จากงานเสวนาเรื่อง "ปิดทองหลังถ้ำ" ที่จัดขึ้นโดยโรงพยาบาลศิริราช มาต่อกันที่ Part นี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับคุณชลอ เกิดปั้น ตัวแทนจากทีมสูบน้ำพญานาค เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนให้ภารกิจในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จากการสัมภาษณ์ของวิทยากร คุณชลอ ได้ให้ข้อมูลไว้น่าสนใจดังนี้

 

ต่อจากสองตอนที่แล้ว (ใส่ลิ้ง) ลิ้ง 1 . คือปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (ฮุก 31)

ลิ้ง 2 คือ  ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (นายกสมาคมน้ำบาดาล)

 

ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (ทีมเครื่องสูบน้ำพญานาค)

 

      จากงานเสวนาเรื่อง "ปิดทองหลังถ้ำ" ที่จัดขึ้นโดยโรงพยาบาลศิริราช มาต่อกันที่ Part นี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับคุณชลอ เกิดปั้น ตัวแทนจากทีมสูบน้ำพญานาค เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนให้ภารกิจในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จากการสัมภาษณ์ของวิทยากร คุณชลอ ได้ให้ข้อมูลไว้น่าสนใจดังนี้

วิทยากร : ท่อสูบน้ำพญานาคคืออะไร และเข้าร่วมปฏิบัติการครั้งนี้ได้อย่างไร?

     ทีมสูบน้ำพญานาค : ท่อสูบน้ำพญานาค คือท่อสูบน้ำของชาวเกษตรกร ที่ใช้กันเยอะได้แก่ จ.สมุครสาคร และนครปฐม ใช้สำหรับบ่อกุ้งบ่อปลาและทำสวนเป็นหลัก ในตอนแรกก่อนเข้าร่วมภารกิจ ตนก็หลงคิดไปว่า กลุ่มเด็กๆ ที่ประสบภัยน่าจะช่วยเหลือได้โดยง่าย ไม่น่าเกิน 2 วัน ก็น่าจะได้ตัว เมื่อติดตามข่าวได้สักพักจึงได้ข่าวว่าระดับน้ำสูงขึ้นตลอด ตนและทีมก็ไม่คิดว่าจะได้ร่วมภารกิจ เพราะอยู่ไกลกับถ้ำขุนน้ำนางนอน แต่ภายหลังได้รับการติดต่อจากทีมกู้ภัยจึงได้เข้าร่วมในที่สุด

 

ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (ทีมเครื่องสูบน้ำพญานาค)

 

 

ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (ทีมเครื่องสูบน้ำพญานาค)

 

   โดยหน้าที่หลักคือสูบน้ำออกจากปลายถ้ำเพื่อไม่ให้น้ำไหลกลับเข้าถ้ำ นอกจากนี้ยังมีการนำเครื่องปั่นไฟไป เพื่อช่วยเหลือทีมเครื่องสูบน้ำที่ใช้ระบบไฟฟ้าอีกด้วย 

วิทยากร : ทีมสูบน้ำพญานาครวมกลุ่มกันได้อย่างไร?

ทีมสูบน้ำพญานาค : ไม่ได้รวมตัวกันโดยตรง เพราะด้วยอาชีพของเกษตรที่ต่างคนต่างมีท่อสูบน้ำเป็นของตัวเอง ของตนนั้นก็มีอยู่ 7 เครื่อง แต่ที่นำไปช่วยเหลือนั้น ก็นำไปเพียงคนละเครื่อง แต่หลายคน และนำมารวมกัน โดยใช้วิธีบรรทุกบนรถเทรลเลอร์  

ที่ผ่านมานั้นใช้ท่อพญานาคสูบน้ำมากว่า 20 ปี เพราะเป็น ท่อที่มีประสิทธิภาพมีความเร็วสูง แต่ว่าแรงส่งไม่ได้ไกลเหมือนระบบปั๊ม ตัวท่อนั้นยาวประมาณ 13-14 เมตร สามารถสูบน้ำจากในคลองไปยังพื้นถนนอีกที่ได้เร็วมาก ต่างจากระบบสูบน้ำของกรมชลประทานที่เป็นปั๊มหอยโข่ง 

 

ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (ทีมเครื่องสูบน้ำพญานาค)

 

วิทยากร : ความรู้สึกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการครั้งนี้เป็นอย่างไรบ้าง?

ทีมสูบน้ำพญานาค : รู้สึกดีใจตั้งแต่ ได้รับการติดต่อให้ไปช่วยเหลือแล้ว ดีใจที่มีโอกาสได้ไปช่วย เพราะมีความคิดว่าเครื่องมือเกษตรของตนนั้น เป็นเหมือนฟันเฟืองเล็กๆ แต่ก็พอที่จะให้ความช่วยเหลือได้

 

 

ปิดทองหลังถ้ำ สู่การถอดบทเรียน "ปฏิบัติการกู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่า" (ทีมเครื่องสูบน้ำพญานาค)

 

วิทยากร : จากการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ คิดว่าได้บทเรียนอะไรบ้าง

ทีมสูบน้ำพญานาค : การทำงานในรูปแบบนี้หรือการช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ต้องทำงานแข่งกับเวลา ต้องมีการตัดสินใจที่ฉับไวและรอบคอบ นอกจากนี้ยังต้องมีการประสานงานร่วมมือ และเชื่อฟังคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาอีกทีอย่างเช่นท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย จนทำให้ภารกิจสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

จากความร่วมมือของทั้งภาครัฐและหลากหลายหน่วยงานของเอกชน ทำให้ผู้ประสบภัยทั้ง 13 คนสามารถออกมามองเห็นแสงตะวันอีกครั้ง ประเทศไทยได้ถอดบทเรียนหลายประการจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ถึงแม้เหตุการณ์ทั้งหมดจะผ่านไปได้ด้วยดี แต่ทุกคนก็ต่างหวังว่าภาครัฐจะมีมาตรการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยง ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยขึ้นอีก