เปิดทางรอดเมื่อเกิดเหตุ "รถจมน้ำ" ตั้งสติแล้วทำตามขั้นตอน ถอดรหัสจากเคสสลด

ถอดรหัสจากเหตุสลด นักธุรกิจสาว ขับรถจมน้ำในอุโมงค์ใต้รถไฟ ดับ! กับวิธีเอาชีวิตรอด ทำอย่างไรหากต้องเผชิญเหตุ "รถจมน้ำ" โดยไม่ทันตั้งตัว

 

เปิดทางรอดเมื่อเกิดเหตุ "รถจมน้ำ" ตั้งสติแล้วทำตามขั้นตอน ถอดรหัสจากเคสสลด

 

      สืบเนื่องจากกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.ภานุมาศ แซ่แต้ วัย 41 ปี กรรมการผู้จัดการ บริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง เมื่อวันที่  6 ก.ย. 2561  ระหว่างขับรถกระบะโตโยต้า 4 ประตู เข้าอุโมงค์ลอดทางรถไฟ ทางเข้าหมู่บ้านโกลเด้นนคร ถนนมอเตอร์เวย์ เชื่อมไปยังซอยอ่อนนุช 65  แยก 14 แขวงประเวศ เขตประเวศ แต่ระหว่างขับรถลอดเข้าใต้อุโมงค์ รถกระบะของน.ส.ภานุมาศ เกิดดับกลางคัน จึงโทรไปแจ้งญาติให้มาช่วยเหลือ โดยอุโมงค์ลอดทางรถไฟนี้มีความยาวประมาณ 100 เมตร ลึก 2.5 เมตร 

 

    ในตอนแรกนั้นภายในอุโมงค์มีน้ำท่วมขังอยู่แล้วแต่ น.ส.ภานุมาศ อาจคิดว่าสามารถขับกระบะลุยน้ำออกไปได้ แต่เมื่อถึงกลางอุโมงค์รถกระบะเกิดดับอย่างไม่รู้สาเหตุ และน้ำเริ่มท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับเครื่องสูบน้ำที่ทางหมู่บ้านโกลเด้นนคร ติดตั้งไว้นั้นเสียไม่สามารถใช้งานได้ น้ำจึงเข้าท่วมภายในอุโมงค์อย่างรวดเร็ว ทำให้ น.ส.ภานุมาศ ออกมาจากตัวรถกระบะไม่ได้ ประกอบกับตัวของน.ส.ภานุมาศ เองว่ายน้ำไม่เป็น

 

 

 

เปิดทางรอดเมื่อเกิดเหตุ "รถจมน้ำ" ตั้งสติแล้วทำตามขั้นตอน ถอดรหัสจากเคสสลด

 

      ทั้งนี้ นายธนะสิทธิ์ เมธพันธ์เมือง ผู้อำนวยการเขตประเวศ ได้เร่งให้เจ้าหน้าที่ตรวบจสอบสาเหตุที่ทำให้เครื่องสูบน้ำหยุดทำงานจนเกิดเหตุสลดครั้งนี้ เพราะอุโมงค์ที่ น.ส.ภานุมาศ ขับลอดเข้าไปตอนฝนตกนั้นมีปริมาณการตกของฝนเพียง 16.4 มิลลิเมตร หากเครื่องสูบน้ำทำงานจะไม่เกิดเหตุสลดเช่นนี้ ในตอนนี้ทางเขตได้นำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่มาติดตั้งเพื่อช่วยเร่งสูบน้ำออก พร้อมหาสาเหตุต่อไป 

 

       ในวันนี้สำนักข่าวทีนิวส์ จึงได้สืบค้นเทคนิคการเอาตัวรอดจากสถานการณ์รถจมน้ำจากผู้เชี่ยญชาญของต่างประเทศที่ได้เขียนแนวทางการเอาตัวรอดขณะรถยนต์จมน้ำไว้ในเว็บไซต์ brightside ได้อย่างน่าสนใจและเป็นประโยชน์หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นเราจะสามารถเอาตัวได้ 

 

เปิดทางรอดเมื่อเกิดเหตุ "รถจมน้ำ" ตั้งสติแล้วทำตามขั้นตอน ถอดรหัสจากเคสสลด

(ภาพใช้ในการประกอบเท่านั้น)

 

     โดยขั้นที่ 1 เมื่อรถตกหรือสัมผัสผิวน้ำ ให้รีบปลดเข็มขัดนิรภัยและลดกระจกรถลง ในขั้น 2 ควรสละรถ โดยพยายามปีนออกมาทางหน้าต่างที่เราสามารถเปิดไว้ ก่อนรถจะจมน้ำ ทั้ง 2 ขั้นตอนนี้มีเวลาทำเพียง 1 นาที เท่านั้น ผู้ประสบเหตุอย่าเสียเวลาเปิดประตูเพราะประตูจะไม่สามารถเปิดได้เนื่องจากมีแรงดันน้ำจากด้านนอกอยู่ ส่วนการปลดเข็มขัด แล้วทำการลดกระจกดันตัวออกมาสละรถนั้นเป็นวิธีที่ทำได้ทั้งกระจกระบบหมุนมือ และระบบไฟฟ้า ทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วว่าระบบกระจกไฟฟ้าในรถยังสามารถใช้ได้ดีแม้จะผ่านไป 10 นาที หลังรถจมน้ำ

 

 

 

     หากเกิดเหตุไม่คาดฝันกรณีไม่สามารถลดกระจกได้ก็ต้องยอมทุบกระจกเสียแต่ควรเป็นกระจกข้าง เพราะหากทุบกระจกหน้าจะไม่แตกด้วยการออกแบบอันแข็งแรง ทนต่อการกระแทกนั่นเอง การทุบกระจกให้แตกอย่างง่ายควรทุบตรงมุมเนื่องจากเป็นมุมเปราะที่สุด หากมีเด็กติดอยู่ในรถด้วยควรปลดเข็มขัดนิรภัยของเด็กเล็กออกก่อนจากนั้นค่อยไล่ตามลำดับ  

 

เปิดทางรอดเมื่อเกิดเหตุ "รถจมน้ำ" ตั้งสติแล้วทำตามขั้นตอน ถอดรหัสจากเคสสลด

(ภาพใช้ในการประกอบเท่านั้น)

 

     ส่วนอีกกรณีหนึ่งหากรถไม่สามารถเปิดกระจกได้เนื่องจากน้ำเข้าไปเต็มตัวรถจนไม่สามารถเปิดประตูรถได้หรือแม้แต่ทุบกระจกรถ ผู้ประสบเหตุต้องเสี่ยงรอให้น้ำท่วมเต็มรถก่อน เพื่อให้มีแรงกดดันภายในและภายนอกเท่ากัน ประตูรถถึงจะสามารถเปิดออกได้ แต่วิธีนี้ต้องตั้งสติอย่างมากหากพลาดเพียงนิดอาจหมายถึงชีวิต จากนั้นให้ว่ายน้ำตามฟองอากาศ เพราะแน่นอนว่าเมื่อถึงตอนนั้นผู้ประสบเหตุจะไม่มีสติคิดหรือตัดสินใจอะไรได้ดี จนทำให้หลงทิศทาง ยิ่งหากน้ำที่ตกลงไปเป็นน้ำขุ่นแล้วยิ่งหาทางออกได้ยากอาจว่ายจนหลงทิศหมดแรงก่อนถึงผิวน้ำ

 

    เหนือสิ่งอื่นใดผู้ประสบเหตุควรมีสติอยู่ตลอดเวลา หากพบน้ำท่วมขังระดับสูงอย่าเสี่ยงขับผ่านไปเพราะน้ำอาจเข้าไปในตัวเครื่องจนทำให้รถดับอย่างกรณีของ น.ส.ภานุมาศ ได้ ดังนั้นหากจะขับฝ่าไปควรประเมินความพร้อมของสิ่งแวดล้อมด้านนอกให้ดีเสียก่อนเพื่อป้องกันการเกิดเหตุสลดขึ้น

 

 

ขอขอบคุณข้อมูล brightside