รู้รอบประกันสังคม เล็งเก็บเงินรายเดือนเพิ่มเป็น 1,000 บาท เช็คสิทธิ เปิดเหตุผลใครได้ประโยชน์

 นับเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันเกือบทุกปีกับการกำหนดปรับอัตราเงินประกันสัมคมเพิ่ม แต่แรกเริ่มเดิมทีผู้ประกันตนต้องจ่ายให้กองทุนประกันสังคมต่อเดือนเป็นเงิน 500 บาท จนมาเปลี่ยนแปลงเป็น 750 บาท / เดือน ด้วยเหตุผลแห่งยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอัตราประชาชนมีเงินเดือน 15,000 บาท มากขึ้น คิดเป็น 32%

 

     นับเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันเกือบทุกปีกับการกำหนดปรับอัตราเงินประกันสัมคมเพิ่ม แต่แรกเริ่มเดิมทีผู้ประกันตนต้องจ่ายให้กองทุนประกันสังคมต่อเดือนเป็นเงิน 500 บาท จนมาเปลี่ยนแปลงเป็น 750 บาท / เดือน ด้วยเหตุผลแห่งยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอัตราประชาชนมีเงินเดือน 15,000 บาท มากขึ้น คิดเป็น 32% จากแต่เดิมมีผู้ประกันต้นที่มีเงินเดือน 15,000 บาท เพิ่ม 10 % เท่านั้น 

 

รู้รอบประกันสังคม เล็งเก็บเงินรายเดือนเพิ่มเป็น 1,000 บาท เช็คสิทธิ เปิดเหตุผลใครได้ประโยชน์

 

      ส่วนการปรับเพดานเงินจ่ายประกันสังคมขั้นต่ำให้เพิ่มขึ้น จะส่งผลดีในระยะยาวสิทธิ์ประโยชน์ในการเข้ารักษาพยาบาลเจาะเฉพาะมากขึ้น สำหรับอัตราการปรับฐานคำนวณเงินสมทบจากเดิมผู้มีเงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 750 บาท เมื่อขยับฐานมาเป็นเงินเดือน 20,000 บาท จะต้องจ่ายสมทบในอัตราดังนี้คือ เงินเดือนไม่ถึง 16,000 บาทจ่ายสมทบ 750 บาท เงินเดือน 16,000บาท - 20,000 บาทจ่ายสมทบ 800 บาท ส่วนเงินเดือน 20,000 บาท ขึ้นไปจ่ายสมทบเพิ่มเป็น 1,000 บาท ถือว่าผู้ประกันตนให้ความร่วมมือน้อมรับด้วยดี

 

       ล่าสุดมีการหารือกันอีกครั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2561 ในเรื่องการเก็บเงินสมทบประกันสังคมเพิ่มอีกจากเดิมต่ำสุด 750 บาท / เดือน ขยับเป็น 1,000 บาท / เดือน โดยเรื่องนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ครบรอบ 28 ปี ถึงความก้าวหน้าของกองทุนในการพัฒนารูปแบบการบริการ ไม่ว่าจะเป็นบริการทันตกรรม สามารถใช้บริการได้ทันทีไม่ต้องสำรองจ่าย ทั้งยังเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร จาก 400 บาท เป็น 600 บาท / เดือน เพิ่มค่าฝากครรภ์การคลอดบุตร และสิทธิประโยชน์ค่าทดแทน ด้านอื่น โดยจะจัดทำร่างแก้ไข พ.ร.บ. เงินทดแทน ซึ่งขณะนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบแล้ว เตรียมประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ต่อไป คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปี 2561 เป็นต้น

 

สำหรับก้าวต่อไปของสำนักงานประกันสังคม พล.ต.อ.อดุลย์ ได้มอบนโยบาย 4 ข้อคือ

1. เพิ่มจำนวนผู้ประกันตนเข้ามาในระบบให้มากขึ้น โดยขณะนี้มีผู้ประกันตนประมาณ 15 ล้านคน ส่วนแรงงานนอกระบบซึ่งมี 22 ล้านคน แต่เข้ามาเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เพียง 2.5 ล้านคน โดยปี 2561 เข้าสู่ระบบประมาณ 3 แสนกว่าคน ซึ่งปี 2562 ตั้งเป้าไว้ต้องเพิ่มอีก 2-3 ล้านคน ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะเป็นผู้ใดก็ได้ที่มีอายุ 15 - 60 ปี ไม่เคยเป็นลูกจ้างตามมาตรา 33 
และผู้ประกันตนมาตรา 39 ประกอบอาชีพอิสระ และไม่เป็นผู้ทุพพลภาพในปัจจุบัน ซึ่งต้องการให้เข้ามาอยู่ในระบบอย่างมาก เพราะจะได้รับการคุ้มครองอย่างดีมาก ทั้งการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ ชราภาพ สงเคราะห์บุตร เป็นไปตามหลักยุทธศาสตร์ 20 ปีด้านแรงงาน ส่วนเจ้าหน้าที่ประกันสังคมจะมีการปรับโครงสร้างการทำงานให้สอดคล้องกับภาระงาน

2. บริการกองทุนให้มีประสิทธิภาพมอบผลตอบแทนด้านต่างๆ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากผู้ประกันตน มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบอย่างรอบคอบโปร่งใส ซึ่งในแต่ละปีผลตอบแทนมีเม็ดเงินหลายหมื่นล้านบาท โดยในปี 2560 ผลตอบแทนคิดเป็น 5.8 หมื่นล้านบาท

3. การปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงอายุ การสงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ หรือมาตรฐานสถานบริการ 
 
4. ผู้ประกันตนต้องเข้าถึงสิทธิในการใช้บริการให้มากขึ้น รวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีต้องทันสมัยรวมถึงระบบออนไลน์ต่างๆ ในการเข้าใช้บริการของผู้ประกันตนต้องรวดเร็วทันใจ 

 

          ส่วนในเรื่องการปรับฐานเพดานอัตราเงินจ่ายสมทบเพิ่มนั้นจาก 750 บาท / เดือน เป็น 1,000 บาท / เดือน ตอนนี้ อยู่ระหว่างการดำเนิดการอยู่ ซึ่ง พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ต้องมีการปรับขึ้นแน่นอน แต่การปรับขึ้นเงินสมทบนั้นต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ประกันตนเสียก่อน โดยเฉพาะการปรับเพิ่มประโยชน์แก่ผู้ประกันตนให้มากขึ้น เช่น เงินเพิ่มบำนาญชราภาพ ทั้งนี้ยังต้องรอขอสรุปว่าจะมีการเพิ่มสิทธิในด้านอื่นอีกหรือไม่ 

 

 

รู้รอบประกันสังคม เล็งเก็บเงินรายเดือนเพิ่มเป็น 1,000 บาท เช็คสิทธิ เปิดเหตุผลใครได้ประโยชน์

 

ซึ่งสิทธิที่ผู้ประกันจะได้เมื่อส่งเงินสมทบกองทุนในแต่ละเดือนมีดังนี้ 

 

1. กรณีเจ็บป่วย
สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นโดยที่ได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคม ในอัตราที่กำหนดดังนี้

1.1 เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ การรักษาทั้งอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น และในกรณีเป็นผู้ป่วยใน เบิกได้ตามที่จ่ายจริง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

1.2 เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชน กรณีผู้ป่วยนอกเบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 1,000 บาท กรณีผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท ค่าห้องกรณีรักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท กรณีต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด

1.3 กรณีทันตกรรม เข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม สามารถรับค่าบริการทางการแพทย์ได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 900 บาทต่อปี

 

2. กรณีคลอดบุตร สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ มีดังนี้

2.1 สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)

2.2 ผู้ประกันตนหญิงได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอดเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 90 วัน (ใช้สิทธิได้เฉพาะบุตรคนที่ 1 และ 2 เท่านั้น)

2.3 กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

 

3. กรณีทุพพลภาพ สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ มีดังนี้

3.1 รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิตในกรณีทุพพลภาพร้ายแรง หากไม่ร้ายแรงจะได้รับตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามที่ประกาศฯ กำหนด

3.2 รับค่าบริการทางการแพทย์ หากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐ กองทุนประกันสังคมจะจ่ายให้เท่าที่จ่ายจริงตามจำเป็นและสมควร หากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน ในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก กองทุนประกันสังคมจะจ่ายให้เดือนละไม่เกิน 2,000 บาท ในกรณีเป็นผู้ป่วยใน กองทุนประกันสังคมจะจ่ายให้เดือนละไม่เกิน 4,000 บาท ในส่วนของค่ารถและค่าบริการทางการแพทย์ จะได้รับการเหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท

3.3 ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ

3.4 หากผู้ทุพพลภาพเสียชีวิต ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท

3.5 ได้รับเงินสงเคราะห์เสียชีวิต หากผู้ทุพพลภาพจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 3 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 2 เดือน แต่หากจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 6 เดือน

 

4. กรณีเสียชีวิตสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ มีดังนี้

4.1 ผู้จัดการศพสามารถขอค่าทำศพได้ 40,000 บาท

4.2 เงินสงเคราะห์ กองทุนประกันสังคมจะจ่ายให้บุคคลที่มีชื่อระบุอยู่ในหนังสือระบุให้เป็นผู้รับเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต หากไม่มีหนังสือระบุไว้ต้องนำมาเฉลี่ยให้ บิดามารดา หรือ สามีหรือภรรยา หรือบุตร ในจำนวนที่เท่ากัน ซึ่งจะได้เงินสงเคราะห์ดังนี้ หากผู้เสียชีวิตจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือนจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 2 เดือน หากผู้เสียชีวิตจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้เงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 6 เดือน

4.3 ทายาทสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพได้ภายใน 2 ปี 

 

 

รู้รอบประกันสังคม เล็งเก็บเงินรายเดือนเพิ่มเป็น 1,000 บาท เช็คสิทธิ เปิดเหตุผลใครได้ประโยชน์

 

5. กรณีสงเคราะห์บุตร สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ มีดังนี้

5.1 ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาท ตั้งแต่บุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์

5.2 สามารถขอใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 3 คน

 

6. กรณีชราภาพ แยกเป็น 2 กรณีสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ มีดังนี้

6.1.แบบกรณีบำนาญชราภาพ
      - ถ้าจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

      - ถ้าจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนจะได้รับการปรับเพิ่มบำนาญชราภาพอีกร้อยละ 1.5 สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนทุกๆ 12 เดือนที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนนั้น

 

 

รู้รอบประกันสังคม เล็งเก็บเงินรายเดือนเพิ่มเป็น 1,000 บาท เช็คสิทธิ เปิดเหตุผลใครได้ประโยชน์

 

6.2 กรณีบำเหน็จชราภาพ
  
       - ถ้าจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ

       - ถ้าจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

       - กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับตั้งแต่ได้สิทธิบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต 

 

7. กรณีว่างงาน สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ มีดังนี้

7.1 ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วันในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

7.2 ในกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามระยะเวลา จะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานปีละไม่เกิน 90 วันในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ยซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

7.3 กรณีที่ว่างงานเพราะถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 ครั้งใน 1 ปีจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 180 วัน

7.4 กรณีว่างงานเพราะลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างมากกว่า 1 ครั้งใน 1 ปีจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

 

      นี่คือสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนได้จากกองทุนประกันสังคมทั้งหมด หากมีการปรับขึ้นเพดานเงินจาก 750 บาท / เดือน เป็น 1,000 บาท / เดือน น่าคิดว่าทางสำนักงานประกันสังคมจะสามารถเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ ให้มีมาตรฐานมากขึ้นอย่างเช่นที่ พล.ต.อ.อดุลย์ จะเพิ่มเงินบำนาญชราภาพ หรืออาจมีการขยายกลุ่มโรคร้ายให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาให้มีวงกว้างมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมหรือไม่นี่คือเรื่องที่ต้องติดตามต่อไปเกี่ยวกับสิทธิเพิ่มของผู้ประกันตน

 

ขอขอบคุณข้อมูล flowaccount