หลังระทึกการบินไทย ลงจอดกะทันหัน ย้อนรอย TG311 เที่ยวบินนี้มีแต่ขาไป ลมหายใจสุดท้ายบนเทือกเขาหิมาลัย

"การบินไทย" ถือเป็นสายการบินหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและไว้วางใจมากที่สุดในประเทศไทย นับตั้งแต่สายการบินแห่งชาตินี้ ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2503 ก็เป็นเสมือนความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน

หลังระทึกการบินไทย ลงจอดกะทันหัน ย้อนรอย TG311 เที่ยวบินนี้มีแต่ขาไป ลมหายใจสุดท้ายบนเทือกเขาหิมาลัย

 

    "การบินไทย" ถือเป็นสายการบินหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและไว้วางใจมากที่สุดในประเทศไทย นับตั้งแต่สายการบินแห่งชาตินี้ ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2503 ก็เป็นเสมือนความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน ที่ทำให้ชาวต่างชาติได้ประจักษ์ถึงความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย รวมทั้งมาตราฐานการให้บริการและความปลอดภัย ที่ไม่แพ้ชาติใดๆ ในโลก

 

    แต่ทว่าการที่เครื่องบินของสายการบินนี้ ได้ทะยานอยู่บนฟากฟ้าทั่วโลกมาเกือบ 60 ปี ใช่ว่าจะไม่เคยมีความผิดพลาด เพราะอย่างไรแล้ว การที่มนุษย์เดินดินใช้สติปัญญาอันสูงส่ง จนสามารถรังสรรค์ยานพาหนะที่สามารถอยู่บนท้องฟ้าได้ราวกับเป็นนกนั้น ย่อมไม่ต่างอะไรกับการฝืนท้าทายกฏเกณฑ์แห่งธรรมชาติ

 

    เช่นเดียวกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา ของสายการบินไทยเที่ยวบิน TG315 เส้นทาง กรุงเทพ-นิวเดลี ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ เมื่อเวลา 17.55 น. เพื่อบินไปยังปลายทางกรุงนิวเดลี ประเทสอินเดีย แต่หลังจากเครื่องบินออกไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง นักบินพบว่ามีความผิดปกติของไฮดรอลิคควบคุมการเลี้ยวของเครื่องบินเสีย ทำให้ระบบทำงานไม่สมบูรณ์ จึงตัดสินใจประสานไปยังหอบังคับการบินสุวรรณภูมิ เพื่อขอทำการลงจอดเพราะเกรงว่าหากฝืนทำการบินต่ออาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตผู้โดยสารและลูกเรือทุกคน

 

 

หลังระทึกการบินไทย ลงจอดกะทันหัน ย้อนรอย TG311 เที่ยวบินนี้มีแต่ขาไป ลมหายใจสุดท้ายบนเทือกเขาหิมาลัย
 

    เหตุการณ์นี้ถือได้ว่าเป็นการตัดสินใจที่รอบคอบของนักบิน เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตทุกชีวิตบนเครื่องบิน เพราะหากเกิดอุบัติเหตุบนท้องฟ้าขึ้น ย่อมนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างประเมินค่ามิได้ เนื่องจากทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์เครื่องบินตกมักพบว่า "ไม่มีผู้รอดชีวิตแม้แต่รายเดียว" เฉกเช่นเหตุการณ์ในอดีตที่ได้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การบินว่าเป็นโศกนาฏกรรมบนท้องฟ้าที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะเที่ยวบินเที่ยวนี้ มีแต่ "ขาไป" แต่ไม่มี "ขากลับ"

หลังระทึกการบินไทย ลงจอดกะทันหัน ย้อนรอย TG311 เที่ยวบินนี้มีแต่ขาไป ลมหายใจสุดท้ายบนเทือกเขาหิมาลัย

 

    1 กรกฎาคม 2535 เครื่องบิน แอร์บัส A310 รหัส HS-TID ของสายการบินไทย เที่ยวบิน TG311 เที่ยวบิน กรุงเทพ – กาฎมัณฑุ ได้นำเครื่องขึ้นจากประเทศไทยไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ ตรีภูวัน กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ทว่าสภาพอากาศในวันดังกล่าวค่อนข้างแปรปรวนจากอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดกระหน่ำ ซ้ำร้ายในขณะนั้นท่าอากาศยานดังกล่าวยังไม่มีเรดาห์ จึงต้องใช้การติดต่อสื่อสารทางวิทยุระหว่างนักบินและหอบังคับการบินเป็นหลัก

 

 

หลังระทึกการบินไทย ลงจอดกะทันหัน ย้อนรอย TG311 เที่ยวบินนี้มีแต่ขาไป ลมหายใจสุดท้ายบนเทือกเขาหิมาลัย

 

    ขณะที่เครื่องบินอยู่ห่างจากสนามบินออกไป 12 ไมล์ และกำลังจะทำการลงจอด ได้เกิดปัญหาแฟลปไม่กางนักบินจึงพยายามแก้ไขจนแฟลปกลับมาทำงานได้ปกติแต่ทำให้เครื่องลดระดับช้าเกินไป ไม่อยู่ในตำแหน่งที่จะสามารถทำการลงจอดได้ เมื่อหอการบินรับทราบถึงปัญหาดังกล่าวจึงแนะนำให้นักบิน ตีวงเลี้ยวเพื่อกลับมาทำการลงจอดอีกครั้ง

 

    ทว่าความพยายามครั้งที่สองไม่เป็นผล นักบินจึงพยายามเป็นครั้งที่สาม ด้วยปัญหาในการสื่อสารระหว่างหอควบคุมการบินและนักบินประกอบกับต้องรอให้เครื่องของทางประเทศเนปาลอีกลำทำการลงจอดก่อน การบินวนรอบนี้จึงเกิดเป็นความผิดพลาด แทนที่นักบินจะบินลงใต้ที่เป็นที่ราบ กลับมุ่งขึ้นทางเหนือของสนามบินตรีภูวันที่เป็นเขตภูเขาสูง
 

    ทัศนวิสัยเริ่มเลวร้ายมากขึ้นนักบินจึงต้องพึ่งพาอุปกรณ์นำร่อง และคำแนะนำจากหอควบคุมการบินเป็นหลัก แต่ทว่าทางฝั่งหอควบคุมการบินกลับคิดว่าเครื่องกำลังมุ่งหน้าสู่เส้นทางการลงจอดจึงสั่งการให้นักบินรักษาระดับเพดานบินไว้เช่นเดิม โดยที่ไม่รู้ว่าคล้ายเป็นการสั่งให้นักบินมุ่งสู่ปากเหวของพญามัจจุราช

หลังระทึกการบินไทย ลงจอดกะทันหัน ย้อนรอย TG311 เที่ยวบินนี้มีแต่ขาไป ลมหายใจสุดท้ายบนเทือกเขาหิมาลัย

 

    กระทั่งผู้ช่วยนักบินเริ่มสังเกตเห็นถึงความผิดปกติจากสัญญาณเตือนและบอกให้กัปตันเลี้ยวกลับ ทว่าทุกอย่างสายเกินไป เบื้องหน้าของทั้งคู่ในระยะกระชั้นชิด คือภูเขาหิมาลัยที่มีความสูงกว่า 16,000 ในชั่วพริบตาเครื่อง TG311 เข้าปะทะกับภูเขาจนแหลกละเอียดไปทั้งลำที่ระดับ เพดานบิน 11,500 ฟุต กว่า 113 ชีวิต ประกอบด้วยลูกเรือ 14 คน และผู้โดยสาร 99 คน ต้องทิ้งลมหายใจสุดท้ายไว้ในดินแดนหิมาลัย โดยที่ไม่มีวันได้กลับมาตุภูมิ แน่นอนว่า "ไม่มีผู้รอดชีวิตแม้แต่รายเดียว" โดยจุดที่เครื่องตกนั้น อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติลังตัง (Langtang National Park) ห่างจากสนามบินไปทางเหนือ 40 กิโลเมตร

 

    สืบทราบต่อมาในภายหลังว่าโศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดจาก ความผิดพลาดของระบบบังคับการบินบนเครื่อง ความผิดพลาดในการสื่อสารระหว่างนักบินและเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินที่ใช้ภาษาอังกฤษแต่อาจด้วยเพราะสำเนียงของภาษาที่ไม่เข้าใจซึ่งกันและกันจึงนำมาซึ่งเหตุการณ์อันน่าสลดครั้งนั้น

 

 

หลังระทึกการบินไทย ลงจอดกะทันหัน ย้อนรอย TG311 เที่ยวบินนี้มีแต่ขาไป ลมหายใจสุดท้ายบนเทือกเขาหิมาลัย

 

    นอกจากนี้ก่อนเกินเหตุยังพบว่ามี เสียงสัญญาณเตือนจาก Ground Proximity Warning System ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องบิน ที่จะทำการเตือนนักบินในกรณีที่เครื่องกำลังจะเข้าไปหาภูเขาสูง โดยปกติแล้วเมื่อนักบินได้ยินเสียงดังกล่าวจะต้องทำการดึงเครื่องขึ้นทันที แต่สำหรับ TG311 ไม่มีโอกาสที่จะได้ทำเช่นนั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นความสูญเสียที่สุดครั้งหนึ่งสำหรับคนไทย ภายหลัง การบินไทยจึงเปลี่ยนรหัสของเที่ยวบิน กรุงเทพ-กาฐมาณฑุ จากเดิม TG311 มาเป็น TG319/320 
 

    อย่างไรก็ตามการเดินทางทุกประเภทย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ถึงแม้ว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินจะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยกว่าการเดินทางประเภทอื่น แต่อัตราการรอดชีวิตบนเครื่องบินนั้นถือว่าน้อยมาก แต่ที่สำคัญเมื่อเกิดเหตุอะไรขึ้น จงตั้งสติให้มั่น รัดเข็มขัด ตั้งใจฟังคำแนะนำของลูกเรือ อาจช่วยลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง

 

 

หลังระทึกการบินไทย ลงจอดกะทันหัน ย้อนรอย TG311 เที่ยวบินนี้มีแต่ขาไป ลมหายใจสุดท้ายบนเทือกเขาหิมาลัย