จับตา 2กลุ่มทุนใหญ่ รุกคืบแผนกินรวบประเทศ? ซีพี-ปตท. คิดผูกขาด รถไฟความเร็วสูง-ธุรกิจยา?

จับตา 2กลุ่มทุนใหญ่ รุกคืบแผนกินรวบประเทศ? ซีพี-ปตท. คิดผูกขาด รถไฟความเร็วสูง-ธุรกิจยา?

ถือเป็นประเด็นใหญ่เมื่อสื่อใหญ่อย่าง "คมชัดลึก"  นำเสนอประเด็นร้อนว่าด้วย คำเตือนสำคัญ ว่า  "ระวัง!ซีพี-ปตท.ผูกขาดประเทศ ยึดรถไฟความเร็วสูง-ธุรกิจยา"  แสดงรายละเอียดข้อมูล สะท้อนการรุกของทุนใหญ่ในประเทศที่น่าจับตามองและต้องมองด้วยการตั้งข้อสังเกตอย่างหนักว่านี่คือการรุกเพื่อเข้าไปกุมหัวใจของเศรษฐกิจไทยในทุกภาคส่วนหรือไม่ นั่นคือการสยายปีกไปยังธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของตัวเองโดยใช้อำนาจทุน เชื่อมโยงกับอำนาจการเมืองในยุคคสช. เพื่อครอบงำสัมปทานรถไฟความเร็วสูงและธุรกิจยา ดังที่มีกระแสกังวลอยู่

 

จับตา 2กลุ่มทุนใหญ่ รุกคืบแผนกินรวบประเทศ? ซีพี-ปตท. คิดผูกขาด รถไฟความเร็วสูง-ธุรกิจยา?

เริ่มต้นจากบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด(มหาชน) หรือ ซีพี ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ มหาเศรษฐีของเมืองไทย ที่เป็นเจ้าพ่อธุรกิจการเกษตรและค้าปลีกมุ่งมั่นปักธงจะยึดรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)  ข่าวออกมาเป็นระยะว่าเครือซีพีหมายมั่นปั้นมือที่จะได้รถไฟความเร็วสูงสายนี้  ถึงขนาดที่บริษัทในเครือไปกว้านซื้อที่ดินในแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงนี้ไว้แล้วกว่าหนึ่งหมื่นไร่

 

จับตา 2กลุ่มทุนใหญ่ รุกคืบแผนกินรวบประเทศ? ซีพี-ปตท. คิดผูกขาด รถไฟความเร็วสูง-ธุรกิจยา?

 

ผู้บริหารซีพีมั่นใจว่าต้องได้โครงการนี้ถึงขนาดขนสื่อกลุ่มใหญ่ไปดูงานและดูตัวผู้ร่วมทุนในโครงการนี้ถึงฝรั่งเศส อิตาลี และจีน ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งที่การยื่นประกวดราคาเพื่อประมูลโครงการนี้จะเริ่มในเดือนพฤศจิกายนนี้ และยังไม่มีกลุ่มทุนใดขยับเขยื้อนถึงขนาดนำทัพสื่อไปดูงานราวกับว่า จับจองโครงการนี้ไว้แล้ว

 

ขนาดปตท.ที่สนใจเข้าร่วมประมูลด้วยการให้บริษัทลูกซึ่งดูแลด้านอสังหาริมทรัพย์ เข้าร่วมประมูล แม้ว่าจะอยากได้แค่ไหนแต่ไม่กล้าขยับออกนอกกรอบเพราะเกรงข้อครหา “จับจอง” โครงการ แค่ ปตท.ประกาศตัวขอเข้าลงแข่งประมูลก็ถูกวิจารณ์แล้วว่าทำธุรกิจนอกธุรกิจหลักของตัวเอง ที่นอกจากผูกขาดธุรกิจค้าน้ำมันและก๊าซ กำลังจะเข้ามาผูกขาดธุรกิจด้านคมนาคมและอสังหาริมทรัพย์

 

การลงทุนทำรถไฟในอดีตคือการลงทุนที่ขาดทุน ไฉนปัจจุบันทั้งซีพีและปตท.ถึงอยากลงทุน แน่นอนถ้าคิดเฉพาะค่าโดยสารโอกาสคืนทุนนั้นอีกยาวไกล น่าจะเกิน 30 ปี แต่ผลประโยชน์ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามสถานีรถไฟความเร็วสูง ธุรกิจการพัฒนาสถานี การให้เช่าป้ายโฆษณา และบัตรเติมเงินต่างๆ นั่นคือกำไรมหาศาลที่สองกลุ่มธุรกิจนี้จ้องตาเป็นมัน

 

จับตา 2กลุ่มทุนใหญ่ รุกคืบแผนกินรวบประเทศ? ซีพี-ปตท. คิดผูกขาด รถไฟความเร็วสูง-ธุรกิจยา?

 

ทั้งสองกลุ่มมีสิทธิ์ที่จะเข้าไปประมูลโครงการนี้โดยไม่มีใครมีสิทธิ์ไปขวาง ตราบใดที่เข้าประมูลอย่างเป็นธรรม และไม่ใช้อำนาจเงินที่มีอยู่ไปโน้มน้าวจิตใจผู้มีอำนาจทั้งฝ่ายราชการและการเมืองให้เข้าข้างตน ซึ่งสังคมและสื่อควรจับตาอย่างไม่กะพริบ (รวมทั้งบรรดาสื่อมวลชนที่ได้รับเชิญจากกลุ่มซีพีไปดูงานก่อนใคร) 

สอดรับกับข้อมูลปรากฎก่อนหน้า  ระบุว่า   โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) วงเงินกว่า 2.2 แสนล้านบาท ได้รับความสนใจจากล้นหลามจากบริษัทเอกชนรายใหญ่อย่างน้อย 5 ราย ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) , บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (มหาชน)  ว่ากันว่าทั้งหมดจะผนึกกำลังจับมือแข่งขันกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี  ซึ่งมีพันธมิตรหลักอย่างกลุ่มทุนจีนและญี่ปุ่น  ประกอบด้วย ไชน่า เซาธ์ โลโคโมทีฟ แอนด์ โรลลิ่ง สต๊อค (China South Locomotive and Rolling Stock) หรือที่รู้จักกันในอีกนามว่า "ไชน่า เซาเธิร์น เรลเวย์" จากประเทศจีน และบริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จากญี่ปุ่น

 

จับตา 2กลุ่มทุนใหญ่ รุกคืบแผนกินรวบประเทศ? ซีพี-ปตท. คิดผูกขาด รถไฟความเร็วสูง-ธุรกิจยา?

ภาพจาก ฐานเศรษฐกิจ

 

ขณะเดียวกันกรณีของ "ซีพี"  ก็ยังมีเรื่องธุรกิจยาที่สังคมกำลังติดตาม  และธุรกิจสองกลุ่มนี้เหมือนกันกำลังมีแผนที่จะเข้ามาช่วงชิงเค้กในธุรกิจยา โดย ปตท.ไปจับมือกับองค์การเภสัชกรรมในการตั้งโรงงานผลิตยา และกำลังแยกธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจน้ำมัน โดยเฉพาะร้านค้าปลีกในปั๊มน้ำมันภายใต้ชื่อ Jiffy ขณะที่ซีพีกำลังรุกเรื่องมุมขายยาในร้าน 7-11 ที่มีมากขึ้น

 

จับตา 2กลุ่มทุนใหญ่ รุกคืบแผนกินรวบประเทศ? ซีพี-ปตท. คิดผูกขาด รถไฟความเร็วสูง-ธุรกิจยา?

 

การรุกของทั้งสองค่ายมาพร้อมๆ กับการเสนอแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.ยา ที่จะอนุญาตให้วิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่เภสัชกรจ่ายยาได้ นั่นจะทำให้อำนวยความสะดวกต่อร้านสะดวกซื้อให้สามารถขายยาได้ ซึ่งกำลังมีการต่อต้านจากบรรดาผู้มีวิชาชีพเภสัชกรและแพทย์ว่า จะเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในท้ายที่สุด 

 

โดยกรณีของ "ซีพี"   สำนักข่าวอิศรา  เคยรายงานข้อมูลน่าสนใจว่า   เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2561 ที่ผ่านมา บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 6/2561 เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2561 ที่ผ่านมา พิจารณาทราบการจัดตั้งบริษัท ออลล์ เวลเนส จำกัด (ALL Wellness Col, Ltd.) มีทุนจดทะเบียนจัดตั้ง 1 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดย CPALL เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพให้กับชุมชนด้วยนวัตกรรมระบบดิจิทัล และสร้างความสะดวกในการดูแลสุขภาพให้กับชุมชน รวมถึงแนะนำให้คำปรึกษาการดูแลสุขภาพกับชุมชนโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ (อ้างอิงข่าวจาก ตลท.)

 

และจากข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยังพบว่า บริษัท ออลล์ เวลเนส จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2561 ทุนปัจจุบัน 1 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 119 อาคารธาราสาทร ชั้น 11 ถ.สาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. แจ้งประกอบธุรกิจ ร้านขายปลีกสินค้าทางเภสัชภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ การขายปลีกยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์ยาอื่น ๆ รวมถึงการขายปลีกสมุนไพร และเครื่องเทศที่ใช้ยาไทยแผนโบราณ

 

จับตา 2กลุ่มทุนใหญ่ รุกคืบแผนกินรวบประเทศ? ซีพี-ปตท. คิดผูกขาด รถไฟความเร็วสูง-ธุรกิจยา?

 

ขณะที่ในช่วงต้นปี 2561  ก็มีรายงานข่าวว่าปตท.กับองค์การเภสัชกรรม ได้ส่งสัญญาณในการเป็นพันธมิตรเพื่อทำธุรกิจผลิตยา  โดยทางด้าน น.พ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม และ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมลงนามในพิธีบันทึกข้อตกลงระหว่างองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็ง และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตสารออกฤทธิ์ทางยา (Active Pharmaceutical Ingredient, API) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการผลิตยา เสริมสร้างความมั่นคง และยกระดับอุตสาหกรรมยาของไทยให้ทัดเทียมสากล อันก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมแก่คนไทยและประเทศไทย

 

ด้วยข้อมูลทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุให้มีการนำสองเรื่องร้อนทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และเรื่องธุรกิจยา ที่มีมูลค่ามากกว่าแสนล้านบาทมานำเสนอ และถ้าเป็นไปตามแผนของสองกลุ่มทุนยักษ์นี้ ชีวิตคนไทยจะยิ่งต้องถูกผูกไว้กับทั้งซีพีและปตท.มากยิ่งขึ้น

 

 

 ที่มา   คอลัมน์...  กวาดบ้านกวาดเมือง  โดย...  ลมใต้ปีก ,  สำนักข่าวอิศรา , ฐานเศรษฐกิจ