แผ่นดินไหว ฮอกไกโด คร่า 16 ชีวิต ย้อนรอย 5 ธรณีพิโรธ โลกไม่ลื

ประเทศญี่ปุ่นได้ขึ้นชื่อว่ามีระบบป้องกันภัยจากธรรมชาติ ที่ดีที่สุดประเทศหนึ่ง แต่ทว่าในห้วงไม่กี่เดือนมานี้ประเทศญี่ปุ่นต้องประสบภัยธรรมชาติที่รุนแรงอยู่หลายครั้ง จนนำมาซึ่งความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้

แผ่นดินไหว ฮอกไกโด คร่า 16 ชีวิต ย้อนรอย 5 ธรณีพิโรธ โลกไม่ลื

 

    ประเทศญี่ปุ่นได้ขึ้นชื่อว่ามีระบบป้องกันภัยจากธรรมชาติ ที่ดีที่สุดประเทศหนึ่ง แต่ทว่าในห้วงไม่กี่เดือนมานี้ประเทศญี่ปุ่นต้องประสบภัยธรรมชาติที่รุนแรงอยู่หลายครั้ง จนนำมาซึ่งความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้ ราวกับจะเป็นเครื่องย้ำเตือนว่า ถึงแม้มนุษย์จะสติปัญญาและความเจริญที่สูงส่งมากเพียงใด แต่อย่างไรแล้วก็ไม่สามารถที่จะอยู่เหนือกฏเกณฑ์แห่งธรรมชาติไปได้
 

    จากกรณีสื่อต่างประเทศรายงานความคืบหน้าเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในระดับ 6.6 แมกนิจูด บนเกาะฮอกไกโด ทางเหนือสุดของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดเหตุดินถล่มลงมาทับบ้านเรือนของประชาชนหลายหลัง วันนี้ได้รับการยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็นอย่างน้อย 16 คน ขณะที่ยังคงมีผู้สูญหายอีก 26 คน โดยรายชื่อผู้สูญหายส่วนใหญ่อยู่ในแถบชนบทขนาดเล็ก และกองกำลังป้องกันตนเองกำลังเร่งค้นหาอย่างต่อเนื่อง 

 

    วันนี้สำนักข่าวทีนิวส์จะพาทุกท่านย้อนประวัติศาสตร์ เพื่อไปดูเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นและได้สร้างรอยแผลที่ยากเกินกว่าจะลบเลือนหายไปจากความทรงจำ เพื่อเป็นที่ประจักษ์ว่าสิ่งที่ธรรมชาติได้กระทำไว้กับมนุษย์นั้นมีความโหดร้ายมากเพียงใด

 

 

แผ่นดินไหว ฮอกไกโด คร่า 16 ชีวิต ย้อนรอย 5 ธรณีพิโรธ โลกไม่ลื

 

    เหตุการณ์แรก 1 กันยายน 2546 เป็นที่จดจำกันในชื่อ  “The 1923 Great Kanto earthquake”  แผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นบริเวณที่ราบคันโต บนเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น โดยเวลาที่เกิดแผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้นประมาณช่วงเที่ยงวัน กินระยะเวลา 4-10 นาที แต่ด้วยความรุนแรงที่วัดได้กว่า 7.9 ริกเตอร์ และอยู่ในช่วงเวลาอาหารกลางวันซึ่งต้องใช้เตาไฟ จึงเป็นเหตุให้เกิดพายุเพลิงไหม้ลุกลามข้ามเมืองเป็นบริเวณกว้าง เผาไหม้บ้านเกือบ 4 แสนหลังคาเรือน ต้องใช้เวลากว่า 3 วันจึงจะดับเพลิงได้สำเร็จ ซ้ำร้ายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวได้ไม่นาน พายุไต้ฝุ่นลูกใหญ่ก็ได้ก่อตัวขึ้นพร้อมกับคลื่นสึนามิสูงกว่า 10 เมตร จนตัวเลขผู้เสียชีวิตสูงขึ้นกว่า 140,000 ราย เรียกได้ว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

แผ่นดินไหว ฮอกไกโด คร่า 16 ชีวิต ย้อนรอย 5 ธรณีพิโรธ โลกไม่ลื

 

    เหตุการที่สองเกิดขึ้นเมื่อ 16 ธ.ค. 2463 หรือ "1920 Gansu earthquake" เหตุแผ่นดินไหวในครั้งนี้ เกิดในเวลาประมาณ 2 ทุ่ม ณ มณฑลไห่หยวน เมืองจงเว่ย เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย ประเทศจีน ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ที่เทศมณฑลไห่หยวน แต่มีเมืองที่ได้รับความเสียหายตามมาอีกหลายเมือง เช่น ซีอาน ไท่หยวน ซีหนิง ความรุนแรงของแผ่นดินไหวกว่า 7.8 ริกเตอร์ เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินถล่มลงมาฝังหมู่บ้าน แม่น้ำบางสายล้นทะลักเข้ามาท่วมพื้นที่ใกล้เคียง ที่เลวร้ายที่สุดคือส่งผลให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาเป็นเวลา 3 ปี คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 200,000 คน

 

 

แผ่นดินไหว ฮอกไกโด คร่า 16 ชีวิต ย้อนรอย 5 ธรณีพิโรธ โลกไม่ลื

 

    ถัดมากับเหตุการณ์ที่สาม นับเป็นเหตุแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในโลกในรอบ 200 ปี จากแผ่นดินไหวที่มีแรงสั่นสะเทือน 7 ริกเตอร์ เกิดขึ้นที่ประเทศเยติ เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2553 โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศไปราว 25 กิโลเมตร สำหรับสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่นี้เกิดจากรอยเลื่อน รวมถึงบริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหวนั้นใกล้กับบริเวณอ่าวซึ่งมีดินอ่อนลักษณะเหมือนเป็นโคลนชุ่มด้วยน้ำ ยิ่งช่วยทำให้แรงสั่นสะเทือนขยายได้รุนแรงมากขึ้น

 

 

แผ่นดินไหว ฮอกไกโด คร่า 16 ชีวิต ย้อนรอย 5 ธรณีพิโรธ โลกไม่ลื

 

    ผลกระทบจากฝันร้ายในครั้งนี้มากเกินคณานัป ทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบกว่า 3 ล้านคน และเสียชีวิตกว่า 220,000 คน หลายๆ ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยได้ระดมความช่วยเหลือทั้งเงินและอุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยเหลือ ทั้งยังมีการจัดตั้งองค์กรการกุศลเพื่อฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยโดยตรงอีกด้วย

แผ่นดินไหว ฮอกไกโด คร่า 16 ชีวิต ย้อนรอย 5 ธรณีพิโรธ โลกไม่ลื

 

    เหตุการณ์ที่สี่ นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์แห่งความสูญเสียที่ยังคงฝังลึกอยู่ในความทรงจำของคนไทยหลายคน ทั้งผู้ประสบภัยโดยตรง และประชาชนที่มีโอกาสได้ติดตามข่าวสาร เพราะแผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก จนทำให้เกิดการสูญเสียในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน

 

 

แผ่นดินไหว ฮอกไกโด คร่า 16 ชีวิต ย้อนรอย 5 ธรณีพิโรธ โลกไม่ลื

 

    โดยช่วงเช้าของวันที่ 26 ธ.ค. 2547 ได้เกิดแผ่นดินไหวชนิดรุนแรงมากใต้มหาสมุทรอินเดียโดยเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกใต้มหาสมุทร ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่บริเวณด้านตะวันตกของเกาะสุมาตราทางเหนือ ด้วยความรุนแรงของแผ่นดินไหวในระดับ 9.3 ริกเตอร์ ประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้วยคลื่นยักษ์ที่สูงกว่า 30 เมตร ความรุนแรงของคลื่นได้เข้าท่วมทำลายหมู่เกาะและประเทศต่างๆ โดยรอบมหาสมุทรอินเดียรวมถึงทะเลอันดามันของประเทศไทยที่เชื่อมกับมหาสมุทรอินเดีย

 

    ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตกว่า 170,000 ราย ส่วนประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากคลื่นยักษ์สึนามิประมาณ 8,200 ราย และในเหตุการณ์ครั้งนี้ก็นำความเศร้าสลดครั้งยิ่งใหญ่มาสู่คนไทย เพราะได้สูญเสียคุณพุ่ม เจนเซน พระโอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี 

 

แผ่นดินไหว ฮอกไกโด คร่า 16 ชีวิต ย้อนรอย 5 ธรณีพิโรธ โลกไม่ลื

 

    เหตุการณ์สุดท้ายที่หยิบยกมานี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2519 ขณะที่ชาวเมืองถังชาน มณฑลเหอเป่ย กำลังอยู่ในห้วงภวังค์ แสงอาทิตย์ยังไม่ทันจะพ้นขอบฟ้า ราวกับธรณีพิโรธเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงขึ้นชนิดที่ไม่มีใครคาดคิด ด้วยความสั่นสะเทือนที่วัดบนพื้นได้ถึง 7.5 ริกเตอร์ และวัดได้ประมาณ 11 ริกเตอร์ในระดับใต้พื้นราว 11-15 กิโลเมตร เป็นความรุนแรงที่สามารถกวาดทุกอย่างให้ราบเป็นหน้ากลองได้ในเวลาเพียง 20 วินาที แม้กรุงปักกิ่งซึ่งอยู่ห่างออกไป 150 กิโลเมตร ก็รู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนในครั้งนี้

 

    เพราะด้วยเมืองถังชานยังไม่มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีแต่หน่วยอนามัยเล็กๆ การช่วยเหลือจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก ผู้รอดชีวิตจึงทำได้เพียงใช้มือหรือวัตถุ เช่น จอบ เสียม ในการขุดหาร่างผู้รอดชีวิตคนอื่นๆ บรรยากาศจึงเต็มไปด้วยความเศร้าสลด และปกคลุมไปด้วยความสิ้นหวัง ภายหลังฝันร้ายได้สิ้นสุดลง ได้มีการฟื้นฟูบูรณะเมืองถังชานครั้งยิ่งใหญ่ รวมถึงมีการสร้างอนุสาวรีย์รำลึกผู้เสียชีวิตกว่า 240,000 คนจากโศกนาฏกรรมในครั้งนี้
 

    และทั้งหมดนี้ก็เป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่โลกได้จารึกถึงความโหดร้ายของธรรมชาติ แน่นอนว่าคงไม่มีใครรู้อนาคตว่าจะเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมซ้ำรอยเฉกเช่นในอดีตหรือไม่ แต่บทเรียนในอดีตก็ทำให้มนุษย์ได้ตระหนักและหามาตรการป้องกันเพื่อลดความรุนแรงจากภัยธรรมชาติมาโดยตลอด