เปิดปูมร้อน พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ปรับแก้เอื้อใครกันแน่ ทำไมบุคลากรสาธารณสุขต้องเสียงแตก

เปิดปูมร้อน พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ปรับแก้เอื้อใครกันแน่ ทำไมบุคลากรสาธารณสุขต้องเสียงแตก

มาม่าร้อนๆ ลวกปากบุคลากรสาธารณสุขแล้วจ้า เมื่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยา พ.ศ.... (ฉบับใหม่ กรกฎาคม 2561) โดยเนื้อหาในการปรับแก้ครั้งนี้ทำเอาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องถึงกับเสียงแตก บ้างก็เห็นด้วย บ้างก็ไม่เห็นด้วย ในประเด็นที่ให้เพิ่มวิชาชีพที่มีอำนาจจ่ายยาจากเดิมที่มีหมอ กับเภสัชกร แต่จะให้แก้กฎหมายโดยให้เปิดกว้างเพิ่มสหวิชาชีพทางการแพทย์สามารถจ่ายยาได้ โดยผู้ประกอบวิชาชีพอื่นในที่นี้อาจหมายถึง พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย ฯลฯ โดยอ้างเหตุผลว่าต้องการช่วยให้ประชาชนเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น และจากเดิมพื้นที่ห่างไกลขาดแคลนแพทย์และเภสัชกร ทำให้ประชาชนได้รับสิทธิ์ไม่ทั่วถึง

(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ถอดรหัสแผนกินรวบธุรกิจนายทุนใหญ่ หลังเซเว่น อีเลฟเว่น จัดตั้งบ.สอดคล้อง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่)

 

ในประเด็นนี้เองที่ทำให้มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้าซึ่งมองว่าเหตุผลที่ปรับแก้ฉบับนี้ทำเพื่อประชาชนจริงหรือไม่ และถ้าหากทำเพื่อประชาชนจริงทำไมบุคลากรในแวดวงสาธารณสุขถึงไม่เห็นพ้องในทางเดียวกัน หรือนี่เป็นเพียงแค่ การแก้กฎหมายเพื่อต่อยอดธุรกิจใครกันแน่??

 

ก่อนอื่นเราจะขอพาไปย้อนดูไทม์ไลน์ของกฎหมาย พ.ร.บ. ยา ตั้งแต่ฉบับแรกจนมีการปรับแก้เรื่อยมา

 

ปี 2510 พ.ร.บ.ยา ฉบับแรก กำหนดให้ 3 วิชาชีพคือ แพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์ สามารถปรุงและจ่ายยาได้นอกเหนือจากเภสัชกร

 

ปี 2549
- มีร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นการยกร่างกฎหมายใหม่ขึ้นมาทั้งหมดและเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2542 แต่ผลักดันไม่สำเร็จจึงมีการนำไปปรับปรุงแล้วเสนอใหม่อีกครั้งเมื่อปลายปี 2549 โดยรัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ รับหลักการ

 

เปิดปูมร้อน พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ปรับแก้เอื้อใครกันแน่ ทำไมบุคลากรสาธารณสุขต้องเสียงแตก
 

ปี 2557
กระทรวงสาธารณสุขนำร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับ สคก. เผยแพร่ เกิดการทักท้วงเนื้อหาบกพร่อง ให้ใครก็ได้ที่ไม่ใช่ ‘เภสัชกร’ สามารถจ่ายยาและปรุงยาได้ นำสู่การตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง อย. และสภาเภสัชกรรม จัดทำ ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับ อย.และสภาเภสัชกรรมขึ้น และแก้ไขเป็นร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับกระทรวงสาธารณสุข ในที่สุด แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ ต่อ

 

ปี 2561
ปรากฎร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับ อย. ซึ่งร่างโดยสำนักยา โดยนำ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมาแก้ไขปรับปรุงบางส่วน แล้วเติมหมวดว่าด้วยกระบวนการอนุญาตตาม คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 77/2559 เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก้ปัญหา อย. ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สุขภาพล่าช้า โดยให้ อย. สามารถเก็บค่าการขึ้นทะเบียนได้ และอนุญาตให้ใช้และเพิ่มค่าตอบแทนแก่ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกได้

 

โดยร่างพ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่นี้ ทุกฝ่ายเห็นพ้องกับเนื้อหาถึง 90% สำหรับส่วนที่เห็นต่างทาง เลขาธิการ อย. จะให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาปรับแก้ได้ภายหลัง ซึ่งอาจจะออกมาเป็น ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ หรือกฎหมายฉบับรองก็ได้

 

อย่างไรก็ตามทางฟากฝั่งของ สภาการพยาบาล ได้ออกมาสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับนี้ โดยได้ออกแถลงการณ์ประกาศจุดยืนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับความปลอดภัยในการใช้ยา ให้เหตุผลว่ากฎหมายฉบับนี้จะเอื้อให้ทุกวิชาชีพด้านสุขภาพ สามารถทำงานร่วมกันได้โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ 

 

และเห็นว่าพยาบาลวิชาชีพในทุกหลักสูตรมีการเรียนการสอนเรื่องยาอย่างเพียงพอสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย ซึ่งหลักสูตรพยาบาลศาตร์บัณฑิต เรียนวิชาเภสัชศาสตร์จำนวน 3 หน่วยกิต จัดการเรียนการสอนบูรณาการในรายวิชาการพยาบาลทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัต จำนวนไม่น้อยกว่า 70 หน่วยกิต ซึ่งต้องเรียนรู้เรื่องยา รวมทั้งยังเรียนรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นอีก 4 หน่วยกิต

 

เปิดปูมร้อน พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ปรับแก้เอื้อใครกันแน่ ทำไมบุคลากรสาธารณสุขต้องเสียงแตก

 

เปิดปูมร้อน พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ปรับแก้เอื้อใครกันแน่ ทำไมบุคลากรสาธารณสุขต้องเสียงแตก

 

เปิดปูมร้อน พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ปรับแก้เอื้อใครกันแน่ ทำไมบุคลากรสาธารณสุขต้องเสียงแตก

 

ฝ่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ก็ออกมาเห็นด้วยกับ พ.ร.บ. ยาฉบับนี้ โดยให้ความเห็นถึงประชากรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล บุคลากรในโรงพยาบาลมีน้อยและไม่มีเภสัชกรประจำการ ต้องอาศัยเภสัชกรที่ถูกส่งไปหมุนเวียนเข้าเวรดูแลเรื่องการจ่ายยาและให้ความรู้ และจากบุคลากรด้านเภสัชไม่เพียงพอนี่เองทำให้ที่ผ่านมาจึงเป็นหน้าที่ของพยาบาลและเจ้าหน้าที่วิชาชีพอื่นช่วยจ่ายยาแทนมาโดยตลอด

 

แต่เมื่อฝ่ายเภสัชกร เองไม่ได้มองแบบเดียวกัน โดยเล็งเห็นถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ มองว่าการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้สุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยการใช้ยาของประชาชน เนื่องจากบางกลุ่มวิชาชีพไม่ได้ศึกษาเรื่องการจ่ายยามาโดยตรง ซึ่งถ้ากฎหมายเปิดกว้างต่อไปบุคลากรเหล่านั้นอาจไปเปิดคลินิก หรือขายยาเองได้โดยไม่มีแพทย์หรือเภสัชกรควบคุมซึ่งนั่นจะเกิดผลเสียตามมาอย่างยิ่ง

 

สภาเภสัชกรรมจึงได้ออกหนังสือคัดค้านส่งตรงถึง อย. ยก 9 ประเด็นที่ไม่เห็นด้วยของร่างกฎหมายฉบับนี้ รวมถึงกรณีการให้วิชาชีพอื่นสามารถจ่ายยาได้ ร้องขอให้มีการพิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมายใหม่เพื่อความปลอดภัยของประชาชน เล็งเห็นว่าการจ่ายยาจะต้องมีความรู้พื้นฐานมากพอระดับหนึ่ง หากให้กลุ่มวิชาชีพอื่นสามารถจ่ายยาได้โดยอ้างเหตุผลว่าเรียนมาเช่นกัน ก็ต้องมองย้อนกลับไปว่าเรียนมามากน้อยเพียงใด มีความรู้เพียงพอที่จะทำให้ผู้ป่วยไว้ใจได้เพียงใด

เปิดปูมร้อน พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ปรับแก้เอื้อใครกันแน่ ทำไมบุคลากรสาธารณสุขต้องเสียงแตก

 

เปิดปูมร้อน พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ปรับแก้เอื้อใครกันแน่ ทำไมบุคลากรสาธารณสุขต้องเสียงแตก

 

เปิดปูมร้อน พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ปรับแก้เอื้อใครกันแน่ ทำไมบุคลากรสาธารณสุขต้องเสียงแตก

 

ฟากฝั่งของแพทย์หลายท่านเองก็กังวลในเรื่องนี้ไม่น้อย เช่น นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ที่ใช้เฟซบุ๊กชื่อ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ออกมาพูดเปรียบเทียบมาตรฐานพ.ร.บ.ยาของต่างประเทศกับ ประเทศไทยเรา ที่ระบุว่า...

 

"สวิสเซอร์แลนด์ฝั่งตอนเหนือร้านขายยาจะมีป้าย Apotheke แต่ตอนใต้ที่ติดอิตาลีป้ายจะเขียนว่า Farmacia ระบบยาและร้านขายยาที่นี่มีหัวใจที่การคุ้มครองผู้บริโภคและตรวจสอบกันเองระหว่างวิชาชีพ

 

ในยุโรปรวมทั้งอารยะประเทศ ร้านขายยาต้องมีเภสัชกรเต็มเวลาเท่านั้น จะให้คนอื่นวิชาชีพอื่นมาขายยาแทนไม่ได้ เภสัชกรก็จะจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์เท่านั้นด้วย จะหยิบยาขายยาเองไม่ได้ ยกเว้นกลุ่มยาสามัญประจำบ้าน นั่นแปลว่า เวลาไปหาหมอที่คลินิก หมอจะไม่มีสิทธิจ่ายยา หมอจะตรวจ วินิจฉัยโรค และเขียนใบสั่งยาให้คนไข้มารับยาตามสิทธิสวัสดิการหรือมาซื้อยาเกินสิทธิที่ร้านเภสัชกร แต่สำหรับผู้ป่วยในที่นอนโรงพยาบาลนั้นไม่มีปัญหา เพราะมีระบบตรวจสอบ และช่วยกันดูแลผู้ป่วยของสหวิชาชีพอยู่แล้ว

 

การจัดระบบร้านขายยาแบบนี้ เน้นการคุ้มครองผู้บริโภค หากแพทย์จะจ่ายยาแบบไม่สมเหตุสมผลเภสัชกรที่ร้านขายยาก็จะเห็น เภสัชจะจ่ายยาเองก็ไม่ได้ พยาบาลนั้นไปเยี่ยมบ้านหรือทำการพยาบาลที่บ้านก็แนะนำการกินยาให้ถูกต้อง คนไข้จะไปซื้อยากินเองก็ไม่ได้ เพราะยาไม่ใช่ขนม นี่เป็นการแบ่งหน้าที่ที่ลงตัว"

 

เปิดปูมร้อน พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ปรับแก้เอื้อใครกันแน่ ทำไมบุคลากรสาธารณสุขต้องเสียงแตก


อย่างไรก็ตามสิ่งที่สังคมกำลังมองในตอนนี้ คือร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มภาระให้พยาบาลมากเกินไปหรือไม่ หากในอนาคตพยาบาลจะต้องไปประจำอยู่ร้านยา หรือตามคลินิกต่างๆ เพื่อรับจ๊อบหารายได้เสริม แล้วจะกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลแบบเดิมหรือไม่

 

เพราะทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าประชาชนหรือผู้ป่วยที่เข้าไปรับบริการตามสถานพยาบาลเมื่อเจอด่านแรกกับพยาบาล หลายคนไม่ค่อยประทับใจกับการให้บริการสักเท่าไหร่ เพราะอาจจะด้วยความเหนื่อยล้า หรือหน้าที่ที่หนักอยู่แล้ว หากเปิดกว้างให้สิทธิ์จ่ายยาได้ ศักยภาพในการทำงานของพยาบาลจะเต็มที่ได้จริงหรือ และหากฎหมายฉบับนี้ถูกใช้ขึ้นมาจริง ในอนาคตอาจไม่มีคนเข้าเรียนคณะเภสัชศาสตร์ก็เป็นได้เพราะต้องใช้เวลาเรียนถึง 6 ปี ในขณะที่เรียนพยาบาลใช้เวลาเพียงแค่ 4 ปี ก็สามารถจ่ายยาได้แล้ว 


ซึ่งจากที่เราได้กล่าวมาข้างต้นว่า พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่นี้ปรับแก้เพื่อผลประโยชน์อันใดกันแน่ เอื้อต่อประชาชน บุคลากรทางการแพทย์ หรือ เพื่อการต่อยอดธุรกิจของนายทุนยักษ์ใหญ่ ที่มีแผนจะกินรวบทุกธุรกิจในประเทศไทย คงดูเป็นเรื่องน่าเศร้าไม่น้อยหากผลลัพธ์คือกฎหมายฉบับนี้ผ่าน ประชาชนจะตกเป็นเหยื่อ พยาบาล จะเป็นเครื่องจักรในการทำงาน และผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือนายทุนใหญ่ที่ได้เตรียมการไว้หมดแล้ว 

 

ขอบคุณ : นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ