กลายเป็นเหตุสลดอีกหนึ่งเคสสำหรับ นายพัธรพล  เอกปฐมศักดิ์ หนุ่มวัย 48 ปี เจ้าของบริษัทอัลวาโร่ ไดฟ์วิ่ง และร้านอาหารบนเกาะเต่า ทำการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กนาทีลั่นไกปืน ให้เพื่อนในเฟซบุ๊กได้ชม เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา ภายในห้องนอนของตัวเอง ทั้งยังมีการแต่งกายในชุดพร้อมขับรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ และถือปืนเดินไปมาระหว่างไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊ก 

 

   กลายเป็นเหตุสลดอีกหนึ่งเคสสำหรับ นายพัธรพล  เอกปฐมศักดิ์ หนุ่มวัย 48 ปี เจ้าของบริษัทอัลวาโร่ ไดฟ์วิ่ง และร้านอาหารบนเกาะเต่า ทำการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กนาทีลั่นไกปืน ให้เพื่อนในเฟซบุ๊กได้ชม เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา ภายในห้องนอนของตัวเอง ทั้งยังมีการแต่งกายในชุดพร้อมขับรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ และถือปืนเดินไปมาระหว่างไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊ก 

 

ชําแหละความคิด "เสี่ยเกาะเต่า" ไลฟ์สดปลิดชีพ สัญญาณอันตรายสู่การสูญเสีย

 

    จากนั้นได้ปิดการไลฟ์และตัดสินใจก่อเหตุในที่สุด หลังรับแจ้งเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองสุราษฎร์ธานี รีบรุดไปยังจุดเกิดเหตุพบศพของนายพัธรพล นอนอยู่บนเตียงสภาพศพมีบาดแผลถูกยิงเข้าที่ปลายคางทะลุศีรษะด้านขวา 1 นัด บนตัวพบอาวุธปืนขนาด 98 มม. วางอยู่บนอกนายพัธรพล 

 

      ทั้งนี้กระจกตู้เสื้อผ้าของนายพัธรพล  ยังมีการเขียนข้อความระบุว่า "ไม่เป็นไร ผมตัดสินใจเอง" และข้อความระบุว่า "ไม่มีงานศพเด็ดขาด" นอกจากนี้นายพัธรพล ยังมีการสั่งเสียถึงทรัพย์สินส่วนตัวบางส่วน ต้องการให้บุตรทั้ง 2 คน

 

ชําแหละความคิด "เสี่ยเกาะเต่า" ไลฟ์สดปลิดชีพ สัญญาณอันตรายสู่การสูญเสีย

 

 

ชําแหละความคิด "เสี่ยเกาะเต่า" ไลฟ์สดปลิดชีพ สัญญาณอันตรายสู่การสูญเสีย

 

 

    ในส่วนของญาตินายพัธรพล ไม่ติดใจสาเหตุการเสียชีวิต เพราะก่อนหน้าเกิดเหตุ 2 ชั่วโมง  นายพัธรพล ได้ไปโพสต์ข้อความผ่านเว็บไซต์พันทิประบายปมปัญหาในชีวิตและการทำธุรกิจบนเกาะเต่าซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมญาติของนายพัธรพล เชื่อว่าเป็นชนวนเหตุในการตัดสินใจจบชีวิตของนายพัธรพล เกิดจากความเครียดหลายด้านที่สะสมอยู่

 

ชําแหละความคิด "เสี่ยเกาะเต่า" ไลฟ์สดปลิดชีพ สัญญาณอันตรายสู่การสูญเสีย

 

     หากถอดพฤติกรรมของนายพัธรพล นั้นพบว่าต้องการแสดงออกมาให้สาธารณชนได้เห็นถึงวินาทีการฆ่าตัวตายของเขาเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการถ่ายทอดเรื่องราวสุดท้ายในชีวิตที่ตนไม่สามารถพูดออกมาได้ โดยการใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อกลางในวินาทีสุดท้าย ดังเช่นกรณีของนายพัธรพล ที่ได้กล่าวข้างต้นไปนั้นมีการไลฟ์สดพร้อมฝากข้อความถึงครอบครัวก่อนลั่นไกปืนจบชีวิต ซึ่งยังมีอีกหลายเคสที่ใช้สื่อออนไลน์ในการไลฟ์สดฆ่าตัวตายเป็นช่องทางให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านอื่นได้ชม

 

     ย้อนกลับไปวันที่ 2 ม.ค. 2561 เกิดเหตุเด็กสาว วัย 18 ปี ทำการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กโดยจ้างให้รถจักรยานยนต์แกร็บไบค์ที่ขี่ไปส่งเธอบริเวณ สะพานพระราม 8 ไลฟ์สดให้เธอขณะนั้นอยู่บนสะพาน ซึ่งท่าทางของเธอนั้นดูปกติ แต่แล้วอยู่ๆ เธอก็ตัดสินใจกระโดดลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาจบปัญหาชีวิตของตัวเอง เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบชื่อภายหลังว่าเธอชื่อ น.ส.นิตยา สวัสดิวรรณ เป็นชาวจังหวัดระนอง จากคำให้การของแกร็บไบค์พบว่า น.ส.นิตยา ได้ดื่มเหล้าโซจู ก่อนเกิดเหตุ ซึ่งก่อน น.ส.นิตยา จะกระโดดลงไปได้ชูสองนิ้วพร้อมทิ้งตัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากปัญหาชีวิตที่ต้องอยู่ตามลำพังในวัยเด็กเพราะแม่เสีย และความรักที่กำลังมีปัญหา

 

ชําแหละความคิด "เสี่ยเกาะเต่า" ไลฟ์สดปลิดชีพ สัญญาณอันตรายสู่การสูญเสีย

 

      คาดว่าเธออาจไม่มีทางออกหรือระบายผ่านช่องทางใดจึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น หลังจากเหตุการณ์นี้ออกไปกลายเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอย่างมาก รวมถึงประเด็นความไม่เหมาะสมในการใช้ช่องทางการเผยแพร่พฤติกรรมครั้งนี้อย่างเด่นชัดในสื่อสังคมออนไลน์ อาจกล่าวได้ว่าสังคมกลัวพฤติกรรมการเลียนแบบการฆ่าตัวตายแบบใหม่โดยใช้ช่องทางออนไลน์เป็นสื่อให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านอื่นเห็นวินาทีสุดท้ายของชีวิตนั่นเอง หากยิ่งเป็นบุคคลต้นแบบอย่างเน็ตไอดอล ถือเป็นเรื่องน่ากลัวกับพฤติกรรมเลียนแบบที่อาจเกิดขึ้นได้ในวัยรุ่นสมัยใหม่ติดโซเชียลหรือวัยทำงาน นี่เป็นเพียงเคสตัวอย่างเท่านั้นยังมีอีกหลายคนที่ต้องการใช้ช่องทางออนไลน์เป็นทางออกสุดท้ายถ่ายทอดเรื่องราวของชีวิต ที่ไม่ได้หยิบยกมาในที่นี่

 

ชําแหละความคิด "เสี่ยเกาะเต่า" ไลฟ์สดปลิดชีพ สัญญาณอันตรายสู่การสูญเสีย

 

 

     ด้านคุณหมอเอิ้น พิยะดา  จิตแพทย์นักแต่งเพลง  และ วิทยากรการใช้ความรักบันดาลความสุข เคยออกมาให้สัมภาษณ์ในกรณีการใช้โซเชียลไลฟ์สดปลิดชีพ อย่างน่าสนใจว่าการฆ่าตัวตายผ่านแอฟฯไลฟ์สด และการฆ่าตัวตายแบบไม่จำเป็นต้องป่วยโรคซึมเศร้า การที่คนมีสุขภาพจิตที่ไม่ดีย่อมนำไปสู่ความคิดฆ่าตัวตาย วางแผนและสุดท้ายคือการลงมือกระทำ  แต่ไม่ได้หมายความว่าสุขภาพจิตที่ไม่ดีนั้นคือโรคทางจิตเวชทั้งหมด เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องมีช่วงเวลาของชีวิตที่สุขภาพจิตไม่ดีเหมือนกันทุกคน  ซึ่งวิธีการสังเกตแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรก กรณีของคนปกติแต่มีความเครียดรุนแรง และ คนเป็นโรคซึมเศร้า กลุ่มนี้อาการก็จะออกมาเป็นลักษณะเก็บตัว พูดน้อย สีหน้าท่าทางเศร้าหมองตลอดเวลา เป็นเวลายาวนานพอสมควร

กลุ่มที่ 2 คนที่เกิดจากการเป็นโรคจิตประสาทหลอน กลุ่มนี้มักจะมีท่าทีระแวงว่าจะมีคนมาฆ่าหรือทำร้ายตัวเองหรือพูดว่าได้ยินเสียงสั่งให้ทำร้ายตัวเอง

กลุ่มที่ 3  คนที่เกิดอาการมึนเมา  หรือประสาทหลอนจากการใช้สารเสพติด  กลุ่มนี้จะคาดเดายาก

ส่วนกลุ่มบุคคลที่ไม่มีวี่แววการฆ่าตัวตายหรืออาการป่วยมาก่อนเลย หมอเอิ้นได้ยกบทความของ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล  อธิบายเหตุผล 10 ข้อที่น่าสนใจดังนี้

1. จุดมุ่งหมายของเขา คือเพื่อหาทางออกต่อปัญหา
2. เป้าหมาย คือ เพื่อจะได้ไม่ต้องรับรู้อะไรอีกต่อไป
3. ปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ ความทุกข์ทรมานใจที่ยากจะทนได้
4. ปัจจัยบีบคั้น (stressor) ได้แก่ ความผิดหวัง ไม่สมหวัง
5. ภาวะอารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกสิ้นหวัง หมดหนทาง
6. ความรู้สึกภายใน ได้แก่ ความรู้สึกสองจิตสองใจ
7. สภาวะความคิดอ่าน(cognitive state) ได้แก่ คือความคิดหรือการมองสิ่งต่างๆ คับแคบลง
8. พฤติกรรม ได้แก่ การพยายามหนีไป ณ ขณะนั้น
9. พฤติกรรมที่มีกับผู้อื่น คือ การบ่งบอกถึงเจตนาสิ้นสุดชีวิต
10. สิ่งที่พบบ่อย ได้แก่ รูปแบบการปรับตัวต่อปัญหาที่เป็นเช่นนี้มาตลอด

 

 

ชําแหละความคิด "เสี่ยเกาะเต่า" ไลฟ์สดปลิดชีพ สัญญาณอันตรายสู่การสูญเสีย

 

ส่วนข้อปฏิบัติและวิธีเบื้องต้น สำหรับครอบครัวหรือบุคคลทั่วไปที่กำลังมีญาติตกอยู่ในภาวะอยากฆ่าตัวตาย ต้องใช้วิธี "รับรู้" , "รับฟัง" , "เข้าใจ"

"รับรู้" รู้ว่าเค้ากำลังทุกข์ที่สุดในชีวิต รู้ว่าเค้ามีความคิด รู้ว่าอย่ากลัวกับการถามอย่างตรงไปตรงมาว่า "มีความคิดทำร้ายตัวเองใช่มั้ย?"  "ทำอย่างไร?" แค่รู้ว่ามีคนรับรู้ความทุกข์ ใจก็เบาไปกว่าครึ่ง

"รับฟัง" เปิดโอกาสให้เค้าระบายความอัดอั้นตันใจอย่างเต็มที่ พูดให้น้อยตั้งใจฟังให้มาก

"เข้าใจ" เข้าใจสาเหตุของความทุกข์จนเป็นที่มาของความคิดฆ่าตัวตาย และแสดงความเข้าใจนั้นออกมาให้เค้ารับรู้ เช่น โอบกอด ท่าทีห่วงใย น้ำเสียงนุ่มนวล

 

       ทางด้านการฆ่าตัวตายแบบไม่มีภาวะโรคซึมเศร้าไม่ใช่รูปแบบที่เป็นปกติของการฆ่าตัวตาย เพราะการฆ่าตัวตายเองความหมายคือการพาตัวเองออกไปจากความทุกข์นั้นโดยลึกๆในใจของผู้กระทำเองจะคิดว่า "ไม่อยากให้ใครเดือดร้อน" สังเกตว่าเค้าจะกระทำในที่ลับตา เวลาเงียบ อยู่คนเดียว ไม่เปิดโอกาสให้ใครได้ช่วยเหลือ อย่างกรณีของนายพัธรพล  ที่ใช้ปืน 9 มม. ลั่นไก ปลิดชีพตัวเอง

 

      แต่ในกรณีของการฆ่าตัวตายโดยหึงหวงและถ่ายทอดดังเช่นกรณีของน.ส.นิตยา กระโดดสะพานพระราม 8  หมอเอิ้นกล่าวว่าผู้กระทำต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ว่าตนนั้นกระทำในสิ่งที่ไม่ได้อยากกระทำ "ความหมายคือการประชด" ต้องการชี้ให้เห็นว่าตนนั้นเสียชีวิตอย่างไม่ปกติมีมูลเหตุมาจากปัญหาชีวิตด้านต่างๆ เช่นความรักเขามาเกี่ยงข้อง และระหว่างการกระทำอาจมีการคิดได้ในภายหลังแต่นั้นก็สายไปเสียแล้ว


  
    สำหรับอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรหนึ่งแสนคน ประจำปี 2560 จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตชี้ว่าจากการติดตามสถานการณ์ในรอบ 3 ปี ตั้งแต่ 2557-2559 ประเทศไทยมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ย 4,100 คนหรือพบทุก 2 ชั่วโมง อัตราอยู่ที่ 6.35 ต่อประชากรทุก 1 แสนคน ในปี 2560 ประมาณการว่าจะมีแนวโน้มลดลงที่ 6.03 ต่อประชากรทุก 1 แสนคน และจากจากผลสำรวจปัญหาสุขภาพจิตระดับชาติครั้งล่าสุดในปี 2556 พบคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป
มีอัตราพยายามฆ่าตัวตายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 คาดว่าทั่วประเทศจะมีประมาณ 53,000 คน ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานอายุ 35-39 ปี ในกลุ่มนี้ร้อยละ 15 จะกลับทำซ้ำอีกภายใน 1 ปี  และผู้ชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าผู้หญิงถึง 4 เท่า

 

    ทั้งนี้ทุกคนสามารถคิดที่จะฆ่าตัวตายประชดชีวิตได้จากอารมณ์ชั่ววูบในบางครั้ง ดังนั้นเราควรมีสติในการใช้ปัญญาตัดสินแก้ไขปัญหาที่เข้ามา แม้เครียดก็เครียดไม่นานหากเรารู้จักการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี และขอให้พึงระลึกไว้เสมอว่ายังมีผู้ที่อยู่ด้านหลังอีกหลายชีวิตรอช่วยแก้ปัญหากับผู้คิดฆ่าตัวตายอยู่เสมอ

 

ขอบคุณข้อมูล กรมสุขภาพจิต ,  sanook