ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ในช่วงหน้าฝนที่เต็มไปด้วยความเปียกชื้น อาจจะทำให้งูและสัตว์เลื้อยคล้านประเภทต่างๆ หนีตามจากในป่า ทุ่งหญ้า หรือแหล่งอาศัยของมัน เข้ามาหลบซ่อนตัวในบ้านคน ซึ่งก็มีทั้งสัตว์ที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย โดยเฉพาะงู ที่ในช่วงนี้จะมีคนพบเห็นบ่อย และต้องเรียกเจ้าหน้าที่มาจับกันแทบนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว แต่วันนี้เรามีงูหนึ่งชนิดที่อยากจะพูดถึง เพราะเชื่อว่าหลายคนยังเข้าใจผิด ว่ามันมีพิษร้ายแรง

โดยงูชนิดนี้คือ งูพระอาทิตย์ ซึ่งในเฟซบุ๊กของคุณ Kittisak Cherdsang ได้โพสต์เล่าเรื่องราวของงูชนิดนี้ ระบุว่า "พอน้ำท่วม ก็เจองูเยอะเลยเนอะ น้องงูแสงอาทิตย์  มากินกบและติดตะข่ายเกือบตาย ดีนะไปเจอก่อน กว่าจะแกะออกได้  ผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ ชอบบอกว่า มีพิษ ถ้าโดนกัด และพอพระอาทิตย์ขึ้น แล้วจะตาย แต่จริงๆ แล้วไม่มีพิษ ไม่ดุด้วย ชอบหนีคนมากกว่า มันกินลูกงูเห่าด้วยนะ  #และงูแสงอาทิตย์ก็เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองด้วย"

 

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 


ซึ่งก็มีชาวโซเชียลให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และหลายคนต่างมองว่า งูชนิดนี้สวยงาม เมื่อผิวของมันต้องแสงแดด จะมันเงาสะท้อนเป็นสีรุ้งสวยงาม บางคนถึงขั้นบอกว่าอยากเลี้ยง เพราะว่ามันน่ารัก ติดตรงที่ว่าตอนนี้งูพระอาทิตย์ ได้ขึ้นทะเบียนกับทางกรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกเลื้อยคลาน

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

 

โดยสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกเลื้อยคลานมีด้วยกัน 63 รายการ รวม 90 ชนิด  เช่น กิ้งก่าดง กิ้งก่าบิน  งูจงอาง งูสิง งูแสงอาทิตย์ งูหลาม งูเหลือม จระเข้ ตะกวด เต่า ตะพาบ ตุ๊กแกป่า เหี้ย เป็นต้น

 

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

 

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

 

 

และสำหรับประวัติงูพระอาทิตย์นั้น ตามความเข้าใจที่ถูกต้องนั้น เป็นงูไม่มีพิษ มีลำตัวยาวทรงกระบอก หัวแบนเรียว ตามีขนาดเล็ก ลำตัวมีความยาวประมาณ 120 เซนติเมตร ลำตัวสีดำถึงสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องมีสีขาว ส่วนหัวแบนเรียว ตาเล็ก 

 

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

 

ลักษณะเด่นคือเกล็ดลำตัวเรียบเป็นเงาแวววาบสะดุดตาเมื่อสะท้อนแสงแดด อันเป็นที่มาของชื่อ พบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไม่มีชนิดย่อย ตัวอย่างต้นแบบแรกพบที่ชวา จัดเป็นงูโบราณจากลักษณะที่ยังคงปอดทั้งสองข้างเอาไว้ ซึ่งงูทั่วไปจะเหลือปอดซ้ายเพียงข้างเดียวเพื่อความสะดวกในการเก็บปอดภายในลำตัวแคบๆ ยาว ๆ มักพบเห็นได้ในพื้นที่ที่มีกิ้งก่า, กบ, หนู และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ซึ่งเป็นอาหาร รวมถึงกินงูด้วยกันชนิดอื่น เช่น ลูกงูเห่า เป็นอาหารได้ด้วย เป็นงูที่มีพละกำลังพอสมควร เมื่อพบเหยื่อจะจัดการเหยื่อด้วยการรัดให้หมดแรงและค่อย ๆ กลืนลงไป

 

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ภาพเต็มตัวจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 

 


มักอาศัยอยู่ใต้ขอนไม้หรือก้อนหินที่เป็นดินร่วนและมีความชื้นเล็กน้อย ยามน้ำท่วมสามารถปีนขึ้นที่สูง เช่น ต้นไม้ หรือขื่อคาบ้านเพื่อหนีน้ำได้ งูแสงอาทิตย์มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นงูพิษร้ายแรง มีความดุร้าย ที่เมื่อถูกกัดแล้วจะตายเพื่อพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งไม่เป็นความจริง แท้จริงแล้วงูแสงอาทิตย์เป็นงูที่เชื่องช้าและไม่มีพิษ เมื่อเผชิญหน้ากับมนุษย์จะไม่แสดงท่าทีดุร้าย แต่จะหมอบอยู่นิ่ง ๆ ทำตัวแบนราบกับพื้น หรือไม่ก็เลื้อยหนีไป อาจจะมีขู่บ้างทำให้ดูคล้ายงูเห่า แต่ไม่กัด

 


วางไข่ไว้ตามใต้เศษใบไม้แห้งที่ชื้นๆ เพื่ออาศัยความร้อนจากขบวนการย่อยสลายซากใบไม้ในการฟักไข่ ใช้เวลานานประมาณ 3 เดือน ซึ่งนานพอที่จะให้พัฒนาการของตัวอ่อนในไข่กลายเป็นงูวัยอ่อนได้โดยสมบูรณ์ เมื่อฟักออกมาลูกงูมีลักษณะเหมือนงูตัวเต็มวัยทุกประการ เว้นแต่จะมีรอบคอเป็นสีขาวซึ่งแตกต่างจากงูตัวโตเต็มวัย

 


และนี่ก็คือภาพเต็มๆ ของมัน ทั้งสวยและแปลกตามากๆ ทีเดียว 

 

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

แสงเป็นประกายสายรุ้งเลย 

 

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

 

ไขข้อข้องใจ "งูพระอาทิตย์" แท้จริงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ สวยแปลกตาจนได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก : Kittisak Cherdsang

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม : วิกิพีเดีย