แผนพัฒนาฟุตบอลอาชีพ กลไกยกระดับสู่ความยั่งยืน

ติดตามเพิ่มเติม www.tnews.co.th

          ปัจจุบันมีการแบ่งเป้าหมายในการแข่งขันกีฬาของนักกีฬา รวมทั้งบุคคลต่างๆ ออกไปหลายรูปแบบ ทั้งเพื่อความเป็นเลิศ, เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึงเพื่อนำไปประกอบอาชีพ และสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) มีแผนการการสร้างไปสู่กีฬาอาชีพอย่างแท้จริง ซึ่งที่ผ่านมามีการส่งเสริมให้กีฬาอาชีพในด้านต่างๆ มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างลีกกีฬาต่างๆ ภายในประเทศ หรือแม้กระทั่งส่งนักกีฬาไปแข่งขันอาชีพยังการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติก็ดี  และยิ่งมีพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 ประกาศออกมาบังคับใช้ก็ยิ่งทำให้กีฬาอาชีพเริ่มพัฒนาอย่างเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  แผนพัฒนาฟุตบอลอาชีพ กลไกยกระดับสู่ความยั่งยืน

 

         รวมถึงกีฬาฟุตบอลที่ปัจจุบันมีการแข่งขันลีกอาชีพอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ลีก  ซึ่งสโมสรสามารถสร้างรายได้จากการทำทีมเข้าร่วมการแข่งขัน และนักฟุตบอลอาชีพต่างได้รับเงินเดือนจากการเป็นนักเตะอาชีพ แต่อาจยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างที่ต้องการ
       "บิ๊กแชมป์" นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน บริษัท ไทยลีก จำกัด เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา 10 ปีให้หลัง ฟุตบอลลีกมีการพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากเริ่มมีแบบแผน หรือกฎระเบียบเข้ามาบังคับเพื่อให้แต่ละสโมสรไปในทิศทางเดียวกัน อาทิเช่น การบังคับให้ทุกสโมสรทั้งสโมสรไทยลีก 1- ไทยลีก 4 ต้องมี คลับไลเซนซิ่ง (Club Licensing) หรือใบอนุญาตยืนยันการเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพ ที่ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย หรือ เอเอฟซี อย่างไรก็ตามต้อง ยอมรับว่า การบังคับใช้ คลับไลเซนซิ่ง ของแต่ละลีก ก็จะมีความเข้มข้นต่างกันออกไป

แผนพัฒนาฟุตบอลอาชีพ กลไกยกระดับสู่ความยั่งยืน

รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน บริษัท ไทยลีก จำกัด กล่าวต่อว่า ส่วนกฎหมายในประเทศยังมี พ.ร.บ.ส่งเสริมกีฬาอาชีพ ที่ประกาศออกมาบังคับใช้ ซึ่งจะช่วงคุ้มครองตัวนักกีฬา รวมถึงสโมสรให้ปฏิบัติภายใต้กฎหมาย ซึ่งหลังประกาศบังคับใช้ออกมา ทำให้วงการกีฬาอาชีพมีการตื่นตัวขึ้นอย่างชัดเจน และทุกอย่างเริ่มเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
 

        “เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายเข้ามาคุ้มครองตัวนักกีฬาอาชีพ ทำให้กีฬาฟุตบอลก้าวเข้าสู่การเป็นอาชีพอย่างแท้จริง เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมกีฬาอาชีพ กำหนดว่าสโมสรสมาจะต้องทำการขึ้นทะเบียนเป็นสโมสรกีฬาอาชีพ รวมถึงบังคับใช้ให้ นักฟุตบอลอาชีพ ทำการขึ้นทะเบียนเป็นนักกีฬาอาชีพ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้นอกจากเป็นการยืนยันตัวตนแล้ว ยังช่วยเป็นข้อมูลรู้ทิศทางที่จะพัฒนาวงการฟุตบอลด้วย” นายกรวีร์กล่าว
         นอกจากนี้ ที่ผ่านมาภาครัฐอย่าง กกท., สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ รวมถึง บริษัท ไทยลีก จำกัด ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ กันมาโดยตลอด ทำให้ง่ายต่อการจัดการให้เป็นระบบระเบียบ เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ ฟุตบอลจะกลายเป็นกีฬาอาชีพแบบเต็มตัวในทุกลีก เหมือนต่างประเทศ

 

แผนพัฒนาฟุตบอลอาชีพ กลไกยกระดับสู่ความยั่งยืน

         "หลายปีก่อนผมเคยมีโอกาสเป็นหนึ่งในคณะกรรมการกีฬาอาชีพ ทราบดีว่าภาครัฐต่างมุ่งหวังผลักดันให้หลายๆ ชนิดกีฬาเป็นอาชีพจริงๆ สามารถสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองได้ แต่ทว่าภาครัฐฝ่ายเดียวไม่สามารถทำได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การร่วมมือกันพัฒนาไปสู่เป้าหมาย" บิ๊กแชมป์กล่าว
 

       เห็นได้ชัดว่าหลังจากมีการประกาศบังคับใช้ พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ.2556 วงการกีฬาอาชีพก็เริ่มพัฒนาขึ้นแบบก้าวกระโดด และเป็นเครื่องยืนยันว่า ภาครัฐอย่าง กกท. โดยฝ่ายกีฬาอาชีพและกีฬามวย ไม่ได้นิ่งนอนใจที่ส่งเสริมกีฬาให้เป็นอาชีพ
       เช่นเดียวกับในฟุตบอลลีกบ้านเราคงเห็นแล้วว่าหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป หลายสโมสรเริ่มมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีการสร้างรายได้ และการยกระดับไปสู่มาตรฐานอันยั่งยืนในอนาคต
แต่ก็ยังมีอีกหลายสโมสรที่ยังต้องใช้เวลา ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่าคงไม่นานเกินรอ...