นับเป็นนิมิตรหมายอันดี เมื่อ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรีนำทีมน้ำเยือนเนเธอร์แลนด์ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำจากประเทศต้นแบบที่มีความเชี่ยวชาญในระบบการจัดการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำที่โดดเด่นและได้มาตรฐานระดับโลก หวังนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการน้ำของประเทศไทย

 

     นับเป็นนิมิตรหมายอันดี เมื่อ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรีนำทีมน้ำเยือนเนเธอร์แลนด์ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำจากประเทศต้นแบบที่มีความเชี่ยวชาญในระบบการจัดการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำที่โดดเด่นและได้มาตรฐานระดับโลก หวังนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการน้ำของประเทศไทย

 

นิมิตรหมายที่ดี "บิ๊กฉัตร" เยือนเนเธอร์แลนด์ชมการบริหารจัดการน้ำระดับโลก ต่อยอดวางแผนปรับใช้ในไทย ป้องกันน้ำท่วมใหญ่

 

      ทั้งนี้ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ  รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเยือนราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 17-21 กันยายน 2561 ตามคำเชิญของเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ซึ่งมีกระทรวงโครงสร้างพื้นฐาน และการบริหารจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีภารกิจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถนน รถไฟ ทางน้ำและอากาศ โดยจะดูแลการบริหารจัดการน้ำในระดับนโยบาย การบูรณาการแผนงานและข้อมูล จนถึงคณะกรรมการลุ่มน้ำ ในโอกาสนี้ได้เยี่ยมชมการทำงานของศูนย์ติดตามประมวลและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ เพื่อการบริหารจัดการอุทกภัยและภัยแล้งของประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการน้ำที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งของโลก

 

นิมิตรหมายที่ดี "บิ๊กฉัตร" เยือนเนเธอร์แลนด์ชมการบริหารจัดการน้ำระดับโลก ต่อยอดวางแผนปรับใช้ในไทย ป้องกันน้ำท่วมใหญ่

 

     "การบริหารจัดการน้ำของประเทศเนเธอร์แลนด์มีแผนการพัฒนาแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน ภายใต้การดำเนินงานของไรจส์วอเตอร์สตาร์ท ( Rijkswaterstaat ) ที่ทำหน้าที่ดูแลกำกับในระดับนโยบาย โดยมีดัชวอเตอร์บอร์ด (Dutch Water Board) ที่มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ปฏิรูปการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์น้ำซึ่งกำลังจะปรับเป็นแผนแม่บทน้ำ 20 ปี  การจัดตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานกลางกำหนดนโยบาย บูรณาการแผนงาน โครงการ ของหน่วยงานด้านน้ำอย่างเป็นระบบ และ ร่าง พรบ.น้ำ ที่จะเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยเดินมาถูกทางแล้วและเชื่อว่าสามารถที่จะคลี่คลายปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้อย่างแน่นอน" รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

 

นิมิตรหมายที่ดี "บิ๊กฉัตร" เยือนเนเธอร์แลนด์ชมการบริหารจัดการน้ำระดับโลก ต่อยอดวางแผนปรับใช้ในไทย ป้องกันน้ำท่วมใหญ่

     นอกจากนี้ นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวเสริมว่า นับเป็นโอกาสดีที่ สทนช.ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำจากประเทศต้นแบบที่มีความเชี่ยวชาญในระบบการจัดการป้องกันน้ำท่วมที่โดดเด่นและได้มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการน้ำภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่มีความไม่แน่นอนแต่ประเทศเนเธอร์แลนด์ก็มีระบบการติดตามพยากรณ์ที่แม่นยำเป็นรายชั่วโมง   

 

      ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำของไทย ในภาวะวิกฤติที่ต้องการข้อมูลที่แม่นยำมาวิเคราะห์ คาดการณ์และเตือนภัย ซึ่งปัจจุบันเราก็มีการจัดตั้งคณะทำงานแบบรวมศูนย์ โดยให้หน่วยงานเข้ามาทำงานร่วมกันทั้งติดตาม วิเคราะห์ เตือนภัย และให้ความช่วยเหลือ และที่สำคัญของความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาน้ำของเนเธอร์แลนด์คือเปิดโอกาสให้ประชาชนในระดับลุ่มน้ำเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำด้วย และหากกฎหมายน้ำของไทยแล้วเสร็จก็จะเกิดความชัดเจนในการบริหารจัดการน้ำโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

 

 

 

       โดยเนเธอร์แลนด์ ถือเป็นประเทศ ที่จัดการกับปัญหาน้ำท่วมได้ดีที่สุดจากหลายประเทศทั่วโลกที่มีการสำรวจ และเมื่อเกิดภาวะอุทกภัยน้ำท่วมในประเทศ นักวิชาการไทยจะต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องไปศึกษาระบบการจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์เพื่อนำมาปรับใช้กับประเทศไทย ทั้งนี้สำนักข่าวทีนิวส์ จะพาทุกท่านไปรู้จักกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีระบบการจัดการน้ำที่ดีที่สุด ด้วยลักษณะภูมิประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีแผ่นดินกว่า 60% อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล โดยเฉพาะเมืองท่าใหญ่ๆ ในปี ค.ศ. 1953 มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน พื้นที่กว่า 9% ต้องจมอยู่ภายใต้น้ำ บ้านเรือนมากกว่า 3,000 หลัง เสียหายอย่างหนัก ด้วยเหตุการณ์ในครั้งนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา โดยการจัดตั้ง "คณะกรรมการสามเหลี่ยมปากน้ำ" 

 

นิมิตรหมายที่ดี "บิ๊กฉัตร" เยือนเนเธอร์แลนด์ชมการบริหารจัดการน้ำระดับโลก ต่อยอดวางแผนปรับใช้ในไทย ป้องกันน้ำท่วมใหญ่

 

       จนเป็นที่มาของโครงการ "เดลตาเวิกส์" (Delta Works) โครงการระบบจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ที่โด่งดังไปทั่วโลก มีระบบการจัดการน้ำที่ใช้วิศวกรรมขนาดใหญ่ ประกอบด้วยโครงการย่อย 16 โครงการ สามารถแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้เป็นอย่างดี โครงการ Delta Work จะใช้วิธีการสร้างเขื่อน ประตูระบายน้ำ พนังกั้นน้ำ สถานีสูบน้ำ คันกั้นดิน และกำแพงกั้นคลื่นทะเล โดยวิศวกรรมเหล่านี้จะทำหน้าที่กั้นบริเวณปากแม่น้ำ ตลอดจนลำน้ำในประเทศเพื่อป้องกันน้ำท่วมจากพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งวิศวกรรมเหล่านี้จะมีทั้งแบบ ที่กั้นถาวร หรือแบบที่สามารถเปิด ปิดได้ เพื่อไว้สำหรับสัญจรทางน้ำได้ ถือเป็นโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ใช้งบประมาณกว่า 2.5 แสนล้านบาท  และการโครงการนี้ทำให้ประเทศเนเธอร์แลนด์ จำเป็นต้องเก็บภาษีน้ำท่วม เพื่อนำมาเป็นงบในการดูแลโครงการ Delta Work

 

 

นิมิตรหมายที่ดี "บิ๊กฉัตร" เยือนเนเธอร์แลนด์ชมการบริหารจัดการน้ำระดับโลก ต่อยอดวางแผนปรับใช้ในไทย ป้องกันน้ำท่วมใหญ่

 

      ด้านหลักการทำงานของโครงการ Delta Work มีหลักการคือ เขื่อนที่มีพนังกั้นน้ำสกัดคลื่นสูงได้ถึง 40 ฟุต จากระดับน้ำทะเล เป็นตัวกั้นน้ำทะเล และแม่น้ำให้ออกจากกัน แยกกันไปคนละทาง น้ำจะถูกดันให้ไหลไปไกลจากพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชนเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยง ต่อการถูกน้ำท่วม ด้านในเขื่อนก็เป็นพื้นที่กั้นเก็บน้ำเขื่อน เพื่อให้เหล่าเกษตรกรที่อาศัยอยู่ตามแนวเขื่อนได้ใช้น้ำ ในการดำรงชีวิตหรือนำไปใช้ทำเกษตรกรรมได้ 

 

นิมิตรหมายที่ดี "บิ๊กฉัตร" เยือนเนเธอร์แลนด์ชมการบริหารจัดการน้ำระดับโลก ต่อยอดวางแผนปรับใช้ในไทย ป้องกันน้ำท่วมใหญ่

 

      ในส่วนที่เป็นประตูระบายน้ำจะทำหน้าที่ควบคุมการปล่อยน้ำ เข้า ออก นอกจากไม่ให้น้ำทะเลทะลักเข้ามาแล้ว ยังสร้างไว้เพื่อเปิดทางเข้าออกให้เรือสัญจรได้ และเมื่อไหร่ที่เกิดเหตุการณ์พายุเข้า หรือลมกระโชกแรก เสี่ยงต่อน้ำทะเลเข้ามาระบบการทำงานของประตูระบายน้ำจะปิดเพื่อไม่ให้น้ำทะเลไหลเข้าไปในเขื่อนได้ 

 

นิมิตรหมายที่ดี "บิ๊กฉัตร" เยือนเนเธอร์แลนด์ชมการบริหารจัดการน้ำระดับโลก ต่อยอดวางแผนปรับใช้ในไทย ป้องกันน้ำท่วมใหญ่

 

นิมิตรหมายที่ดี "บิ๊กฉัตร" เยือนเนเธอร์แลนด์ชมการบริหารจัดการน้ำระดับโลก ต่อยอดวางแผนปรับใช้ในไทย ป้องกันน้ำท่วมใหญ่

 

      ทั้งนี้ประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเหมือนประเทศเนเธอร์แลนด์เช่นกัน จึงเป็นเรื่อน่ายินดีที่ไทยจะได้ไปศึกษาการจัดการน้ำมาปรับใช้ให้ได้ประโยชน์ และต้องคำนึงถึงเรื่องภูมิศาสตร์ในประเทศด้วยว่าควรจัดการบริหารเช่นไรให้โครงการนี้สามารถใช้ได้จริงในประเทศไทย เป็นเรื่องน่าคิดที่ต้องจับตาดูต่อไปหลังคณะเดินทางไปศึกษาโครงการเสร็จกลับมา