ถกลึกปม "ศิลปะการแสดงโขน" หลังดราม่าไทยเตรียมส่งขึ้นบัญชีมรดกโลก

  สืบเนื่องจากกระแสวิพากษ์ วิจารณ์อย่างมากในโลกสังคมออนไลน์ขณะนี้กับกรณี กระทรวงวัฒนธรรมเตรียม เสนอการแสดงโขน เป็นมรดกโลก ต่อองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติหรือยูเนสโก เพื่อพิจารณาขึ้นบัญชีมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ ปี 2561

 

          สืบเนื่องจากกระแสวิพากษ์ วิจารณ์อย่างมากในโลกสังคมออนไลน์ขณะนี้กับกรณี กระทรวงวัฒนธรรมเตรียม เสนอการแสดงโขน เป็นมรดกโลก ต่อองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติหรือยูเนสโก เพื่อพิจารณาขึ้นบัญชีมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ ปี 2561 เมื่อข่าวการขึ้นบัญชีนี้ออกไปสร้างกระแสไม่พอใจให้กับสื่อสังคมออนไลน์ของกัมพูชาเป็นอย่างมาก  โดยส่วนหนึ่งอ้างว่าโขนนั้นเป็นการแสดงของกัมพูชามาแต่ครั้งอดีต รวมทั้งเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมเก่าแก่ของกัมพูชา ทั้งยังกล่าวอ้างว่าประเทศไทยนำการแสดงโขนมาจากกัมพูชา

ถกลึกปม "ศิลปะการแสดงโขน" หลังดราม่าไทยเตรียมส่งขึ้นบัญชีมรดกโลก

 

ถกลึกปม "ศิลปะการแสดงโขน" หลังดราม่าไทยเตรียมส่งขึ้นบัญชีมรดกโลก

 

 

ถกลึกปม "ศิลปะการแสดงโขน" หลังดราม่าไทยเตรียมส่งขึ้นบัญชีมรดกโลก

 

        ทั้งนี้ยังมีการแสดงความคิดเห็นไปถึงเพจเฟซบุ๊กองค์การยูเนสโก เรียกร้องให้ทางยูเนสโกนั้นพิจารณาทบทวนความคิดที่ให้การแสดงโขนเป็นมรดกของไทยเพราะเชื่อว่าแท้จริงแล้วไม่ใช่ ทั้งนี้คำว่าโขนในยุคเริ่มแรกของของไทยนั้น ไม่ปรากฎความเป็นมาที่แน่นอนและชัดเจนว่าเกิดขึ้นในยุคสมัยใด หากแต่เอ่ยถึงอยู่ในวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอ ที่มีบางช่วงกล่าวถึงโขนในงานมหรสพ ระหว่างงานศพพระลอ พระเพื่อนและพระแพง ว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียม" แต่ที่ปรากฎอย่างเด่นชัดอยู่ในจดหมายลาลูแบร์ ที่ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงการแสดงโขน ว่าเป็นการเต้นออกท่า ออกทาง เข้ากับจังหวะเสนียงซอและเครื่องดนตรี มีผู้เต้นสวมหน้ากากและถืออาวุธ  
ทั้งนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพ เคยทรงกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า การแสดงโขนอาจนิยมเล่นกันมาตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรณที่ 16 โดยอาศัยหลักจากลายการแกะสลักเรื่องรามายณะ และจากแหล่งโบราณคดีหลายแหล่ง เช่นตำนานการแสดงโขนในกฎมณเฑียรบาล

 

 

 

      ซึ่งโขนในราชสำนักไทยแต่เดิมมีเฉพาะโขนหลวงเท่านั้น ส่วนผู้ฝึกหัดเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ คนธรรมดาจะฝึกหัดโขนไม่ได้ จนกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่ผู้ฝึกโขนมักเป็นมหาดเล็กหรือบุตรหลานข้าราชการและผู้แสดงโขนต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น ส่วนละครผู้หญิงจะมีได้แต่ของพระมหากษรัตริย์ ด้วยเป็นประเพณีที่ยึดครองกันมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา จากนั้นความนิยมการแสดงโขนก็เริ่มเสื่อมลง

 

ถกลึกปม "ศิลปะการแสดงโขน" หลังดราม่าไทยเตรียมส่งขึ้นบัญชีมรดกโลก

      ในส่วนของกัมพูชาการแสดงโขนถูกระบุว่าเริ่มมีมาหลัง พ.ศ.1500 โดยต้นแบบโขนละครของกัมพูชา มีชื่อเรียกว่า แสบธม (สะ - แบก - ทม ) มีร่องรอยปรากฎอยู่ระหว่าง พ.ศ.1000 - 1500 แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าพบในราชสำนักทวารวดี

      บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในช่วง พ.ศ.1500 ก็ยังไม่พบหลักฐานที่จารึกว่ามีกลุ่มคนไทยแสดงโขน ซึ่งหลังจากนั้นราว 100 ปี จึงเริ่มมีคำว่าสยาม ในจารึกของเขมร

 

 

 

      โดยในงานกรมศิลปากร creative fine arts ปี 2014 ได้มีหนังสืออธิบายความเป็นมาของโขน ว่าถูกจัดเป็นวัฒนธรรมร่วมของอาเซียน มีในหลายประเทศแต่หลักฐานเกี่ยวกับโขนที่เก่าสุดพบในกัมพูชา ส่วนแบบแผนนั้นให้ไทย,ลาว ,พม่า จึงอาจสรุปได้ว่าการแสดงโขนถือเป็นวัฒนธรรมร่วมที่ถูกจัดให้เป็นศิลปะในดินแดนสุวรรณภูมินั้นเอง เนื่องจากหลักฐานเด่นชัดแบบสรุปได้ยังไม่มีการค้นพบ 

 

ถกลึกปม "ศิลปะการแสดงโขน" หลังดราม่าไทยเตรียมส่งขึ้นบัญชีมรดกโลก

       ซึ่งก่อนหน้านี้การแสดงโขนถูกหยิบยกขึ้นมาถกกันอยู่หลายครั้งจนไม่เป็นที่สิ้นสุดตั้งแต่ปี 2558 - 2559 ว่าชาติใดควรนำโขนขึ้นเป็นมรดกโลกกันแน่ระหว่างไทย และกัมพูชาจนเกิดเป็นประเด็นร้อนแรงถึงขั้น กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์ของกัมพูชาต้องตั้งโต๊ะแถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ 

 

        ส่วนความคืบหน้าล่าสุดวันที่ 31 ส.ค. 2561 เกี่ยวกับประเด็นการถกเถียงครั้งนี้ ทางอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ) นางพิมพ์รวี วัฒนวรางกูร ได้ออกมากล่าวว่าการยกโขนขึ้นเป็นมรดกโลกของไทยนั้น ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ซึ่งต่างฝ่ายก็ไม่อยากให้มีปัญหากัน ทั้งนี้การนำเสนอโขนขึ้นเป็นมรดกโลกยังคงดำเนินการต่อไป แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานขั้นตอนที่เหมาะสม

 

ขอขอบคุณ กรมศิลปากร