จะ "พีท หรือ มิ้งค์" ก็ต้องหลบ "บอย สกล" ของแท้ มโนระดับปริญญาถอดพฤติกรรมจำเลยสังคม หรือผู้ป่วย จิตเภท

เรียกได้ว่าเป็นอีกกระแสร้อนแรงบนโลกโซเชียลจากกรณีชายหนุ่มนิรนามผู้หนึ่งนามว่า "บอยสกล" ที่ได้สร้างตัวตนและโปรไฟล์สุดแสนจะเพอร์เฟคโดยการอ้างตัวว่าตนเป็นนิสิตของสถาบันชั้นนำในประเทศ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับแต่ทว่า "ความจริง" ก็ยังคงเป็น "ความจริง" อยู่วันยังค่ำ

    เรียกได้ว่าเป็นอีกกระแสร้อนแรงบนโลกโซเชียลจากกรณีชายหนุ่มนิรนามผู้หนึ่งนามว่า "บอยสกล" ที่ได้สร้างตัวตนและโปรไฟล์สุดแสนจะเพอร์เฟคโดยการอ้างตัวว่าตนเป็นนิสิตของสถาบันชั้นนำในประเทศ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับแต่ทว่า "ความจริง" ก็ยังคงเป็น "ความจริง" อยู่วันยังค่ำ เพราะด้วยความสามารถของนักสืบโซเชียล ทำให้เรื่องราวปรากฏว่าแท้จริงแล้วชายผู้นี้ไม่ได้ศึกษาหรือมีความเกี่ยวข้องกับสถาบันดังกล่าวแต่อย่างใด และที่เลวร้ายกว่านั้นพบว่ายังมีพฤติกรรมที่หลอกลวงเงินจากผู้อื่นอีกด้วย จนกลายเป็นที่มาของแฮชแทก #บอยสกล บนทวิตเตอร์เพียงชั่วข้ามคืน
 

    วันนี้สำนักข่าวทีนิวส์ได้รวบรวมเรื่องราวทั้งหมดมาให้ทุกท่านได้รับชมกันโดยละเอียด เพราะความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น

 

 

จะ "พีท หรือ มิ้งค์" ก็ต้องหลบ "บอย สกล" ของแท้ มโนระดับปริญญาถอดพฤติกรรมจำเลยสังคม หรือผู้ป่วย จิตเภท

 

    แท้จริงแล้ว บอย สกล เป็นคน จ.ฉะเชิงเทรา ไม่ใช่ จ.สกลนคร อย่างที่หลายคนเข้าใจ เมื่อปี 2554 นายบอยไม่ได้เรียนต่อชั้น ม.ปลาย เพราะผลการเรียนไม่ดี และด้วยเหตุนี้เองการเดินทางที่แสนยาวไกลของชายหนุ่มผู้นี้จึงได้เริ่มต้นขึ้น ในเวลาต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เขต" เริ่มต้นหลอกคนอื่นด้วยการใส่ชุดนักเรียนของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และอัพลงโซเชียลมีเดีย แน่นอนว่าในตอนนั้นโซเชียลมีเดียยังไม่ได้รับความนิยมอย่างเช่นทุกวันนี้ ทำให้หลายคนหลงเชื่อเขาได้โดยไม่ยากนัก ทว่ามีนักเรียนสวนกุหลาบบางกลุ่มจับได้ว่า บอย สกล ไม่ใช่นักเรียนในสถาบันแห่งนี้แต่อย่างใด เป็นเหตุให้เขาต้องยอมสลัดคราบของนักเรียนสวนกุหลาบ (จอมปลอม) มาสวมเครื่องแบบของโรงเรียนเตรียมอุดมแทน

 

    ประหนึ่งว่าเป็นนักเรียนกิจกรรมดีเด่น เพราะ บอย สกล ไม่เพียงแต่จะเข้าไปนั่งเรียน แต่ยังเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนและเข้าร่วมการรับน้องอีกด้วย แต่แน่นอนว่าท้ายสุดก็ลงอีหรอบเดิม คือโดนจับได้ในที่สุด

 

 

จะ "พีท หรือ มิ้งค์" ก็ต้องหลบ "บอย สกล" ของแท้ มโนระดับปริญญาถอดพฤติกรรมจำเลยสังคม หรือผู้ป่วย จิตเภท

 

    ชีวิตในวัยขาสั้นของเขาได้จบลงแต่เพียงเท่านี้ ตรงกันข้ามการผจญภัยสู่โลกกว้างครั้งใหม่ของเขากำลังจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาตัดสินใจก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยการสวมชุดยูนิฟอร์มกันอย่างดื้อๆ ไม่ต้องมีสอบโอเนตเอเนตหรือสอบตรงแต่อย่างใด ช่างเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขกับผองเพื่อน ทั้งการถ่ายรูปและทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน ก่อนที่จะมาโผล่ในรั้วจามจุรีในชุดยูนิฟอร์มของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

จะ "พีท หรือ มิ้งค์" ก็ต้องหลบ "บอย สกล" ของแท้ มโนระดับปริญญาถอดพฤติกรรมจำเลยสังคม หรือผู้ป่วย จิตเภท  

 

    และแล้ว บอย สกล ก็ได้โลดแล่นเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จนได้รับการยอมรับดั่งที่ใจเขาปรารถนา เพราะปรากฏภาพที่เขาได้มีโอกาสถือป้ายในงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ รวมทั้งภาพถ่ายอีกมากมายที่เจ้าตัวลงในโซเชียลของตน ไม่เพียงเท่านี้ยังมีอีกหลากหลายกิจกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เขาได้เข้าร่วม ถึงขนาดว่ามีภาพผลการเรียน แต่ท้ายสุดก็มีคนจับได้ว่าเป็นภาพตัดต่อ

 

 

จะ "พีท หรือ มิ้งค์" ก็ต้องหลบ "บอย สกล" ของแท้ มโนระดับปริญญาถอดพฤติกรรมจำเลยสังคม หรือผู้ป่วย จิตเภท

 

    เมื่อเรื่องทั้งหมดเริ่มจะฉาว มีการพบต่อมาว่าแท้จริงแล้วสถาบันที่ บอย สกล เคยเรียนคือมหาวิทยาลับบูรพา คณะวิศกรรมศาสตร์ เข้าเรียนเมื่อปี 2557 แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็โดนรีไทร์ จากเกรดเฉลี่ยที่ไม่ถึงเกณฑ์ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลระบุว่า บอย สกล เข้าร่วมกิจกรรมในคณะและได้ทำการเรียกเก็บเงินรุ่นเป็นจำนวนกว่า 8 แสนบาท ก่อนที่จะเชิดเงินทั้งหมดหนีหายไป

    สาเหตุที่ทำให้เรื่องทั้งหมดถูกเปิดเผยเพราะ บอย สกล ทำเรื่องเป็นผู้รับผิดชอบ "ค่ายวิชาการกระดานดำ" แต่เมื่อทางสภานิสิตฯ นำข้อมูลผู้รับผิดชอบโครงการไปกรอกในระบบฐานข้อมูลของจุฬาฯ กลับไม่พบว่ามีชื่อและรหัสของ บอย สกล ในฐานข้อมูล เมื่อเรื่องถูกแฉก็ไม่มีใครพบเห็นแม้แต่เงา

 

    ล่าสุดภายหลังมีการขึ้น แฮชแทก #บอยสกล เนื่องจากเรื่องราวทั้งหมดถูกเปิดโปง บอย สกล ได้ทำการปิดโซเชียลทั้งหมดของตนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทว่าเรื่องราวทั้งหมดยังไม่สิ้นสุดลงแต่เพียงเท่านี้แน่นอน เพราะสถาบันต่างๆ ที่ถูกแอบอ้าง รวมถึงผู้เสียหายได้รวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินคดีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

 

    ทางด้านแฟนเพจ "พี่แนะแนวน้องจุฬาฯ-ฉะเชิงเทรา" ได้ออกหนังสือแถลงการณ์ถึงเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า ที่ผ่านมาได้พยายามพิสูจน์ความจริงจาก บอย สกล หลายครั้งแล้ว แต่ถูกบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด จนมาทราบความจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้น ยอมรับว่าตนนั้นถูกหลอกและเป็นผู้เสียหายเช่นกัน และประกาศว่าต่อจากนี้ บอย สกล จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับทางเพจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกต่อไป

 

    ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนานิสิตฯ เปิดเผยว่า ทางมหาวิทยาลัยค่อนข้างเปิดกว้างในการที่จะให้นิสิตได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม จึงไม่มีการตรวจสอบที่เข้มงวด อาจทำให้เกิดช่องโหว่ซึ่งหลังจากนี้ก็ขอความร่วมมือให้ทุกคนช่วยสอดส่องเพื่อที่จะได้ไม่เกิดกรณีเช่นนี้อีก

 

 

จะ "พีท หรือ มิ้งค์" ก็ต้องหลบ "บอย สกล" ของแท้ มโนระดับปริญญาถอดพฤติกรรมจำเลยสังคม หรือผู้ป่วย จิตเภท

 

    อย่างไรก็ตามในทางการแพทย์เรียกอาการแบบนี้ว่า โรคหลอกตัวเอง หรือ Pathological Liar คืออาการผิดปกติทางจิตที่ทำให้ผู้ป่วยพูดโกหกได้เรื่อยๆ โดยจุดประสงค์ก็เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือมีความต้องการเพิ่มคุณค่าให้ตัวเอง

 

    สาเหตุที่นำมาซึ่งอาการเหล่านี้ จากการศึกษาทางจิตวิทยาของคณะจิตเวชศาสตร์ Chandigarh University ประเทศอินเดีย พบว่า โรคหลอกตัวเองมักจะมีจุดเริ่มต้นจากการแต่งเรื่องหลอกตัวเองเพื่อหลบหนีความจริงที่ไม่อยากรับรู้ จึงสร้างเรื่องหลอกตัวเองซ้ำๆ กระทั่งเข้าใจว่าเรื่องที่มโนขึ้นมานั้นเป็นเรื่องจริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ซึ่งนอกจากการศึกษาชิ้นนี้แล้ว ในทางจิตวิทยายังระบุไว้ว่าอาจมีสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่

- ความขัดแย้งในครอบครัว อยู่ในครอบครัวที่มีปัญหามาตั้งแต่เด็กๆ
- ถูกกระทำชำเรา ถูกทำร้ายร่างกาย หรือบังคับขืนใจในบางเรื่อง
- ความผิดปกติทางประสาท เช่น ความพิการทางสมอง ความบกพร่องทางการเรียนรู้
- ผลข้างเคียงจากโรคยั้งใจไม่ได้ (Impulse control disorders) มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตัวเอง ซึ่งอาจมีอาการของโรคชอบขโมยของ หรือโรคบ้าช้อปปิ้งร่วมด้วย
- ลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมเลียนแบบ
- อาการของโรคบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น มีบุคลิกภาพของอันธพาล โรคหลงตัวเอง หรือโรคบุคลิกภาพก้ำกึ่ง เป็นต้น

 

 

จะ "พีท หรือ มิ้งค์" ก็ต้องหลบ "บอย สกล" ของแท้ มโนระดับปริญญาถอดพฤติกรรมจำเลยสังคม หรือผู้ป่วย จิตเภท

 

โรคหลอกตัวเองสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ 

 

กลุ่มแรก กลุ่มที่ป่วยเป็นโรคจิตเวชอยู่แล้ว ในประเภทนี้มักมาจากการหลงผิด ซึ่งส่งผลให้มีความคิดและความเข้าใจไปตามอาการหลงผิดของตัวเอง ทำให้การเล่าความเท็จลื่นไหลเสมือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ หากมีใครมาขัดใจหรือล้างความคิดของเขา อาจเกิดความรู้สึกไม่พอใจตามมา 

 

กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการป่วยในกลุ่มนี้มักเกิดขึ้นจากปมร้ายแรงในใจ ที่เกิดขึ้นในอดีตจึงเป็นที่มาของการสร้างเรื่องราวเท็จเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น แต่ลึกๆ ในใจก็ยังมีสติและจำความเจ็บปวดได้อยู่ดี

 

กลุ่มที่สามคือ กลุ่มที่มีปัญหาด้านบุคลิกภาพ กลุ่มนี้จัดว่าเป็นนิสัยที่ชอบโกหก ชอบพูดเท็จโดยกมลสันดาน ซึ่งหากไม่คิดกลับตัวกลับใจ นิสัยชอบหลอกตัวเองและโกหกผู้อื่นอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็ได้

 

    แนวทางในการรักษาโรคหลอกตัวเองนั้นต้องอยู่ภายใต้ความเชี่ยวชาญของแพทย์และต้องได้รับความร่วมมือจากตัวผู้ป่วยรวมถึงกำลังใจจากคนรอบข้าง ที่จะช่วยชักจูงให้เขายอมบำบัดรักษา ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

 

1. การว่ากล่าวตักเตือน ในกรณีที่ผู้ป่วยยังเป็นเด็กยังขาดวุฒิภาวะอาจให้การรักษาได้ด้วยวิธีการว่ากล่าวตักเตือนเมื่อเขาโกหก รวมทั้งควรได้รับคำแนะนำจากจิตแพทย์ในส่วนของบทลงโทษที่เหมาะสมกับผู้ป่วยชอบหลอกตัวเองด้วย

 

2. ความคิดและพฤติกรรมบำบัด ค่อยๆ ปรับทัศนคติและความคิดของผู้ป่วย โดยจิตแพทย์อาจหาเหตุผลที่แท้จริงของการหลอกตัวเองให้เจอก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ แก้ปมนั้นๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกับดึงเขากลับมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง

 

3. การใช้ยา ในกรณีที่สาเหตุของอาการป่วยมาจากวามผิดปกติของร่างกายบางอย่าง กรณีนี้แพทย์อาจสั่งยารักษาไปตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น ซึ่งอาจจะช่วยบรรเทาอาการหลงผิดหรือการหลงไปอยู่ในโลกแห่งการโกหกนั้นได้บ้างไม่มากก็น้อย

 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก scholarship

 

 

จะ "พีท หรือ มิ้งค์" ก็ต้องหลบ "บอย สกล" ของแท้ มโนระดับปริญญาถอดพฤติกรรมจำเลยสังคม หรือผู้ป่วย จิตเภท