มองย้อนสังคม ไขปมเด็กสมัยใหม่เหตุใดเลือกจบปัญหาด้วยการ "อัตวินิบาตกรรม" จุดเล็กๆ จากครอบครัว

ไขปม ทำไมเด็กสมัยใหม่ ถึงเลือกจบปัญหาชีวิต ด้วยการ "อัตวินิบาตกรรม" ต้นเหตุจากจุดเล็กๆ ในครอบครัว

 

มองย้อนสังคม ไขปมเด็กสมัยใหม่เหตุใดเลือกจบปัญหาด้วยการ "อัตวินิบาตกรรม" จุดเล็กๆ จากครอบครัว

 

     กลายเป็นเรื่องที่สังคมต้องกลับมาทบทวนกันอีกครั้งกับปัญหาของวัยรุ่นที่มีสภาวะการคิด ตัดสินใจในบางเรื่องที่ยังไม่มากพอ จากสภาวะต่างๆ ที่เข้ามาทำให้ในบ้งครั้งตัวเด็กรับไม่ไหว ตัดสินใจใช้ความรุนแรงแก้ไข้ปัญหาเกิดเป็นข่าวให้ได้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ล่าสุดกับข่าวสะเทือนใจของเด็กหนุ่ม ม.6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ภายในจังหวัดปทุมธานี ตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยการใช้อาวุธปืนของพ่อ ยิงเข้าที่ขมับขวา จนเสียชีวิตคาที่ภายในจุดเกิดเหตุยังพบจดหมายเขียนถึงพ่อ แม่ อาจารย์ และเพื่อนร่วมโรงเรียน โดยเนื้อความของจดหมายที่เขียนให้ผู้ปกครองของเด็กหนุ่มรายนี้มีเนื้อความตัดพ้อตัวเองว่าเป็นนภาระของพ่อ แม่ หมดหวังในอนาคตและขอโทษในความอ่อนแอของตัวเอง 
 
"ผมขอโทษครับที่ผมมันอ่อนแอ ผมเก็บความรู้สึกนี้มา 4 ปีแล้ว ผมเป็นภาระให้แม่มานานพอแล้ว และพ่อผมขอโทษที่ทำให้พ่อต้องซื้อคอมพิวเตอร์มาให้ผม และพี่แฮม..พี่แฮมเป็นคนแข็งแรง ผมขอโทษที่คอยทำให้ความลำบากอยู่เสมอ ตั้งแต่ตอนลักกี้หายไป ผมรู้สึกหมดหวังกับอนาคตของผม ผมไม่อยากทำอะไรเลย ไม่อยากเล่นเกม ไม่อยากไปเรียน อยากจะนอนทำให้ตัวเองผ่านวันเวลาไปแต่ละวัน จนกว่าผมจะทนไม่ไหว ผมรักทุกคนในครอบครัวของผม"

 

     ส่วนเนื้อหาข้อความส่งให้เพื่อนนั้นก็มีการบอกว่าตนอ่อนแอเกินไปเหมือนกัน เนื้อหาใจความระบุว่า "ถึงเพื่อนทุกคน กูขอโทษนะ ถ้ากูทำให้ใครลำบากไว้ พวกมึงทุกคนคือ หนึ่งในประสบการณ์ชีวิตที่กูภูมิใจสุดๆ แต่กูขอโทษ กูมันอ่อนแอเกิน กูหวังว่าพวกมึงทุกคนจะมีอนาคตที่ดี มีครอบครัวที่รักมึง และฝากดูแลเนมด้วยนะเพื่อน อย่าทะเลาะกันและรักกันให้มากๆ เข้าไว้"

 

มองย้อนสังคม ไขปมเด็กสมัยใหม่เหตุใดเลือกจบปัญหาด้วยการ "อัตวินิบาตกรรม" จุดเล็กๆ จากครอบครัว

 

     อีกส่วนเป็นการเขียนถึงอาจารย์คนหนึ่งที่เด็กหนุ่มรายนี้เครพ เนื้อความระบุว่า "ผมขอโทษครับที่ผมเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ที่ทำให้หมอก้อยภูมิใจไม่ได้ แต่ผมรักหมอก้อยจริงๆ ครับ ถึงครูประจำชั้น หรือครูที่เคยสอนผมทุกๆ วันที่ผมขาดหรือลาไม่ไปโรงเรียนนั้นก็เพราะผมพยายามหาสิ่งที่จะทำให้ผมไม่ฆ่าตัวตาย แต่สุดท้ายผมก็หามันไม่เจอ ผมขอโทษจริงๆ ครับ"

     จากเนื้อหาทั้งสามส่วนมีการเขียนตัดพ้อถึงตัวเอง หมดหวังจนทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนแอขึ้นมาจนไม่สามารถหาทางออกได้ ทั้งเด็กหนุ่มรายนี้ยังไม่ปรึกษาปัญหากับผู้ปกครอง อาจารย์ หรือแม้กระทั่งเพื่อนร่วมห้องเลือกที่จะเก็บไว้คนเดียว กลายเป็นภาวะซึมเศร้าไม่กล้าตัดสินใจเริ่มคุยหรือพูดถึงปัญหาที่กำลังเกิด จนในที่สุดลงท้ายด้วยการจบปัญหาด้วยความสูญเสีย โดยวิธีคิดของเด็กในแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งส่วนมากปัจจัยหลักมาจากครอบครัว

 

      เด็กอาจไม่รู้ว่าจะเลือกเข้าหาเพื่อปรึกษาเช่นไร หรือกลัวว่าหากพูดจะเป็นปัญหาใหญ่อันแก้ไม่หายตามมา นั่นคือเหตุผลอันดับต้นๆ เนื่องจากกลัวผู้ปกครองไม่เข้าใจเมื่อนำปัญหามาปรึกษา กลัวการถูกต่อว่านั่นเอง ส่วนในกรณีของเด็กหนุ่มรายนี้ น่าจะเป็นเรื่องกดดันในการเข้าศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัย เนื่องจากกำลังศึกษาอยู่ ม.6 กลัวทำตามฝันที่พ่อ แม่อาจารย์วาดไว้ให้ไม่สำเร็จ ทั้งที่ยังไม่ลงมือ ประกอบกับผู้ปกครองของเด็กออกมาเผยว่าเด็กหนุ่มรายนี้มีพฤติกรรมเป็นคนเงียบ พูดน้อย มักเก็บความรู้สึกแต่เพียงผู้เดียว จึงอาจเป็นเหตุให้เก็บกดได้ง่ายเมื่อถูกแรงกดดันจากหลายฝ่าย 
 
      ทั้งนี้ นพ.อุดม เพชรสังหาร จิตแพทย์ รองประธานกรรมการบริหารด้านพัฒนาความรู้ บริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัดเคยหยิบยกปัญหาการคิดฆ่าตัวตายมาอธิบายไว้อย่างน่าสนใจ เมื่อปี 2558 ว่าผู้ที่จะอยู่ในสภาวะอยากฆ่าตัวตายนั้นจะมีอยู่ 3 สภาวะอารมณ์ คือ
1. รู้สึกไร้ค่า
2. รู้สึกไร้ความหวัง
3. รู้สึกไม่มีใครช่วยได้

ส่วนปัจจัยควบคู่กันมีอยู่ 2 ปัจจัยหลักๆ 
   1. ภาวะซึมเศร้า (depressed) และคำว่าความเศร้า (sad) มีความหมายเหมือนกัน แต่ในทางคลินิกแล้วภาวะซึมเศร้าจะประกอบด้วยความรู้สึกมากกว่า 1 อย่าง อาทิ ความโกรธ, ความกลัว, ความกังวล, ความสิ้นหวัง, ความรู้สึกผิด, ความไร้อารมณ์ และหรือความเศร้า จัดเป็นภาวะที่อันตรายต่อร่างกายและมีผลกระทบต่อการทำงานของสมอง 

   2. ความรู้สึกเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของตนเอง (Identity) เป็นด้านลบ ได้แก่ ความรับรู้เกี่ยวกับตนเอง (sense of self) เด็กจะรู้สึกว่าตนเป็นคนไม่ดี เป็นคนบาป เป็นคนที่ไม่มีใครรักใครชอบไม่มีใครต้องการ รวมทั้งมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนไม่มีคุณค่า (Low self-esteem) ซึ่งอาจรวมไปถึงรู้สึกว่าตนเป็นคนไร้ความสามารถไม่สามารถประสบความสำเร็จใดๆ

บ่อเกิดของการฆ่าตัวตายของเด็กที่อยู่ในภาวะอารมณ์จิตใจของความโกรธ, ความกลัว, ความกังวล, ความสิ้นหวัง, ความรู้สึกผิด, ความไร้อารมณ์ หรือความเศร้า รวมทั้งรู้สึกว่าตนเป็นคนไม่ดี เป็นคนบาป เป็นคนที่ไม่มีใครรักใครชอบไม่มีใครต้องการ รวมทั้งมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนไม่มีคุณค่าเหล่านี้ นับเป็นเชื้อไฟที่ไวมากต่อการตัดสินใจฆ่าตัวตาย ยิ่งเมื่อเด็กกำลังอยู่ในวัยรุ่นช่วงต้น คืออายุระหว่าง 12 - 15 ปี ก็จะยิ่งเหมือนการเพิ่มความเร็วของการตัดสินใจฆ่าตัวตายมากยิ่งขึ้น

เมื่อเจอปัญหาแล้วรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ชีวิตนี้เราไม่มีค่าอะไรเลย ไม่มีความหวังเรื่องอะไรอีกแล้ว ไม่มีใครช่วยเราได้อีกแล้ว ถ้ามีความรู้สึกครบทั้ง 3 สภาวะอารมณ์ และอีก 2 ปัจจัยจะมีความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายได้

 

มองย้อนสังคม ไขปมเด็กสมัยใหม่เหตุใดเลือกจบปัญหาด้วยการ "อัตวินิบาตกรรม" จุดเล็กๆ จากครอบครัว

 

โดย นพ. อุดม อธิบายว่า หากเชื่อมโยงปัญหาการฆ่าตัวตายกับ Kidscovery หรือคุณสมบัติของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 (Kid’s DNA) ทั้ง 6 ประการอันประกอบด้วย 


1. รู้จักตนเอง มีความภาคภูมิใจในตนเอง (Self Relization) 
2. มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ (Humanity) 
3. มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 
4. มีความอดทน อดกลั้น สู้ปัญหา ล้มแล้วลุกได้ (Resilience) 
5. มีเพื่อน (Social Network) 
6. รักและหวงแหนธรรมชาติ (Respect for Nature) 
จากทั้ง 6 ประการนี้จะเห็นว่า มีคุณสมบัติ 3 ประการที่จำเป็นสำหรับการรับมือกับปัญหานี้คือ

– รู้จักตนเอง มีความภาคภูมิใจในตนเอง (Self Relization) หากเด็กๆ ได้เรียนรู้ว่าตัวเองเป็นใคร รู้ความเป็นมาของตัวเอง ครอบครัวและชุมชน การตระหนักรู้นี้จะกลายเป็นพลังยึดเหนี่ยวจิตใจให้เด็กๆ รักและเห็นคุณค่าในตัวเอง

– มีความอดทน อดกลั้น สู้ปัญหา ล้มแล้วลุกได้ (Resilience) เด็กต้องพร้อมปรับตัวยืดหยุ่นและพลิกแพลง เพื่อเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ อยู่เสมอ รับมือกับความขัดแย้งและความท้าทายใหม่ๆ ด้วยจิตใจที่อดทนและเข้มแข็ง

– มีเพื่อน (Social Network) รู้ว่าตัวเองเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม รู้ว่าเมื่อมีปัญหาสามารถคุยกับเพื่อน ปรึกษาเพื่อนได้

หากพ่อแม่สามารถปลูกฝังคุณสมบัติทั้ง 3 อย่างนี้ลงไปในใจของลูก จะช่วยให้ลูกไม่รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่รู้สึกไร้ความหวังหรือรู้สึกว่าไม่มีใครช่วยได้

    สำหรับพ่อแม่แล้วถือเป็นคนแรกๆ ที่ต้องเป็นตัวอย่างและที่ปรึกษาที่ดีให้ลูกมีวิธีการหลายอย่างในการรับมือเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตลูก ส่วนการมีเพื่อนพ่อแม่ถือเป็นเพื่อนคนแรกของลูกที่ต้องเจอตั้งแต่วัยเยาว์ ลูกจะเรียนรู้การปฎิสัมพันธ์ได้จากคนอื่นจากการเล่นกับพ่อแม่ซึมซับไปเรื่อยๆ  พอลูกโตขึ้นเริ่มเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ให้ลูกได้เรียนรู้วิธีการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น เด็กทะเลาะกัน ถ้าไม่ถึงกับทำร้ายกันรุนแรงพ่อแม่แค่คอยมองดู ยังไม่ต้องเข้าไปห้ามทันที เพราะเด็กจะเรียนรู้วิธีจัดการกับความขัดแย้งเอง ซึ่งนี่จะเป็นพื้นฐานให้เขาเรียนรู้วิธีการรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนต่อไป 

 

มองย้อนสังคม ไขปมเด็กสมัยใหม่เหตุใดเลือกจบปัญหาด้วยการ "อัตวินิบาตกรรม" จุดเล็กๆ จากครอบครัว

 

สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดเด็กต้องรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง จิตใจเข้มแข็ง มีความหวังอยู่เสมอ ไม่ยอมจำนนต่อปัญหาอย่างง่ายดายและไม่คิดทำอะไรที่รุนแรงกับตัวเองลงไป

 

อ้างอิงข้อมูลจาก thaichildrights  ,  คู่มือเลี้ยงลูก