แกะรอย "สักอันตราย" ศึกษาความเสี่ยงโอกาสติดเชื้อร้ายแรง ผลลัพธ์อาจได้ไม่คุ้มเสีย

แกะรอย "สักอันตราย" ศึกษาความเสี่ยงโอกาสติดเชื้อร้ายแรง ผลลัพธ์อาจได้ไม่คุ้มเสีย

จากกรณีที่ปรากฏเป็นข่าว สาววัย 22 ปี ติดเชื้อเอชไอวีจากการสักลายที่ร้านบริเวณคลองหลอด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งก่อนหน้าเพื่อนสาวอีก 3 คนก็ได้ไปสักเช่นเดียวกันและทุกคนต่างติดเชื้อเอชไอวี เสียชีวิตไปก่อนหน้าแล้ว แม้ว่าขณะนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าสาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี ของทั้ง 4 คน มาจากการสักลายหรือไม่ แต่สิ่งที่ผู้หลงไหลในลายสักทุกคนควรต้องคำนึงเป็นอันดับแรกๆ คือความสะอาดและปลอดภัย

 

แกะรอย "สักอันตราย" ศึกษาความเสี่ยงโอกาสติดเชื้อร้ายแรง ผลลัพธ์อาจได้ไม่คุ้มเสีย

เมื่อวานนี้ 2 ก.ย. พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมากล่าวถึงกรณีการสักลายว่า ในทางการแพทย์หากการสักไม่ดูแลเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้อย่างสะอาดเป็นไปตามมาตรฐาน ย่อมที่จะเกิดความเสี่ยงให้ติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งเชื้ออื่นๆ ด้วย โดยปกติแล้วไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การจะสักผิวหนังต้องเลือกดีๆ ว่าร้านที่จะสักนั้นมีการดูแลความสะอาดของเข็มที่ใช้ดีหรือไม่ เพราะใช้แล้วต้องทิ้งเลย และเครื่องมือต่างๆ ต้องทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคทั้งหมด ส่วนคนที่ไปสักต้องดูแลตัวเองด้วย เพราะหากดูแลไม่ดีก็ย่อมติดเชื้อได้

 

การสักต่างๆ ทั้งสักลาย สักคิ้ว ทั้งหมดมีความเสี่ยงติดเชื้อได้ทั้งสิ้น ที่ผ่านมาสถาบันโรคผิวหนังมีคนเข้ารักษามากเฉลี่ยปีละ 200 คน ส่วนใหญ่จะเกิดจากการอักเสบ ติดเชื้อเป็นหนอง ในบางรายมีอาการแพ้สีที่สัก และยังมีอีกหลายรายที่เข้ารับการรักษาสภาพจิตใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่น่าสัก จนทำให้ต้องเข้าไปลบรอยสัก สิ่งสำคัญเมื่อสักแล้ว ต้องดูแลผิวให้ดี หากเป็นการสักผิวภายนอกแบบปกติตามร่างกาย ก็ต้องดูแลอย่าให้ติดเชื้ออย่างน้อยประมาณ 1 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สัก แต่หลายรายมีปัญหาไปสักบริเวณที่ติดเชื้อได้ง่ายอย่างปาก ซึ่งเป็นบริเวณที่เสี่ยง และอ่อนไหวหากดูแลรักษาไม่ดีก็จะติดเชื้อและเป็นอันตรายได้โดยง่าย

 

แกะรอย "สักอันตราย" ศึกษาความเสี่ยงโอกาสติดเชื้อร้ายแรง ผลลัพธ์อาจได้ไม่คุ้มเสีย
 

อย่างไรก็ตามในความสวยงามของสีสันและลวดลายของการสักผิวหนังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ที่ต้องระวังนอกจากอันตรายจากเข็มแล้ว สีที่ใช้ในการสักก็ทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่น เป็นผื่นหรือตุ่มแดง คันในตำแหน่งของรอยสัก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ผื่นเห่อมากขึ้น การดูแลรักษาก็สำคัญเช่นกันเมื่อโดนแดดเป็นเวลานานๆ หรือบ่อยครั้งในคนที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิม เช่น โรคสะเก็ดเงินอาจพบว่ามีผื่นของโรคสะเก็ดเงินกำเริบในบริเวณรอยสัก และการสักผิวหนังยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี วัณโรค โรคเรื้อน โรคเอดส์ จากการใช้เข็มที่ไม่สะอาด ไม่ผ่านการทำให้ปลอดเชื้อ หรือใช้เข็มร่วมกับคนอื่น  

 

อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจสักผิวหนัง ควรคำนึงถึงผลดีผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการสัก รวมทั้งหาข้อมูลสถานประกอบการที่เชื่อถือได้ก่อนรับบริการ เพราะหากตัดสินใจสักผิวหนังไปแล้วภายหลังเกิดเปลี่ยนใจไม่ชอบรูปที่สักไว้ ต้องการลบรอยสัก ผิวหนังบริเวณนั้นจะไม่สามารถกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ ต้องทำการรักษาต่อเนื่องหลายครั้ง เช่น ลบรอยสักโดยการใช้เลเซอร์ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เกิดรอยแผลเป็นแดงนูน ที่เรียกว่า คีลอยด์ ซึ่งก็ต้องมารักษารอยแผลเป็นกันอีก เสียทั้งเวลาและเงินค่ารักษาไม่ใช่น้อย

 

แกะรอย "สักอันตราย" ศึกษาความเสี่ยงโอกาสติดเชื้อร้ายแรง ผลลัพธ์อาจได้ไม่คุ้มเสีย