อัพเดทล่าสุด ไต้ฝุ่น“มังคุด”ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ ไทยเจอผลกระทบ 17-19 ก.ย.เตรียมรับมือฝนหนัก

อัพเดทล่าสุด ไต้ฝุ่น“มังคุด”ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ ไทยเจอผลกระทบ 17-19 ก.ย.เตรียมรับมือฝนหนัก

จากกรณีที่กนช.อนุมัติปรับแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นแผนแม่บทสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 20  ปี สั่งเดินหน้าเร่งรัดการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย  พร้อมไฟเขียว  11  โครงการขนาดใหญ่และเร่งขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 162 โครงการนั้น 

 


ล่าสุดวันนี้ (14 ก.ย.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.)   ครั้งที่ 3/2561  ณ ตึกภักดีบดินทร์  ทำเนียบรัฐบาล  โดยมีพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีการประชุมวาระสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ

 

 

โดยภายหลังการประชุม พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานกนช. ได้เปิดเผยว่า การประชุมกนช.วันนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(พ.ศ.2557 -2562 )ซึ่งแบ่งเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค เป้าหมายเพื่อให้ทุกหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคบริโภค มีโครงการสำคัญที่ดำเนินการในระยะแรกคือ การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่หมู่บ้านที่ไม่มีระบบประปา 

 

 

โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการพัฒนาระบบประปาหมู่บ้าน ในพื้นที่หาน้ำยากและขาดแคลนน้ำ ไปแล้ว 7,291 หมู่บ้านเจาะบ่อบาดาลไปแล้ว 3,073 บ่อ โรงเรียนและชุมชนมีน้ำดื่มสะอาด 2,551 แห่ง นอกจากนั้นยังขยายเขตประปาเมืองได้อีก 78 แห่ง ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตเป้าหมายเพื่อให้ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมมีแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการจัดการอย่างสมดุล มีโครงการสำคัญ

 

 

ได้แก่ โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอด (ตอนบน) จ.ตาก โครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี โดยผลงานที่ผ่านมาสามารถก่อสร้างแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำใหม่ จำนวน 2.53 ล้านไร่ คิดเป็นปริมาณน้ำ 1,483 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทานเดิม จำนวน 4.72 ล้านไร่ พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน คิดเป็นปริมาณน้ำ 1,939ล้าน ลบ.ม. 

 


ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัยเป้าหมายเพื่อให้พื้นที่ชุมชน พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญและพื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและอุทกภัยน้อยที่สุด โครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง จ.ตรัง โครงการแก้มลิงบางระกำ จ.พิษณุโลก โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา โครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา โดยมีผลการดำเนินงานที่ผ่านมา คือการปรับปรุงทางน้ำเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ 291กิโลเมตร สามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองได้ 69 แห่ง การสามารถดำเนินการปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำในพื้นที่ภาคใต้แล้วเสร็จ 91 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 20 แห่ง 

 


ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำ เป้าหมายเพื่อให้แหล่งน้ำทั่วประเทศมีคุณภาพน้ำอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป และป้องกันระดับความเค็มไม่ให้เกินมาตรฐานของการเกษตร มีผลการดำเนินการด้านการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 58 แห่ง คุณภาพน้ำแหล่งน้ำอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป 29 แห่ง พื้นที่ได้รับการป้องกันความเค็ม 3 ลุ่มน้ำ  

 


ยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน เป้าหมายเพื่อให้พื้นที่ป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู โดยมีพื้นที่ป่าได้รับการฟื้นฟูแล้ว 0.49ล้านไร่ และพื้นที่ป้องกันและลดการพังทลายอีก 1.43ล้านไร่

 

และยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการ เป้าหมายเพื่อให้การบริหารจัดการลุ่มน้ำอย่างสมดุล มีกิจกรรมและโครงการสำคัญ ได้แก่ การดำเนินงานของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการ การจัดทำร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ….การจัดตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ การศึกษาแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการพัฒนาระบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ทั้งนี้ ได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และให้รายงานความก้าวหน้าให้กับ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ได้รับทราบอย่างต่อเนื่องแล้ว

 

 

ในส่วนของความก้าวหน้าการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี นั้นจะปรับชื่อใหม่เป็น “แผนแม่บท” เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายใหม่เพิ่มเติมรายยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนา/ขยายเขตระบบประปา เพิ่มประสิทธิภาพประปา 20,034 หมู่บ้าน  และพัฒนาน้ำประปา น้ำดื่ม ให้ได้มาตรฐานและราคาที่เหมาะสมให้ครบทุกหมู่บ้าน ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มผลิตภาพการใช้น้ำ สร้างมูลค่าเพิ่มให้น้ำอีก 10 เท่าจากปัจจุบัน และเพิ่มน้ำต้นทุนโดยปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อลดความเสี่ยงภัยแล้งยุทธศาสตร์ที่ 3 บรรเทาอุทกภัยระดับลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบทุกลุ่มน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำจำนวน 562 แห่ง ลำน้ำธรรมชาติสายหลักและสาขาระยะทาง 5,500กิโลเมตร ป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ชุมชนเมือง 764 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ 1.7 ล้านไร่


ยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย 105 แห่ง รักษาสมดุลของระบบนิเวศ 13 ลุ่มน้ำหลัก ยุทธศาสตร์ที่ 5 การป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำ 0.45 ล้านไร่  และยุทธศาสตร์ที่ 6 การจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ (ปกติ/วิกฤติ)/  ตลอดจนเจรจาความร่วมมือด้านน้ำกับต่างประเทศ ทั้งนี้ ความก้าวหน้าของการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาตินั้น ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการจัดทำรายละเอียด การกำหนดผู้รับผิดชอบ เป้าหมายตัวชี้วัด และการจัดทำแผนโครงการ ซึ่งการดำเนินการในส่วนนี้มีรายละเอียดการดำเนินการมาก จึงต้องมีการขยายเวลาการเสนอร่างแผนจากเดิมจะเสนอในเดือนกันยายนเป็นเดือนตุลาคมและจะได้นำเสนอ กนช. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งต่อไป 
    

 

สำหรับการดำเนินการโครงการขนาดใหญ่ และโครงการสำคัญนั้น นายสมเกียรติ  ประจำวงษ์  เลขาธิการ สทนช. ในฐานะกรรมการและเลขานุการ กนช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาถึงการดำเนินโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ มูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอย่างเป็นระบบ (Area Based) ในปี 2562 ที่พร้อมดำเนินการมีทั้งสิ้น  11 โครงการ รวมวงเงินทั้งสิ้นประมาณ 73,679 ล้านบาท  โดย 4โครงการได้ผ่านการพิจารณาของ กนช.แล้วคือ โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เลย โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จ.หนองคาย โครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี จ.ชัยภูมิ และโครงการบรรเทาอุทกภัย เมืองชัยภูมิ (ระยะที่1) คงเหลือที่จะเสนอเพิ่มเติมอีก 7  โครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและมีความพร้อมที่จะดำเนินการ คือ โครงการอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองแสนแสบโครงการอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองทวีวัฒนา โครงการประตูระบายลำน้ำพุง-น้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ   โครงการประตูระบายน้ำบ้านก่อ พร้อมระบบส่งน้ำ จ.สกลนคร  โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา  และโครงการอ่างเก็บน้ำลำสะพุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จ.ชัยภูมิ 


นอกจากนั้นในด้านของการขับเคลื่อนแผนงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านพัฒนาแหล่งน้ำสทนช.ได้จัดลำดับความสำคัญในการพิจารณาแผนงาน งบประมาณโครงการพระราชดำริที่มีความพร้อม ไม่ติดปัญหาอุปสรรคใด เป็นลำดับแรก ซึ่งสามารถจัดกลุ่มแนวทางการขับเคลื่อนโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการและยังไม่ได้ดำเนินการ ประกอบด้วย


1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จำนวน 78 โครงการ 


2. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 จำนวน 22 โครงการ  

 


และ 3. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จำนวน 62 โครงการ ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้ สำนักงาน กปร. ร่วมกับ สทนช. สรุปความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการพัฒนาโครงการพระราชดำริทั้งหมดเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้อย่างต่อเนื่องต่อไปด้วย 
 

ล่าสุดศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะฉุกเฉิน ได้รายการสถานการณ์น้ำและพายุในประเทศไทย เพิ่มเติม ระบุว่า  วันนี้ (14 ก.ย.)ฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกทั้งนี้เมื่อเวลา19.00 น.วานนี้ พายุดีเปรสชัน “บารีจัต” (BARIJAT) บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว

 

อัพเดทล่าสุด ไต้ฝุ่น“มังคุด”ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ ไทยเจอผลกระทบ 17-19 ก.ย.เตรียมรับมือฝนหนัก

(ไต้ฝุ่นมังคุด)

 

 

ส่วนพายุไต้ฝุ่น “มังคุด” (MANGKHUT) เมื่อเวลา 04.00 น. บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก หรือด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ และจะเคลื่อนลงทะเลจีนใต้ตอนบน ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. 61หลังจากนั้นผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน เข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ 

 

 

ในช่วงวันที่ 16-18  ก.ย. 61ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้บริเวณพื้นที่รับลมมรสุมด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในช่วงวันที่ 17-19 ก.ย. 61 ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงดินโคลนถล่ม

 

อัพเดทล่าสุด ไต้ฝุ่น“มังคุด”ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ ไทยเจอผลกระทบ 17-19 ก.ย.เตรียมรับมือฝนหนัก

 

แม่น้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ มีระดับน้ำน้อยถึงน้ำปานกลาง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีระดับน้ำปานกลางถึงมากมีน้ำสูงกว่าตลิ่งบางแห่ง โดยต้องเฝ้าระวัง แม่น้ำสาขาที่ไหลลงแม่น้ำโขงแม่น้ำนครนายก จ.นครนายก และแม่น้ำปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี

 

 

อัพเดทล่าสุด ไต้ฝุ่น“มังคุด”ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ ไทยเจอผลกระทบ 17-19 ก.ย.เตรียมรับมือฝนหนัก

 

แม่น้ำโขง ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังจังหวัดริมแม่น้ำโขงเนื่องจากยังคงมีฝนตกในพื้นที่ และมีปริมาณน้ำจากสถานีจิงหง ประเทศจีนเพิ่มขึ้น

 

 

อัพเดทล่าสุด ไต้ฝุ่น“มังคุด”ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ ไทยเจอผลกระทบ 17-19 ก.ย.เตรียมรับมือฝนหนัก


วันนี้ (14 ก.ย.) พื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 49 จังหวัดได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรสาคร นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง

 

 

อัพเดทล่าสุด ไต้ฝุ่น“มังคุด”ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ ไทยเจอผลกระทบ 17-19 ก.ย.เตรียมรับมือฝนหนัก

 


24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากใน ภาคเหนือ (ลำพูน 70.0 มม. เชียงราย 69.0 มม. ตาก 61.0 มม. น่าน 56.0 มม.) ภาคกลาง (กำแพงเพชร 91.0 มม. กรุงเทพมหานคร 60.0 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลราชธานี 202.5 มม. ศรีสะเกษ 115.6 มม. อุดรธานี 94.0 มม. ชัยภูมิ 61.0 มม. เลย 58.5 มม. ) ภาคตะวันออก (ปราจีนบุรี 95.3 มม. สระแก้ว 67.6 มม. ตราด 66.0 มม. ระยอง 65.0 มม.)  ภาคตะวันตก (ประจวบคีรีขันธ์ 61.5 มม.)และภาคใต้ (สตูล 58.5 มม.)

 

 

อัพเดทล่าสุด ไต้ฝุ่น“มังคุด”ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ ไทยเจอผลกระทบ 17-19 ก.ย.เตรียมรับมือฝนหนัก

 

 

 

อัพเดทล่าสุด ไต้ฝุ่น“มังคุด”ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ ไทยเจอผลกระทบ 17-19 ก.ย.เตรียมรับมือฝนหนัก