เท่าทัน "โรคพิษสุนัขบ้า" ไม่ถูกกัดก็เสี่ยงติดเชื้อได้ เปิดใจความสำคัญก่อนจะสายเกินไป

จากกรณีทารกเพศหญิงวัย 19 วัน ถูกสุนัขจรจัดกัดจนเป็นแผลเหวอะหวะตามใบหน้า ลำคอ หน้าอก และจมูกฉีก อาการสาหัส เจ้าหน้าที่มูลนิธิใต้เต็กตึ๊งจึงรีบนำส่งโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชเป็นการเร่งด่วน

    จากกรณีทารกเพศหญิงวัย 19 วัน ถูกสุนัขจรจัดกัดจนเป็นแผลเหวอะหวะตามใบหน้า ลำคอ หน้าอก และจมูกฉีก อาการสาหัส เจ้าหน้าที่มูลนิธิใต้เต็กตึ๊งจึงรีบนำส่งโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชเป็นการเร่งด่วน ต่อมาทราบภายหลังว่าสุนัขตัวที่กัดนั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ขณะนี้แพทย์ได้ให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว แต่อาการยังไม่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบว่าแผลบริเวณศีรษะ เริ่มมีอาการติดเชื้อเป็นหนอง เกรงว่าจะกระทบถึงสมอง

 

เท่าทัน "โรคพิษสุนัขบ้า" ไม่ถูกกัดก็เสี่ยงติดเชื้อได้ เปิดใจความสำคัญก่อนจะสายเกินไป

 

    รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ได้ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้อาการของทารกยังไม่เป็นที่น่าวางใจ ยังต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดในห้องไอซียูเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ส่วนทางด้านปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เร่งประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบสุนัขจรจัดที่เหลือในพื้นที่ ว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าด้วยหรือไม่ เพื่อหาทางควบคุมป้องกัน ไม่ให้มีผู้เคราะห์ร้ายเพิ่มขึ้นอีก

 

 

เท่าทัน "โรคพิษสุนัขบ้า" ไม่ถูกกัดก็เสี่ยงติดเชื้อได้ เปิดใจความสำคัญก่อนจะสายเกินไป

 

    โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบีส์ ไวรัส (Rabies) ทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น คน สุนัข แมว ลิง ชะนี กระรอก ค้างคาว ฯลฯ โรคนี้เมื่อเป็นแล้วจะทำให้มีอาการทางประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง และถ้าเป็นแล้วเสียชีวิตทุกราย ในปัจจุบันยังไม่มียาอะไรที่จะรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้

    ชื่อของโรคทำให้เข้าใจกันผิดคิดว่าโรคนี้เกิดกับสุนัขเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วโรคนี้เกิดกับสัตว์เลือดอุ่นด้วย โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด  เช่น แมว ชะนี ลิง กระรอก กระแต หนู ค้างคาว แต่ทว่าสุนัขเป็นตัวแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด มนุษย์สามารถติดต่อโรคจากสัตว์เหล่านี้ได้สองทางด้วยกันคือ ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด เชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลที่ถูกกัดและถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลียบริเวณที่มีบาดแผลหรือรอยถลอกหรือรอยขีดข่วนในกรณีนี้จะทำให้สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ รวมทั้งถูกเลียที่ริมฝีปากหรือนัยน์ตา

 

    ระยะแรกนั้น ผู้ติดเชื้อจะมีไข้ต่ำรวมถึงอาการเบื่ออาหารและอ่อนเพลีย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณแผลที่โดนกัดต่อไปจะมีอาการตื่นเต้นง่าย กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ไม่ชอบลม และไม่ชอบเสียงดัง กลืนลำบาก แม้จะเป็นของเหลวหรือน้ำ เจ็บมากเวลากลืน เพราะการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน ระยะสุดท้ายจะมีอาการชัก จากการที่ส่วนสำคัญของสมองถูกทำลายและเสียชีวิตในที่สุด

 

 

เท่าทัน "โรคพิษสุนัขบ้า" ไม่ถูกกัดก็เสี่ยงติดเชื้อได้ เปิดใจความสำคัญก่อนจะสายเกินไป
 

    สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกสุนัขบ้าหรือสัตว์ที่สงสัยว่าบ้ากัด ควรล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาด ฟอกด้วยสบู่ 2-3 ครั้ง แล้วทาแผลด้วยน้ำยาพิวิดีน (เบตาดีน) หรือแอลกอฮอล์ แล้วรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที ผู้ที่ต้องมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าคือ ผู้ที่มีบาดแผลที่เกิดจากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นรอยช้ำเขียวหรือมีเลือดไหล แผลถลอกหรือแผลลึก รวมทั้งผู้ที่ถูกสุนัขเลียที่นัยน์ตา ริมฝีปาก และผิวหนังที่มีแผลถลอก ส่วนในกรณีที่ถูกเลียผิวหนังที่ไม่มีแผลหรือเพียงแต่อุ้มสุนัขไม่สามารถจะติดโรคได้

    วิธีสังเกตุสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า สามารถพบได้สองแบบคือแบบดุร้าย จะมีอาการหงุดหงิด ไล่กัดคนหรือสัตว์ตัวอื่นๆ ถ้าพันธนาการไว้ในกรงหรือพื้นที่จำกัด จะกัดโซ่หรือกรงอย่างดุร้ายจนกระทั่งฟันหักหรือเป็นแผล แต่เมื่อแสดงอาการได้ 2-3 วัน จะอ่อนเพลียลงและตายในที่สุด ส่วนแบบเซื่องซึมสัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอาการหุบปากไม่ได้ ลิ้นมีสีแดงคล้ำและห้อยออกมานอกปากมีอาการคล้ายกระดูกติดคอ โดยเจ้าของมักจะเอามือล้วงแต่ไม่พบอะไร มักกินของแปลกๆ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน หรือบางตัวจะกินปัสสาวะของตัวเอง จะไม่มีความก้าวร้าวถ้าไม่ถูกรบกวน ซึ่งแบบนี้จะสังเกตุอาการยากมากดังนั้น หากสุนัขตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรตัดหัวเพื่อนำไปพิสูจน์ก่อน

 

 

เท่าทัน "โรคพิษสุนัขบ้า" ไม่ถูกกัดก็เสี่ยงติดเชื้อได้ เปิดใจความสำคัญก่อนจะสายเกินไป
 

 

    นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการฉีดเซรุ่มเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าล่วงหน้าโดยการฉีดเพียง 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งวัคซีนนี้สามารถฉีดได้ไม่จำกัดอายุ โดยเฉพาะเด็กที่มักเล่นกับสัตว์และมีโอกาสถูกสัตว์กัดรวมถึงเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนล่วงหน้าคือเมื่อถูกสัตว์กัด การฉีดวัคซีนกระตุ้นเพียง 1-2 เข็ม ร่างกายก็จะได้ภูมิต้านทานที่สูงพอจะป้องกันโรคอย่างได้ผล และไม่เสี่ยงต่อการแพ้เซรุ่ม หรือเจ็บปวดจากการฉีดเซรุ่มรอบๆ แผล

 

    อย่างไรก็ตามควรหมั่นสังเกตอาการสัตว์รอบตัว และพิจารณาถึงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคพิษสุนัขบ้าขึ้นกับตัวเองเพื่อหาทางป้องกัน ก่อนที่จะสายเกินไป

 

 

เท่าทัน "โรคพิษสุนัขบ้า" ไม่ถูกกัดก็เสี่ยงติดเชื้อได้ เปิดใจความสำคัญก่อนจะสายเกินไป