อาการ High-place phenomenon โรคอยากกระโดดจากที่สูง

ติดตามรายละเอียด www.tnews.co.th

อาการอยากกระโดดลงจากที่สูง High-place phenomenon มีชื่อเฉพาะในภาษาฝรั่งเศสว่า  L’appel du vide (อ่านว่า ลาป-เปล-ดู-วีด) แปลเป็นไทยว่า เสียงเรียกจากช่องว่าง หรือ เสียงเรียกจากหุบเหว จะมีอาการก็ต่อเมื่ออยู่บนที่สูงและมองลงสู่พื้นที่ต่ำด้านล่าง ยกตัวอย่างเหตุการณ์ใกล้ตัวเช่น การขับรถออยู่บนสะพานสูงๆ การยืนอยู่บนคอนโดชั้นสูงๆ เป็นต้น และเมื่อมองลงไปด้านล่างแล้วก็มีความรู้สึกอยากจะกระโดด เพราะอยากรู้ว่าเมื่อลงไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น อาการนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่ววูบเท่านั้น

 

อาการ High-place phenomenon โรคอยากกระโดดจากที่สูง

ปรากฏการณ์อยากกระโดดลงจากที่สูง (High-place phenomenon) ได้รับความสนใจในปี 2011 เมื่อบทความที่ชื่อว่า Journal of Affective Disorders งานวิจัยของเจนนิเฟอร์ แฮมีส นักศึกษาปริญญาเอกด้านจิตวิทยาพร้อมด้วยทีมงานภาควิชาจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยฟลอริดา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับแรงกระตุ้นประหลาดที่ทำให้คนเราอยากกระโดดลงจากที่สูงทั้งที่ไม่ได้รู้สึกอยากตาย โดยผลจากการค้นค้าพบว่า มีคนประมาณ 30% ที่ทำแบบสอบถามเคยมีอาการ High-place phenomenon อย่างน้อยครั้งหนึ่ง

อาการแปลกประหลาดนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวต่อการรับรู้ของสมอง และจะเข้มข้นเป็นพิเศษในผู้ที่มีประสาทสัทผัสไวและมีความวิตกกังวลสูง แต่ไม่ได้หมายความว่า จะอยากฆ่าตัวตายแต่อย่างใด นักวิจัยอธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า การรับรู้ที่ว่านี้อาจเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็วทำให้เราไม่สามารถควบคุมสติได้ในชั่วเวลาหนึ่งจนมีความคิดอยากกระโดดแล่นเข้ามาในสมอง

 

อาการ High-place phenomenon โรคอยากกระโดดจากที่สูง

ใครที่มีอาการอยากกระโดดลงจากที่สูง (High-place phenomenon) ก็ไม่ต้องวิตกกังวลใจจนเกินไป เพราะอาการนี้เป็นอุบายที่แยบยลของกลไกภายในตัวเรา เมื่อเรารู้ว่ามีสิ่งกระตุ้นให้เรากระโดดลงไปในเสี้ยววินาที เราจะเกิดอาการกลัวและถอยหลังออกมาโดยอัติโนมัติเอง

ถือเป็นเรื่องซับซ้อนของสมอง ที่สร้างสัญชาติญาณการหลีกเลี่ยงจากอันตรายแบบแปลกๆ ให้กับมนุษย์

 

อาการ High-place phenomenon โรคอยากกระโดดจากที่สูง

 

ข้อมูล : https://curiosity.com, https://www.estopolis.com