จุดเดือดต่ำ! “ซีพี”ร่อนแถลงการณ์ฟ้องสื่อ  คุ้ยปม”ที่ดินแปดริ้ว” ผุดเมืองใหม่รับ”รถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน”

จุดเดือดต่ำ! “ซีพี”ร่อนแถลงการณ์ฟ้องสื่อ คุ้ยปม”ที่ดินแปดริ้ว” ผุดเมืองใหม่รับ”รถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน”

ยังคงติดตามต่อเนื่องจากประเด็นร้อน  ว่าด้วยโครงการประมูลรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมโยง 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอภิมหาโปรเจคยักษ์  EEC  ที่ รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  มุ่งเป้าหมายเดินหน้าตามแผนพัฒนาประเทศในระยะเวลา  5 ปีต่อจากนี้    หลังจากมีรายงานข่าวหลุดรอดออกมาเป็นระยะ ๆ ว่ าทุนใหญ่อย่าง “ซีพี”   มั่นใจว่าจะสามารถคว้าโครงการนี้ไปบริหารจัดการได้  แม้จะมีคู่แข่งหลายรายก็ตาม  

 

ต้องย้ำว่ากรณีการเดินหน้าเพื่อเอาชนะการประมูลโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมโยง 3 สนามบิน ของกลุ่มทุนซีพี  ไม่ใช่เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้  ด้วยเม็ดเงินและเทคโนโลยีที่ได้  “อิโตชู”  จากญี่ปุ่นดูเรื่องการพัฒนาที่ดินและรัฐวิสาหกิจจากจีนดูเรื่องเงินลงทุนและการผลิตรถ ส่วนระบบการเดินรถมีข้อมูลว่าจะใช้ “อัลสตรอม” จากประเทศฝรั่งเศส

ขณะเดียวกันก็มีข้อสงสัยทันที  โดยหลักความจริงโอกาสของกลุ่มซีพีมีสูสามารถจะมั่นใจได้ 100 % หรือไม่  อย่างไร  ถ้าพิจารณาจากไทม์ไลน์ขั้นตอนการปฏิบัติ   ตามข้อมูลของ  นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน  ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)  ว่า รฟท.จะเปิดรับซองเอกสารเสนอราคาในวันที่ 12 พ.ย. 2561 ก่อนประกาศรายชื่อผู้ชนะประมูลในวันที่ 13  พ.ย.  2561 และเอกชนรายใดที่ชนะการประมูลจะได้รับสิทธิ์ร่วมลงทุนแบบ  PPP  Net Cost   หรือ เป็นการยกสัมปทานโครงการให้กับภาคเอกชนทั้งหมด  ทั้งการก่อสร้างและการให้บริการไฮสปีดเทรน  ตลอดจนธุรกิจสนับสนุนบริการรถไฟ เป็นเวลา 50 ปี   โดยมีการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ  ตลอดอายุโครงการไว้ที่ 652,152  ล้านบาท  หรือเท่ากับยังเหลือเวลาอีกประมาณ 1 เดือนถึงจะทราบชัดเจน ว่าใครจะชนะการประมูล

 

(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  ถอดรหัสรุก?? "เจ้าสัวธนินท์"จองรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินค่ากว่า 2 แสนล้าน ถึงยังไม่เปิดซองประมูล)

 

จุดเดือดต่ำ! “ซีพี”ร่อนแถลงการณ์ฟ้องสื่อ  คุ้ยปม”ที่ดินแปดริ้ว” ผุดเมืองใหม่รับ”รถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน”

 

ทั้งนี้ในส่วนของผลประโยชน์โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน  ตามข้อมูลที่ปรากฏในเว็บไซด์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งใช้คำว่า “ผลประโยชน์ที่ประเทศและประชาชนได้รับ” ประกอบไปด้วย

 

1.ทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา

2.การจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกว่า 100,000 อัตราใน 5 ปี

3.การจ้างงานระหว่างก่อสร้าง 16,000 อัตรา

4.ใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ (เหล็ก 1 ล้านตัน ปูน 8 ล้านลูกบาศก์เมตร)

5.การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประเทศ

6.ผลตอบแทนต่อเศรษฐกิจ ตลอดอายุโครงการ 652,152 ล้านบาท  แยกเป็น

-ผลตอบแทนทางการเงิน 127,985 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดของเอกชนร้อยละ 6.06 ใน 1-50 ปี และคิดลดด้วยอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.5 ระหว่างปีที่ 51-100)

-มูลค่าเพิ่มการพัฒนาเศรษฐกิจ (รัศมี 2 กม.ตามเส้นทางรถไฟ) 214,621 ล้านบาท  (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดทางด้านเศรษฐกิจร้อยละ 3)

-ภาษีเข้ารัฐเพิ่ม 30,905 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดทางด้านเศรษฐกิจร้อยละ 3)

-มูลค่าเพิ่มการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกประมาณ 150,000 ล้านบาท

-ลดการใช้น้ำมัน เวลา อุบัติเหตุ และสิ่งแวดล้อม 128,641 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดทางด้านเศรษฐกิจร้อยละ 3)

 

ถ้าเรียงลำดับเช่นนี้  ถ้าจับเอามาผนวกกับรายงานข่าวทางสื่อมวลชน  ก็พอมองเห็นภาพว่าทำไม  “เจ้าสัวธนินท์”  จึงตั้งอกตั้งใจกับโครงการนี้มาก ๆ  ถึงขั้นวางมาสเตอร์แปลน ว่าจะพัฒนาและเปลี่ยนผ่านพื้นที่เขตเศรษฐกิจ ให้เป็นโครงการร่วมลงทุนจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะ  "การได้สิทธิพัฒนาที่ดินในเชิงพาณิชย์"

 

ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงต้องย้อนกลับมาพิจารณาข้อมูลก่อนหน้านี้   มีหลายองค์ประกอบยืนยันว่า  “ทุนซีพี”  มีการวางแผนเรื่อง Smart City  เพื่อรองรับโครงการ EEC   เป็นระยะเวลาพอสมควร  ทั้งตำแหน่งที่ดินในจังหวัดฉะเชิงเทรา   และขนาดที่ดินกว่า 10,000 ไร่  ในพื้นที่ระหว่าง อ.บ้านโพธิ์ กับ อ.แปลงยาว  ซึ่งเป็นจุดที่ถูกระบุว่าอยู่ห่างจากสถานีรถไฟความเร็วสูง ประมาณ 20  กิโลเมตร สามารถเชื่อมโยงเขตพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งฉะเชิงเทรา  ,  ชลบุรี และ ระยอง  ได้สะดวก รวดเร็ว

 

ขณะเดียวกันอีกหนึ่งกระแสข่าวที่สื่อมวลชนติดตามอย่างอย่างใกล้ชิด  ก็คือข้อมูลที่ถูกระบุว่ากลุ่มทุนซีพีมีแนวโน้มอาจขยายอาณาเขตไปถึงพื้นที่ดินราชพัสดุอีกด้วย  เพื่อให้ขนาดแปลงที่ดินทั้งหมดมีความกว้างใหญ่ไพศาลรวมแล้วประมาณ 10,000 ไร่ 

 

โดยแหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์  ยอมรับว่า  บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ฯ หรือ ซีพี  สนใจที่จะเช่าที่ราชพัสดุ จำนวน 4,000 ไร่ ในพื้นที่ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งปัจจุบัน มีกองทัพเรือขอใช้ประโยชน์อยู่ ใช้เป็นที่ตั้งศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือโยธะการ รวมประมาณเกือบ 4,000 ไร่”   จากข้อมูลของ “ฐานเศรษฐกิจ”  บ่งชี้ชัดว่าการรุกคืบของกลุ่มทุนซีพี  มีนัยยะยิ่งต่อความมั่นใจจะได้กรรมสิทธิ์บริหารจัดการโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมโยง 3 สนามบิน  ก่อนจะเกิดซองประมูลในเดือน พ.ย. 2561

 

จุดเดือดต่ำ! “ซีพี”ร่อนแถลงการณ์ฟ้องสื่อ  คุ้ยปม”ที่ดินแปดริ้ว” ผุดเมืองใหม่รับ”รถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน”

 

ขณะที่ภายในพื้นที่ก็มีกระแสแรงต้านอยู่ไม่น้อย  อาทิเช่น    นายสมหมาย บุญนิมิต ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 11 ต.โยธะการ อ.บางน้ำเปรี้ยว กล่าว  "อยากฝากถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่า หากจะมีโครงการใหญ่อะไร ไม่ว่าจะเกี่ยวกับกองทัพเรือ หรือ ซีพีเข้ามาขอเช่าที่ราชพัสดุเพื่อทำโครงการอีอีซี ก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาพูดคุย หรือ ให้ข้อมูลกับชาวบ้านบ้าง เพราะเราอยู่ที่นี่กันมานานตั้งแต่ปู่ย่าตายาย อยู่มาก่อนที่กองทัพเรือจะมาตั้งหน่วย อยู่มาก่อนที่ธนารักษ์จะออกกฎหมายราชพัสดุเสียอีก"

 

อย่างไรก็ตามล่าสุดการนำเสนอข้อมูลข่าวดังกล่าว  ปรากฎว่าทางด้านเครือเจริญโภคภัณฑ์    ได้ออกเอกสารเป็นแถลงการณ์  ระบุข้อความว่า  เครือเจริญโภคภัณฑ์  เป็นองค์กรเอกชนที่ดำเนินธุรกิจโดยสุจริต...แต่ในช่วงที่ผ่านมา  มีสื่อบางสำนักได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จหลายครั้ง  ตัวอย่างเช่น  “ซีพียึดที่ดินรัฐ 4,000 ไร่” ซึ่งส่งผลเสียหายต่อองค์กร   เป็นเหตุให้เครือเจริญโภคภัณฑ์  เสื่อมเสียชื่อเสียง  จึงมอบหมายให้ทนายความดำเนินคดีอาญาและแพ่งตามกฎหมาย

 

จุดเดือดต่ำ! “ซีพี”ร่อนแถลงการณ์ฟ้องสื่อ  คุ้ยปม”ที่ดินแปดริ้ว” ผุดเมืองใหม่รับ”รถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน”