ต่อจากตอนที่แล้ว จากงานเสวนาเรื่อง "ปิดทองหลังถ้ำ" ที่จัดขึ้นโดยโรงพยาบาลศิริราช มาต่อกันที่ Part นี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับคุณสุรทิน ชัยชมภู

ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (นายกสมาคมน้ำบาดาล)

 

ต่อจากตอนที่แล้ว ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (ฮุก 31)

 

    จากงานเสวนาเรื่อง "ปิดทองหลังถ้ำ" ที่จัดขึ้นโดยโรงพยาบาลศิริราช มาต่อกันที่ Part นี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับคุณสุรทิน ชัยชมภู นายกสมาคมน้ำบาดาล ให้มากขึ้นจากการสัมภาษณ์ของวิทยากร คุณสุรทิน ได้ให้ข้อมูลไว้น่าสนใจดังนี้

 

 

ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (นายกสมาคมน้ำบาดาล)

 

วิทยากร : สมาคมน้ำบาดาลก่อตั้งมาได้อย่างไร และมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร?

 

นายกสมาคมน้ำบาดาล : สมาคมน้ำบาดาลก่อตั้งมาเพื่อ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในแต่ละหลากหลายอาชีพ เพราะองค์ความรู้เหล่านี้ไม่มีบรรจุอยู่ในหลักสูตรตามแบบแผน เป็นอาชีพเฉพาะทางหลายคนอาจคิดว่า ไม่มีหน่วยงานรับรองและไร้ซึ่งศักยภาพ แต่แท้จริงแล้วสมาคมน้ำบาดาลไทยมีการรวมทุกสายอาชีพ ตั้งแต่ชั่งเครื่อง ชั่งกล นักธรณี ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคม

 

 

ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (นายกสมาคมน้ำบาดาล)

 

วิทยากร : ก่อตั้งมานานเท่าไรแล้ว?

 

นายกสมาคมน้ำบาดาล : ในสมัยก่อนสายงานนี้ไม่มีกฏหมายที่กระทบต่อการปฏิบัติงาน แต่ตอนนี้มีกฏหมายบัญญติเพิ่ม เช่น กฏหมายการขออนุญาตเจาะ พ.ร.บ.น้ำบาดาล เป็นต้น ซึ่งการขออนุญาตเจาะกฏหมายระบุว่าต้องมีโฉนด นส.3 ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบและขั้นตอน จริงๆ แล้วสมาคมนี้ก่อตั้งมา 10 กว่าปี ตั้งแต่จำความได้เมื่ออายุ 8 ขวบตนนั้นเห็นพ่อเริ่มทำการเจาะน้ำตั้งแต่ตอนนั้น แต่อาชีพในขณะนั้นมีลักษณะเป็น part - time เริ่มต้นมาจากการขุดบ่อเพื่อหาน้ำ และมีพัฒนาการมาเรื่อย จนถึงปัจจุบัน

ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (นายกสมาคมน้ำบาดาล)

 

วิทยากร : ผลงานที่ผ่านมาในลักษณะช่วยเหลือผู้อื่นมีอะไรบ้าง? 

 

นายกสมาคมน้ำบาดาล : ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงการมีอยู่ของสมาคมนี้ แต่จะช่วยเหลือในภาคของการเกษตรเป็นหลัก หรือช่วยเหลือพื้นที่ในถิ่นทุรกันดาน อย่างเช่นกรณีของโรงพยาบาลเวียงแหง ที่ไม่มีน้ำใช้ ตนก็เข้าไปช่วยเหลือเช่นกัน โดยตนเสนอว่า ให้ทางโรงพยาบาลออกแค่เพียงค่าน้ำมันและไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด จนถึงปัจจุบันบ่อที่เจาะไว้ก็ยังใช้ได้อยู่ ตนนั้นพร้อมช่วยเหลือผู้อื่นเสมอถึงแม้จะไม่มีฐานะที่ร่ำรวย แต่ก็มีใจที่วัดค่าไม่ได้

 

วิทยากร : มาเข้าร่วมปฏิบัติการในครั้งนี้ได้อย่างไร และจริงไหมที่มีข่าวบอกว่า ภรรยาส่งมาเป็นฮีโร่และถ้าไม่เจอผู้ประสบภัยจะไม่ให้กลับบ้าน?

 

นายกสมาคมน้ำบาดาล : ประโยคนี้จริง ทีแรกตนเสียใจอยู่เหมือนกัน แต่คิดไปคิดมาก็เห็นด้วยภรรยา ในวันที่เกิดเหตุติดภารกิจส่วนตัว และไม่นึกว่าเหตุการณ์จะบานปลาย เพราะคิดว่าแค่เด็กติดถ้ำสูบน้ำก็น่าจะช่วยเหลือได้แล้ว แต่ภายหลังทราบข่าวว่ากลุ่มเด็กผู้ประสบภัยเดินทางเข้าไปลึกกว่า 2 กิโลเมตร จึงเริ่มทำการหาข้อมูล และติดต่อกับผอ.เขต เพื่อเสนอว่าตนนั้นพร้อมจะช่วยเหลือตลอดเวลาเพราะมีความมั่นใจในประสิทธิภาพเครื่องมือของตน

ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (นายกสมาคมน้ำบาดาล)

 

วิทยากร : ภารกิจที่สมาคมน้ำบาดาลรับผิดชอบนั้น มีอะไรบ้าง?

 

นายกสมาคมน้ำบาดาล : ภารกิจหลักคือการดูดน้ำออกจากถ้ำครับ

 

    นอกจากนี้ทางนายกสมาคมน้ำบาดาล ก็กล่าวต่ออีกว่าตนนั้นเข้าใจถึงกรณี พล.ต.อ. ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ถามถึงเรื่องใบอนุญาตในการเจาะ เพราะเป็นเขตอุทยานไม่สามารถทำการเจาะโดยพลการได้ จะเป็นการผิด พ.ร.บ. อาจเป็นคดีความได้ และไม่ได้มีปัญหาอย่างที่สังคมตีความกันไปเอง เพราะคลิปที่ถูกเผยแพร่ออกไปเป็นการกันตัดออกให้เหลือเพียงช่วงสนทนาสั้นๆ เท่านั้น ในฐานะที่ พล.ต.อ. ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ การตักเตือนในครั้งนั้น ตนก็เข้าใจว่าเป็นการทำตามหน้าที่ 

 

    ในตอนหน้าเราจะพาทุกท่านไปพบกับตัวแทนทีมเครื่องสูบน้ำพญานาค ซึ่งเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนให้ภารกิจในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จะเป็นอย่างไรนั้นโปรดติดตามกันต่อไป