอีก แต่หากเป็นกรณีที่ปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานจนลำไส้เกิดการเน่าตาย อาจจำเป็นต้องได้รักการรักษาต่อไป 

 

2. การผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ศัลยแพทย์สามารถใช้มือบีบดันให้ลำไส้ส่วนที่กลืนกันคลายตัวออกจากกัน การรักษาด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับกรณีที่ผู้ป่วยมีการเน่าตายหรือแตกทะลุของลำไส้ จึงจำเป็นต้องตัดลำไส้ส่วนที่เน่าตายออก และต่อลำไส้ส่วนที่ดีเข้าหากันเพื่อให้สำไล้สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ

    การดูแลเด็กในวัยแรกเกิดนั้นถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นผู้ปกครองควรสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด หากสังเกตได้ถึงอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ เมื่อพบว่าเด็กมีไข้หรืออาเจียนอย่าชะล่าใจ และอย่าซื้อยามาให้เด็กรับประทานเองซึ่งอาจไม่ถูกต้องและตรงกับโรค อย่างไรก็ตามโรคลำไส้กลืนกัน สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทั้งเพศชายและหญิง โดยเฉพาะเด็กที่มีร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์แข็งแรงเป็นส่วนใหญ่

 

ขอบคุณ : เฟซบุ๊ก Rachatanawee Juljuewong , โรงพยาบาลกรุงเทพ ,คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

 

รู้เท่าทันก่อนจะสาย ภัยเงียบ "โรคลำไส้กลืนกัน"