ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม

11 ก.ย. 2001 อีกหนึ่งโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุด ที่ทิ้งรอยแผลฉกรรจ์ไว้ในความทรงจำของชาวอเมริกา และสร้างความสะเทือนขวัญไปทั่วทั้งโลก จากเหตุการณ์เครื่องบินพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซนเตอร์ในมหานครนิวยอร์คและสำนักงานเพนตากอน

    11 ก.ย. 2001 อีกหนึ่งโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุด ที่ทิ้งรอยแผลฉกรรจ์ไว้ในความทรงจำของชาวอเมริกา และสร้างความสะเทือนขวัญไปทั่วทั้งโลก จากเหตุการณ์เครื่องบินพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซนเตอร์ในมหานครนิวยอร์คและสำนักงานเพนตากอน

 

    ถึงแม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมากว่า 17 ปี แต่บาดแผลจากเหตุการณ์นี้ก็ยังคงเป็นเสมือนแผลสด ที่ไม่สามารถสมานได้โดยง่าย คงเหลือทิ้งไว้แต่ ซากปรักหักพังในจิตใจของเหล่าผู้สูญเสียอย่างไม่มีวันลบเลือน และการก่อวินาศกรรมในครั้งนี้ยังนำมาซึ่งชนวนของสงครามอันยืดเยื้อระหว่างผู้นำโลกเสรีกับคู่ปฏิปักษ์ ราวกับเป็นสงครามความเชื่อและศาสนาที่ได้กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง

 

    และในวันนี้เป็นวันที่ 11 ก.ย. ได้เวียนมาบรรจบ สำนักข่าวทีนิวส์จะพาทุกท่านย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ 9/11 หรือโศกนาฏกรรมตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์กันอีกครั้ง

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม

 

    เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (World Trade Center) เป็นกลุ่มอาคาร 7 อาคาร ออกแบบโดยสถาปนิกลูกครึ่งญี่ปุ่น-อเมริกัน นามว่า มิโนรุ ยามาซากิ ก่อสร้างขึ้นในปี 1966 แล้วเสร็จในปี 1977 โดยตั้งตระหง่านอยู่ในมหานครนิวยอร์ค เป็นศูนย์กลางด้านการเงินในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ และยังเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีผู้คนมากหน้าหลายตาใช้พบปะกันอยู่เป็นประจำ ด้วยเหตุนี้เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์จึงเปรียบเสมือนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ของอารยธรรมและความศิวิไลซ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา
 

    11 ก.ย. 2001 ในช่วงเวลาที่คนไทยหลายคนกำลังจะเข้านอนหรือบางครอบครัวกำลังพร้อมหน้าพร้อมตาอยู่บนโต๊ะอาหาร แต่อีกฟากหนึ่งของโลกที่ควรจะเป็นเช้าอีกวันของชาวนิวยอร์คที่ใช้ชีวิตโดยปกติเฉกเช่นทุกวัน แต่ทว่าไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะห์หัวรุนแรง 19 คน ได้ทำการจี้เครื่องบินพาณิชย์ ทั้งหมด 4 ลำ โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการพลีชีพโจมตีสถานที่สำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด 4 แห่งด้วยกัน

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม  

 

    ลำแรกคือเครื่องบินของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 พุ่งเข้าชนกับตึกเหนือของอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เมื่อเวลา 8.46 น. ต่อมาในเวลาไล่เลี่ยกันผูู้ก่อการร้ายได้บังคับเครื่องบินของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 อีกเครื่องพุ่งเข้าชนตึกใต้ เมื่อเวลา 9.03 น. การพุ่งชนของเครื่องบินทั้ง 2 ลำก่อให้เกิดการระเบิดขนาดใหญ่ ด้วยน้ำมันที่บรรทุกมาเต็มเครื่องยิ่งเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี จนทำให้ไฟลุกท่วมไปทั่วทั้งสองอาคาร

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม  

 

    ปรากฏภาพอันชวนสังเวชใจของผู้คนที่พยายามจะหนีให้พ้นจากมัจจุราชและความร้อน ด้วยการห้อยตัวลงมาจากที่สูง บางคนเลือกที่จะกระโดดลงมาบนความสูงกว่า 1,300 ฟุตเพื่อจบชีวิตตัวเองก่อนที่จะโดนไฟคลอก บรรยากาศเต็มไปด้วยความโกลาหล เสียงกรีดร้องของผู้คนที่หนีตายเต็มไปทั่วอาณาบริเวณ ทีมดับเพลิงและหน่วยกู้ภัยพยายามเข้าควบคุมสถานการณ์อย่างเต็มที่

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม

    เหตุการณ์ไม่มีวี่แววว่าจะสงบลงโดยง่าย แต่แล้วอีกด้านหนึ่งบนผืนฟ้ารัฐเวอร์เจีย ผู้ก่อการร้ายอีกกลุ่มได้ทำการจี้เครื่องบินของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบิน 77 พุ่งเข้าชนปีกด้านตะวันตกของอาคารห้าเหลี่ยม หรือเพนตากอน ที่ทำการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอมริกา เมื่อเวลา 9.37 น. แต่เคราะห์ดีที่อาคารด้านนั้นอยู่ในช่วงซ่อมแซม เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่บริเวณนั้น ตัวเลขผู้เสียชีวิตจึงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม
 

    ส่วนอีกลำคือสายการบินของยูไนเต็ดแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 93 ที่โหม่งลงพื้นโลกตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ เมื่อเวลา 10.03 น. ซึ่งต่อมาได้มีการตรวจสอบเครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน พบว่าทั้งลูกเรือและผู้โดยสารพยายามขัดขืนเพื่อที่จะยึดการควบคุมเครื่องคืนจากผู้ก่อการร้าย เป็นเหตุให้สลัดอากาศตัดสินใจหมุนเครื่องบินให้เครื่องตก จนกลายเป็นวีรกรรมที่หลายคนยกย่องเชิดชูให้ผู้โดยสารเที่ยวบินนี้เป็นผู้กล้าหาญ มีการคาดการณ์ว่าเป้าหมายที่แท้จริงของการโจมตีครั้งนี้คืออาคารรัฐสภาหรือทำเนียบขาว
 

    จากความเสียหายทางโครงสร้างอย่างรุนแรงของอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ จนเมื่อเวลา 10.28 น. ในที่สุดอาคารทั้งสองได้ถล่มลงมาฝังทั้งร่างของเจ้าหน้าที่และพลเรือนหลายคนเสียชีวิตในทันที หากแต่บางคนกลับถูกฝังทั้งเป็น ไม่เพียงเท่านั้นการโจมตีในครั้งนี้ ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อแมนฮัตตันตอนล่าง จากการแพร่กระจายของก๊าซพิษและฝุ่นละออง ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ ที่เหลือจะพยายามควบคุมสถานการณ์อย่างเต็มที่แล้วก็ตามแต่ด้วยเพราะเปลวเพลิงที่โหมกระหน่ำ อาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่เหลืออยู่จึงไม่อาจยืนหยัดได้อีกต่อไป อาคารที่้เหลือถล่มพินาศสิ้นเมื่อเวลา 17.21 น. และกลายเป็นกราวด์ซีโร่ (Ground Zero) ในเวลาต่อมา

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม

 

    ปรากฏตัวเลขผู้เสียชีวิตจากวินาศกรรมในครั้งนี้ทั้งสิ้น 2,966 คน ประกอบด้วยผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบิน 19 คน และเหยื่อ 2,977 คน โดยแบ่งเป็นผู้โดยสารบนเครื่องบินจำนวน 246 คน ซึ่งไม่มีผู้รอดชีวิตเลยแม้แต่รายเดียว เหยื่อ 2,606 คนในนิวยอร์ก และ 125 คนที่เพนตากอน โดยในจำนวนนั้นมีทหาร 55 นาย

 

    นอกจากผู้เสียชีวิตในเหตุวินาศกรรม ยังมีผู้เสียสละชีวิตจากการกู้ภัยอีกจำนวนมาก ได้แก่ นักผจญเพลิงของนครนิวยอร์ก 343 นาย ตำรวจนครนิวยอร์ก 23 นาย ตำรวจการท่าเรือของนิวยอร์กและนิวเจอร์ซีย์ 37 นาย และผู้สูญหายอีก 24 คน

    การก่อการร้ายในครั้งนี้ถูกทั่วโลกประณามว่าเป็นการกระทำที่ไร้ซึ่งมนุษยธรรม เพราะคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์  เมื่อปี 1941 แน่นอนว่ามีการพุ่งเป้าไปที่ ผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะห์อย่างรวดเร็ว โดยมี อุซามะห์ บิน ลาดิน ผู้นำกลุ่ม

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม  

 

    ในตอนแรก อุซามะห์ บิน ลาดิน ยังคงยืนกรานที่จะปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ แต่ภายหลังก็ยอมรับและอ้างความรับผิดชอบในเหตุวินาศกรรมที่เกิดขึ้น สหรัฐฯ ได้ประกาศสงครามโต้ตอบกลุ่มผู้ก่อการร้ายด้วย ยุทธวิธีทางการทหาร โดยประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror) เพื่อกวาดล้างและขับไล่รัฐบาลตาลีบันที่ให้การสนับสนุนกลุ่มอัลกออิดะห์ในทันที แน่นอนว่ามิใช่เป็นเพียงการแก้แค้น แต่คือการกอบกู้เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของผู้นำโลกเสรีประชาธิปไตยให้กลับมาอีกครั้ง

 

    อย่างไรก็ตามงบประมาณและกำลังพลทางการทหารที่สหรัฐทุ่มเทให้กับปฏิบัติการปลิดชีพ อุซามะห์ บิน ลาดิน ด้วยสงครามอันยืดเยื้อกว่า 10 ปีนั้นไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเลขได้ แต่หลายยุทธการก็นำมาซึ่งความสูญเสียจนก่อกำเนิดขึ้นเป็นวีรกรรมที่ถูกเล่าขานในเวลาต่อมา ดั่งเช่นที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม

 

    ในปี 2005 ดำเนินยุทธการปีกแดง หรือ Operation Red Wing เป็น ปฏิบัติการชิงตัว ผู้นำระดับสูงของตาลีบัน ที่คาดว่ามีความใกล้ชิดกับ อุซามะห์ บิน ลาดิน ในชายแดนอัฟกานิสถาน เป็นเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของกองทัพสหรัฐฯ เมื่อ US Navy SEAL กว่า 16 คน ที่อยู่บนเครื่องซินุคต้องเสียชีวิตยกลำจากการโดนถล่มด้วย RPG ของกลุ่มตาลีบัน และอีก 3 ชีวิตที่ต้องทิ้งลมหายใจสุดท้ายไว้บนเทือกเขาฮินดูกูชอัน

 

ปฏิบัติการในครั้งนี้มีผู้รอดชีวิตกลับมาเพียง 1 คน คือ Marcus Luttrell ที่ต่อมาได้ทำการบันทึกเรื่องราวทั้งหมดลงในหนังสือชื่อ Lone Survivor และได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนต์เมื่อปี 2013

 

    และแล้วกว่า 10 ปีของการตามหา อุซามะห์ บิน ลาดิน ชนิดแทบจะพลิกแผ่นดิน สำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ หรือ CIA ก็สามารถรวบรวมข้อมูลและระบุแหล่งกบดานของ อุซามะห์ บิน ลาดิน ได้ในเวลาต่อมา กระทั่งวันที่ 2 พ.ค. 2011 หน่วย SEAL Team Six กองกำลังหน่วยรบพิเศษระดับพระกาฬของกองทัพสหรัฐฯ ได้ดำเนินยุทธการหอกเนปจูน หรือ Operation Neptune Spear และสามารถปลิดชีพผู้ก่อการร้ายที่โด่งดังไปทั่วโลกได้ในที่สุด

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม

 

    ต่อมาได้มีการสร้างอาคารขึ้นใหม่บริเวณกราวด์ซีโร่หรือพื้นที่ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เดิม และตั้งชื่อว่า "วันเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์" (1 World Trade Center) โดยมีชื่อเรียกเดิมว่า "ฟรีดอมทาวเวอร์" เป็นอาคารหลังเดียว 94 ชั้น มีความสูงราว 541 เมตร โดยเริ่มสร้างเมื่อปี 2549 แล้วเสร็จในปี 2557

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม

 

    และแล้วในวันนี้ทุกอย่างได้กลายเป็นอดีต แต่ทว่าเวลากลับไม่สามารถเยียวยาได้ทุกสิ่ง เพราะความเจ็บปวดจากความสูญเสียของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ย่อมมิได้พร่าเลือนไปตามกาลเวลา เหตุการณ์ 9/11 ยังคงเป็นเสมือนฝันร้ายที่ยังคงตราตรึงอยู่ในทุกห้วงภวังค์ของชาวอเมริกันต่อไป

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม

 

 

ห้วงเวลาแห่งฝันร้าย 11 ก.ย. ย้อนรำลึก 9/11 วินาศกรรมโลกไม่ลืม