เปิดภารกิจสำคัญ "บก.ถปพ." ตร.ถวายความปลอดภัยฯ

เปิดภารกิจสำคัญ "บก.ถปพ." ตร.ถวายความปลอดภัยฯ เฝ้าตามบุคคลเป็นภัยความมั่นคง องค์พระมหากษัตริย์

หลังจากที่ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2561 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยนายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ด้วยกัน 4 ข้อ 

 

 


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกฎกระทรวงจัดตั้งกองบังคับการใหม่ สังกัดกองบัญชาการสอบสวนกลาง สตช.

 

 


โดยเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งกองบังคับการ ถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อรองรับภารกิจ การถวายความปลอดภัยสาหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป 

 

 

 

เปิดภารกิจสำคัญ "บก.ถปพ." ตร.ถวายความปลอดภัยฯ

 

 

 

เปิดภารกิจสำคัญ "บก.ถปพ." ตร.ถวายความปลอดภัยฯ

 

 

 


ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และบุคคลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นพระราชอาคันตุกะ มีการบูรณาการร่วมกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการถวายความปลอดภัยอย่างเป็นเอกภาพ รวมทั้งเปลี่ยนชื่อกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งเป็นส่วนราชการภายในกองบังคับการปราบปราม ในสังกัดกองบัญชาการตารวจสอบสวนกลาง เป็นกองกำกับการสนับสนุน 

 


ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ และเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไปอันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้  ดังรายละเอียด

 

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2561 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (8) ของ (ข) ของ (13) ในข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(8) กองกำกับการสนับสนุน” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฐ) ของ (13) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552“(ฐ) กองบังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษ ประกอบด้วย (1) ฝ่ายอำนวยการ (2) - (7) กองกากับการถวายความปลอดภัย 1 -6 (8) กองกำกับการวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ (9) กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ (10) กองกำกับการสายตรวจถวายความปลอดภัย”

 

ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฐ) ของ (12) ของ 2. กองบัญชาการ ในข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสานักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 “(ฐ) กองบังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1) ถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และบุคคลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นพระราชอาคันตุกะ 2) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยและการถวายพระเกียรติต่อพระองค์
หรือบุคคลที่ต้องมีการถวายความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยในขณะที่เสด็จไปหรือไปยังที่ใด

 

 

รวมตลอดถึงการรักษาความปลอดภัยของยานพาหนะ และสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้อง 3) ปฏิบัติภารกิจตามพระราชประสงค์4) ประสานการปฏิบัติกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการถวายความปลอดภัยการตรวจพื้นที่เพื่อเตรียมการรับเสด็จ ขบวนเสด็จ เส้นทางเสด็จ และที่หมายเสด็จ 5) ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญา 6) ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการข่าวของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงและองค์พระมหากษัตริย์ 7) ปฏิบัติการทางยุทธวิธีและเครื่องมือพิเศษให้กับหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ และสนับสนุน การปฏิบัติในการปราบปรามอาชญากรรมของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง 8) ปฏิบัติงานด้านรถวิทยุสายตรวจมีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยทั่วประเทศ งานสื่อสารและศูนย์วิทยุสนับสนุนการปฏิบัติงานของรถวิทยุสายตรวจ งานรับแจ้งเหตุและเบาะแสทางโทรศัพท์และทางไปรษณีย์ 9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย”

 

 

ข้อ 4 บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งในเรื่องใด ที่มีอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับซึ่งอ้างถึงกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ให้ถือว่ากฎกระทรวง ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งในเรื่องนั้นอ้างถึงกองกากับการสนับสนุน กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางตามกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2561

 

 

เปิดภารกิจสำคัญ "บก.ถปพ." ตร.ถวายความปลอดภัยฯ

 

 

เปิดภารกิจสำคัญ "บก.ถปพ." ตร.ถวายความปลอดภัยฯ

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งกองบังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อรองรับภารกิจการถวายความปลอดภัยสาหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป ผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และบุคคลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นพระราชอาคันตุกะ
มีการบูรณาการร่วมกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการถวายความปลอดภัยอย่างเป็นเอกภาพ รวมทั้งเปลี่ยนชื่อกองกากับการปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งเป็นส่วนราชการภายในกองบังคับการปราบปราม ในสังกัดกองบัญชาการตารวจสอบสวนกลาง เป็นกองกากับการสนับสนุน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ
และเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไปอันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

 

เปิดภารกิจสำคัญ "บก.ถปพ." ตร.ถวายความปลอดภัยฯ

 

 

โดยก่อนหน้านี้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) โดยมีพล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) และก.ต.ช.ร่วมประชุม โดยพล.อ.ประวิตร กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ได้อนุมัติเปิดตำแหน่งผู้บังคับการกองบังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษเรียบร้อยดี

 

เปิดภารกิจสำคัญ "บก.ถปพ." ตร.ถวายความปลอดภัยฯ

 


ส่วนทางด้านพล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. หลังจากคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้อนุมัติกำหนดตำแหน่ง ผู้บังคับการกองบังคับการถวายความปลอดภัยและกิจการพิเศษ แล้วเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา จึงนำเข้าพิจารณาใน ก.ต.ช.เพื่ออนุมัติเปิดตำแหน่ง ผู้บังคับการ ชั้นยศ พล.ต.ต.เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายที่ระบุใน พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

 

เปิดภารกิจสำคัญ "บก.ถปพ." ตร.ถวายความปลอดภัยฯ

 

 

โดยกองบังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษอยู่ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ประกอบด้วย 10 กองกำกับการ ขณะนี้ดำเนินการในการออกกฎกระทรวงตั้งหน่วยงานคู่ขนานกันไป อย่างไรก็ตามยังไม่ยืนยันว่าจะแต่งตั้ง ผบก.กองบังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษ ได้พร้อมกับการแต่งตั้ง ผบก.- รองผบ.ตร. วาระประจำปี 2561 หรือไม่